| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 63 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-10-2559    อ่าน 1166
 เอกชน รับลูกโอน25จังหวัดอนุมัติEIA ปลดล็อกคอนโด-โรงแรม-ห้าง

เอกชน รับลูกรัฐปลดล็อก EIA กระจายอำนาจให้ "กทม.-หัวเมืองหลัก-เขตเศรษฐกิจพิเศษ" 25 จังหวัดอนุมัติแทน สผ. แก้ปมรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม "คอนโดฯ บ้านจัดสรร โรงแรม โรงพยาบาล ห้าง" กว่า 2 พันโครงการ/ปีค้างพิจารณา 3 สมาคมอสังหาฯ ชี้ช่วยลดระยะเวลา ลดค่าใช้จ่าย

ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจ นโยบายส่งเสริมการลงทุน และการอำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนในรูปแบบวันสต็อปเซอร์วิส ตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ 2558 สผ.ได้ปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้คล่องตัว และสะดวกรวดเร็วขึ้น โดยกระจายอำนาจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา EIA โครงการบางประเภทและบางขนาด ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการ เอื้อต่อการลงทุนของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศในภาพรวม

เปิดทาง 25 จังหวัดพิจารณา EIA

ปัจจุบันคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้อนุมัติให้กระจายภารกิจการพิจารณา EIA ให้ท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ จำนวน 25 จังหวัด ซึ่งแต่ละจังหวัดจะตั้งคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ขึ้นพิจารณา EIA โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 105 วัน แยกเป็นด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน จำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) ชลบุรี ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี พังงา สุราษฎร์ธานี กระบี่ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ระยอง เชียงใหม่ นครราชสีมา และขอนแก่น และด้านอุตสาหกรรมและระบบสาธารณูปโภคสนับสนุนในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 10 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ตราด เชียงราย กาญจนบุรี หนองคาย นครพนม และนราธิวาส

กทม.คุมตึกสูงทุกประเภท

โดยในส่วนของ กทม.สามารถพิจารณา EIA อาคารทุกประเภท ทุกขนาด ที่อยู่ในความรับผิดชอบ มีสำนักสิ่งแวดล้อมรับผิดชอบดูแล จะเริ่มดำเนินการวันที่ 25 ต.ค. 2559 เป็นต้นไป ส่วนอีก 14 จังหวัดจะมีอำนาจพิจารณาอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร (8 ชั้น) และพื้นที่อาคารไม่เกิน 10,000 ตร.ม. ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้ว

"กทม.จะเป็นพื้นที่พิเศษกว่าจังหวัดอื่น เพราะอนุมัติโครงการใหญ่ได้ แต่การพิจารณาโครงการที่ค้างอยู่ในช่วงนี้จนถึงวันที่ 25 ต.ค. สผ.จะพิจารณาเอง และอนุมัติให้หมดก่อนจะโอนอำนาจให้ กทม.พิจารณา"

แห่ขอปีละ 2 พันโครงการ

ดร.รวีวรรณกล่าวถึงสาเหตุที่กระจายอำนาจพิจารณา EIA อาคารให้ท้องถิ่นว่าเป็นงานไม่ยุ่งยากซ้ำซ้อน และท้องถิ่นเป็นผู้อนุมัติก่อสร้างที่จะต้องนำ EIA ไปประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตอยู่แล้ว ลดภาระ คชก.ส่วนกลาง ทำให้มีเวลาพิจารณาโครงการขนาดใหญ่ได้รอบคอบขึ้น

"โดยเฉลี่ยแต่ละปีมีโครงการยื่นขออนุมัติ EIA ทุกประเภทกว่า 2,000 โครงการ เฉพาะงานอาคารและบริการชุมชนมีปีละ 1,200 โครงการ ในจำนวนนี้ 80% เป็นโครงการใน กทม. ขณะนี้มีโครงการที่พักอาศัยรออนุมัติกว่า 50 โครงการ"

กทม.ยันไม่ทัน 25 ต.ค.นี้

นางสุวรรณา จุ่งรุ่งเรือง ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. กล่าวว่า กทม.รับโอนงานพิจารณา EIA มาจาก สผ.แล้ว แต่คงดำเนินการไม่ทันวันที่ 25 ต.ค.นี้ เพราะช่วงเดือน ต.ค.จะเป็นช่วงที่ต้องเสนอแต่งตั้ง คชก. มีผู้ว่าฯ กทม.เป็นประธาน เริ่มพิจารณาโครงการได้ปลายปีนี้หรือต้นปี 2560 เนื่องจากต้องเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่จะนั่งเป็น คชก.ให้ผู้บริหาร กทม.ประกาศแต่งตั้ง โดย กทม.มีอำนาจพิจารณา EIA อาคารทุกประเภทและทุกขนาด ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัย สำนักงาน การจัดสรรที่ดิน โรงพยาบาล โรงแรม ห้างค้าปลีก"

แก้ปัญหา "คิวยาว-ลดค่าใช้จ่าย"

นายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่าการกระจาย อำนาจอนุมัติ EIA ให้ กทม.และท้องถิ่นอื่นเป็นผู้พิจารณา จากเดิมต้องยื่นต่อ สผ.ที่ส่วนกลาง สืบเนื่องจาก 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์เสนอภาครัฐมากว่า 1 ปี หลังการขออนุมัติ EIA ล่าช้า พิจารณาได้ 20-40 โครงการ/สัปดาห์ ขณะที่โครงการรออนุมัติกว่า 300 โครงการ

