| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 103 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 16-10-2559    อ่าน 1159
 วิ่งหนีภาษี

คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้านๆ โดย เมตตา ทับทิม misstubtim@yahoo.com หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน 15 ตุลาคม 2559 ปีที่ 39 ฉบับที่ 14097

อยากมีอารมณ์แบบนี้บ้างจัง ขายที่ดินแปลงเดียว 1 หมื่นล้าน

วันนี้เรามาเพลิดเพลินกับปฏิบัติการเศรษฐีขายที่ดินกันดีกว่าค่ะ เฝ้ามองอยู่ห่างๆ เฝ้ามองอยู่ไกลๆ กรณีที่ดินปาร์คนายเลิศ ถนนวิทยุ ทำเลค่อนมาทางถนนเพชรบุรี เก็บข่าวดีลซื้อขายได้เงียบเชียบมาก ขนาดคนที่เพิ่งผ่าตัดหูซึ่งปกติจะมีประสาทสัมผัสไวกว่าปกติ...ก็ยังไม่ได้ยินเรื่องนี้เลยอ่ะ (ฮา)

ข้อเท็จจริงเหตุผลในการขายทางเจ้าของที่ดินก็บอกอยู่แล้วว่ากิจการที่บริหารโรงแรมอยู่ไม่ได้เจ๊ง แต่ทำแล้วมันก็เหนื่อยเพราะคู่แข่งขันเยอะ ไหนจะยี่ห้อดังๆ ด้วยกัน แล้วยังจะเจอโรงแรมเถื่อนมาตอดลูกค้าไปอีก ที่ดินก็แปลงเบ้อเริ่มตัดขายไปสัก 15 ไร่ก็ยังเหลืออีก 20 ไร่ เหลือบ้านไม้อายุ 130 ปี ไว้เป็นสมบัติของตระกูลตามเจตนารมณ์ของคุณหญิงเลอศักดิ์ สมบัติศิริ

กูรูบางท่านก็วิเคราะห์เป็นตุเป็นตะว่าส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะไม่อยากให้ลูกหลานรับภาระจ่ายภาษี เพราะที่ดินตั้งอยู่ในย่านราคาแพงมาก ก็เลยขายทรัพย์สินแล้วมอบมรดกเป็นเงินสดให้น่าจะดีกว่า

เหตุผลนี้ฟังแล้วรู้สึกว่าเข้าแก๊ป ก็เลยหยิบมาเล่าต่อค่ะ เพราะเป็นว่าเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อยู่เหมือนกัน

สำหรับที่ดินปาร์คนายเลิศ ดีลซื้อขาย 15 ไร่ เบ็ดเสร็จ 10,800 ล้านบาท เรื่องมาโผล่เพราะคนซื้อต้องวางมัดจำ 10% เป็นเงิน 1,080 ล้านบาท เหลืออีกก้อนที่ต้องจ่ายจำนวน 9,720 ล้านบาท

ประเด็นชวนคุยคือ ถ้าเจ้าของที่ดินไม่ขายออกไป จะมีภาระจ่ายภาษีอะไรบ้าง

คำตอบแน่ๆ คือ "ภาษีมรดก" มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา

สาระสำคัญ มรดกที่ต้องจ่ายภาษีมี 4 รายการ "อสังหาฯ-เงินฝาก-หลักทรัพย์ (หุ้น)-ยานพาหนะ" โดยทรัพย์สินมูลค่าไม่เกิน 100 ล้านไม่ต้องเสียภาษีมรดก (ประชาชนตาดำๆ อย่างเราๆ ท่านๆ ค่อยโล่งอกหน่อย)

อัตราภาษีมี 2 เรต "ผู้รับมรดกบุคคลอื่น" หมายถึงไม่ใช่ลูกหลานทางตรง อาจเป็นญาติห่างๆ หรือใครก็ตาม จ่าย 10% กับ "ผู้สืบสันดาน" กฎหมายนิยามไว้ว่าหมายถึงคู่สมรส บุตร พ่อแม่ จ่าย 5%

ถ้าเราหยิบที่ดินแปลงที่เพิ่งขายไป 15 ไร่ ราคาซื้อ 10,800 ล้านบาทก็จริง แต่เวลาจ่ายภาษีรัฐคำนวณจากราคาประเมินของกรมธนารักษ์ คิดเร็วๆ ถนนวิทยุมีราคาประเมินตารางวาละ 7.5 แสนบาท ที่ดิน 1 ไร่มี 400 ตารางวา เท่ากับ 15 ไร่มี 6,000 ตารางวา

คูณกันแล้วราคาประเมินแปลงนี้ตก 4,500 ล้านบาท จะเป็นฐานราคาในการจ่ายภาษี

ทั้งนี้ ภาษีมรดกเขายกเว้นให้สำหรับมูลค่า 100 ล้านบาทแรก นำมาหักลบกับ 4,500 ล้านจะเหลือ 4,400 ล้าน ถ้าจ่าย 5% เท่ากับ 220 ล้านบาท จ่ายภาษี 10% เท่ากับ 440 ล้านบาท

มองให้ยาวๆ ออกไปอีกหน่อย ยังมีภาษีอีกตัวคือ "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" รัฐบาล คสช.ผลักดันให้เป็นผลงาน ตั้งเป้าปีหน้ามีผลบังคับใช้ (แต่อันที่จริง บังคับใช้แล้วแต่เวลาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เห็นบอกว่าให้เวลาปรับตัวอีก 2 ปีจึงจะเริ่มจัดเก็บ)

ประเด็นคือภาษีมรดกจ่ายครั้งเดียวตอนรับมรดก แต่ภาษีที่ดินฯ ต้องจ่ายทุกปี ขีดเส้นใต้หนาๆ ว่ามีภาระจ่ายทุกปี

สมมุติว่าภาษีที่ดินฯ บังคับใช้แล้ว ราคาประเมิน 4,500 ล้านบาทต้องจ่ายภาษียังไงบ้าง คำตอบคือ ถ้าจ่ายในฐานะ "ที่ดินเปล่า" รัฐบาลเก็บ 1-3% หรือล้านละ 1-3 หมื่นบาท

แปลงนี้มีภาระจ่ายภาษีปีละ 45-135 ล้าน คิดเบาะๆ แค่จ่ายภาษีปีละ 45 ล้าน จ่ายทุกปีติดต่อกัน 10 ปีก็เท่ากับ 450 ล้านบาทแล้วอ่ะ

ถ้าจ่ายในฐานะ "ที่ดินพาณิชยกรรม" รัฐบาลจัดเก็บ 1.5% หรือล้านละ 1.5 หมื่น ตกปีละ 67.5 ล้านบาท

หรือถ้าจ่ายในฐานะ "ที่อยู่อาศัย" หากเป็นบ้านหลังแรก รัฐบาลจัดเก็บ 0.1% หรือล้านละ 1 พันบาท ก็ตกปีละ 4.5 ล้าน หากเป็นบ้านหลังที่สองจัดเก็บ 0.3% หรือล้านละ 3 พัน เท่ากับปีละ 13.5 ล้านบาท

ไม่ว่าจะคำนวณยังไงก็มีภาระจ่ายตั้งแต่ 4.5-67 ล้านต่อปี อย่ากระนั้นเลยขายทิ้ง

กำเงินสดดีกว่า ถือเป็นทางเลือกในการตัดสินใจได้เหมือนกัน จบป่ะ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 16-10-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.