จากการพูดคุยกับภาครัฐถึงความพร้อม และจำนวนโครงการทั้งที่อยู่อาศัยและโรงแรมของแต่ละจังหวัดที่ต้องขออนุมัติ EIA จึงกำหนดว่าจะเริ่มนำร่องที่ กทม.เป็นแห่งแรก ตามด้วยเฟส 2 อีก 5 จังหวัด คือ จ.ภูเก็ต ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี และชลบุรี และเฟส 3 อีก 2 จังหวัด คือ จ.กระบี่และพังงา ส่วนจังหวัดอื่นขึ้นอยู่กับปริมาณงานและความพร้อม

เชื่อได้ EIA เร็วขึ้น 2 เดือน

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวว่า การกระจายงานอนุมัติ EIA ให้ กทม.ลดงานในมือของ สผ.ลง 30-40% โดยปกติการทำ EIA จะใช้เวลาจัดทำประชาพิจารณ์และทำรายงาน 3-4 เดือน รออนุมัติ 4-5 เดือน รวมเป็น 8 เดือน และอาจนานกว่าหากรายงานไม่ผ่านการอนุมัติ การกระจายอำนาจขั้นตอนอนุมัติจะเร็วขึ้น 2 เดือน

"สมาคมมีข้อเสนอเพิ่มเติมด้วยว่า หากการพิจารณา EIA มีบรรทัดฐาน หรือ Code of Conducts ชัดเจน เทียบกับปัจจุบันที่อาศัยดุลพินิจของคณะกรรมการเป็นหลัก"

ตจว.เฮช่วยกระตุ้นลงทุนใหม่เร็ว

นายสมคิดปัญญาดีผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้แต่งตั้ง กคช. พิจารณา EIA ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการประชาชนเรียบร้อยแล้ว โดยได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา เฉพาะอาคารขนาดความสูงต่ำกว่า 23 เมตร และพื้นที่ไม่เกิน 10,000 ตร.ม. อาทิ โรงแรม ที่พักตากอากาศ อาคารที่พัก คอนโดฯ ที่มีจำนวนห้องตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป พื้นที่ใช้สอยเกิน 4,000 ตร.ม. โครงการใดมีขนาดเกินกว่าที่กำหนดนี้ต้องให้ สผ.ส่วนกลางเป็นผู้พิจารณา ล่าสุดมีเพียง 1 รายที่ได้นำเสนอให้พิจารณา EIA ได้แก่ โครงการบูติคเชียงใหม่ โฮเทล

นายนิพล ไชยสาลี ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สํานักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.เพชรบุรี เปิดเผยว่า มีโครงการที่อนุมัติ EIA แล้ว 4 โครงการ ถือว่าอยู่ในภาวะปกติ เพราะที่ผ่านมาเพชรบุรีไม่ได้มีการลงทุนหวือหวา ส่วนโครงการที่ยังรออนุมัติ 3-4 โครงการ อุปสรรคการดำเนินงานส่วนใหญ่มาจากผู้ประกอบการจัดทำรายงานและเตรียมเอกสารไม่ถูกต้อง บางรายว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาที่ไม่เชี่ยวชาญทำให้ล่าช้า

นายจำนง ตันติรัตนโอภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัท นครเพชร (1995) ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จ.เพชรบุรี กล่าวว่า หลัง สผ.มอบอำนาจให้ ทสจ.พิจารณาอนุมัติ EIA ให้โครงการขนาดเล็กและขนาดกลาง ถือว่าส่งผลดีต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงแรมอย่างมาก เพราะลดกระบวนการที่ยุ่งยากลง จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการลงทุนใหม่ได้เร็วขึ้น

ลงทุนแผ่วยื่นขออีไอเอยังน้อย

นายมีศักดิ์ชุนหรักษ์โชตินายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์จ.ชลบุรี และประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง จำกัด กล่าวว่า จังหวัดยังต้องเรียนรู้อีกมาก เนื่องจากไม่มีประสบการณ์ ซึ่งผู้ประกอบการต้องเข้าไปช่วย โดยการนำดุลพินิจเก่าจากกรรมการส่วนกลางมาให้เทียบเคียง สำหรับ จ.ชลบุรี ขณะนี้มีโครงการยื่นขออนุมัติใหม่น้อยมาก เพราะเศรษฐกิจไม่ดี แทบไม่มีการลงทุน

นายทศพล โชติช่วง ผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.กระบี่ กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ขณะนี้ยังไม่มีเอกชนรายใดมายื่นให้พิจารณา EIA เนื่องจากส่วนใหญ่มายื่นก่อนหน้านี้แล้วโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างโรงแรม ที่พักตากอากาศที่เหลือจะเป็นพื้นที่ขยายซึ่งมีแนวโน้มลดน้อยลง

แนะเอกชนทำข้อมูลให้พร้อม

ด้านนายเกษมสุขวารีผู้อำนวยการส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ภูเก็ต กล่าวว่า จ.ภูเก็ตมีการพิจารณาโครงการที่ไม่เกิน 10,000 ตร.ม. ปีละกว่า 100 โครงการ ทั้ง EIA และ IEE ซึ่งในปีงบประมาณ 2560 นี้ ต้องลงพื้นที่ไปตรวจสอบโครงการก่อสร้างโรงแรมและคอนโดฯ ที่ยื่นขออนุมัติ EIA อีก 4 โครงการ ส่วนใหญ่เอกชนจะทำข้อมูลเอกสารไม่เรียบร้อย ต้องแก้ไข ที่ผ่านมาอนุมัติ EIA เฉลี่ยเดือนละ 7-8 ราย

ขณะที่นายธนูศักดิ์ พึ่งเดช นายกสมาคมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จ.ภูเก็ต ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ระบบที่ภาครัฐทำขณะนี้ถือว่าดี เอกชนจึงต้องศึกษาให้ดีก่อน และเตรียมข้อมูลให้ถูกต้อง ถ้าทำถูกต้องการพิจารณาคงไม่ล่าช้า
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-10-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.