| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 84 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-08-2559    อ่าน 1165
 แกะรายได้ "ศรีรัช-วงแหวน" ช.การช่างกระเป๋าตุง-กทพ.รออีก 15 ปี

เป็นอีกโปรเจ็กต์ที่น่าจับตาไม่น้อย สำหรับโครงการ "ทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอก" ระยะทาง 16.7 กม. ใช้เม็ดเงินลงทุน 42,380 ล้านบาท หลังเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ยังไม่รู้ว่าปริมาณการจราจรจะเป็นตามเป้าที่ตั้งไว้ 88,000 เที่ยวคัน/วันหรือไม่

โครงการนี้เป็นการร่วมทุนรัฐและเอกชน ระหว่าง "BEM-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ" ธุรกิจในเครือ บมจ.ช.การช่าง กับ "กทพ.-การทางพิเศษแห่งประเทศไทย"

รูปแบบ BTO (Build-Transfer-Operate) โดยเอกชนลงทุนก่อสร้าง ยกกรรมสิทธิ์ให้รัฐ และได้สัมปทานบริหารจัดการและบำรุงรักษา 30 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2555 ถึงวันที่ 14 ธ.ค. 2585 แบ่งเป็นช่วงก่อสร้าง 4 ปี และเก็บค่าผ่านทาง 26 ปี

โดยใช้เงินลงทุนรวม 32,816 ล้านบาท แยกเป็นค่าออกแบบ ก่อสร้างและควบคุมงาน 24,417 ล้านบาท เงินลงทุนสำหรับการบริหารจัดการให้บริการและบำรุงรักษา 30 ปี วงเงิน 8,399 ล้านบาท ขณะที่ กทพ.ออกเงินค่าเวนคืนที่ดิน 9,564 ล้านบาท

แม้จะเป็นโปรเจ็กต์ลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน แต่นับเป็นครั้งแรกที่ทางด่วนสายนี้เปลี่ยนสูตรคิดค่าผ่านทางเป็นอัตราเหมาจ่าย โดยรถ 4 ล้อ 50 บาท รถ 6-10 ล้อ 80 บาท และมากกว่า 10 ล้อ 115 บาท และปรับค่าผ่านทางในอัตราคงที่ 15 บาท ทุก ๆ 5 ปี จากเดิมจะอิงตามค่าดัชนีผู้บริโภค (CPI)

นอกจากนี้ส่วนแบ่งรายได้ ยังแตกต่างจากทางด่วนขั้นที่ 2 ที่ "BEM" รับสัมปทานอยู่ โดย "กทพ." จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ 9 ปีแรกในสัดส่วน 40 : 60 (กทพ./BEM) จากนั้น 50 : 50 และช่วง 9 ปีสุดท้ายอยู่ที่ 60 : 40

ขณะที่ทางด่วนสายใหม่ ทาง "BEM" จะมีรายได้เข้ากระเป๋าทันทีนับจากวันแรกเปิดบริการ จะแบ่งให้ "กทพ." คู่สัญญาต่อเมื่อผลตอบแทนการลงทุน (FIRR) ส่วนที่เกินอยู่ที่ 13.5-15.5% โดยแบ่งให้ กทพ. 30% หากเกิน 15.5% จะแบ่งให้ 50% ซึ่งประเมินว่ากว่า กทพ.จะได้รับส่วนแบ่งรายได้ คาดว่าปริมาณการจราจรอยู่ที่ 180,000 เที่ยวคันต่อวัน หรือประมาณ 15 ปีไปแล้ว

จึงไม่เหนือความคาดหมายที่ "BEM" จะเร่งสร้างให้เสร็จเร็วขึ้นจากเดิมถึง 4 เดือน เพราะยิ่งสร้างเสร็จ-เปิดใช้ได้เร็วเท่าไหร่ จะมีรายได้เข้ามาเติมในพอร์ตเร็วขึ้นเท่านั้น

นายณรงค์ เขียดเดช ผู้ว่าการ กทพ.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สาเหตุที่ปรับการคิดส่วนแบ่งรายได้ใหม่ เนื่องจากทางด่วนศรีรัช-วงแหวนเป็นโครงข่ายนอกเมือง ที่มีความเสี่ยงเรื่องปริมาณการจราจรมากกว่าทางด่วนขั้นที่ 2 เป็นโครงข่ายในเมืองที่คนใช้บริการจำนวนมากเฉลี่ยกว่า 1 ล้านเที่ยวคัน/วันขึ้นไป

"เอกชนที่ลงทุนทางด่วนสายนี้ก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน เพราะต้องดูว่าปริมาณการจราจรจะเป็นไปตามที่ประมาณการไว้หรือไม่ เพราะเคยมีประสบการณ์จากทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ที่บริษัท NECL บริษัทลูกของ BEM เป็นผู้ลงทุน เปิดบริการปีแรกปี′41 คนใช้น้อยมาก ถึงปัจจุบันรวม 18 ปี เพิ่งมีกำไรเมื่อปีที่แล้ว"

สำหรับผลประโยชน์ที่ กทพ.จะได้รับ "ณรงค์" ย้ำว่า ได้ในแง่ของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ เกิดการพัฒนาพื้นที่ในแนวเส้นทาง และประหยัดเวลาในการเดินทาง

แหล่งข่าวจาก กทพ.กล่าวว่า ทางด่วนสายนี้ปริมาณการจราจรในวันทำการอยู่ที่ 97,180 เที่ยวคัน/วัน หากถัวเฉลี่ยทุกวันอยู่ที่ 88,000 เที่ยวคัน โดยรถที่มาใช้บริการ 98% จะเป็นรถ 4 ล้อ เก็บค่าผ่านทางอยู่ที่ 50 บาทตลอดสาย

ทั้งนี้ เมื่อคำนวณเป็นรายได้ที่ BEM จะได้รับตลอด 26 ปี บนฐานข้อมูลที่ปริมาณรถ 88,000 เที่ยวคัน/วัน จะมีรายได้อยู่ที่ 4.4 ล้านบาท/วัน และ 1,606 ล้านบาท/ปี เมื่อรวม 5 ปีแรก โดยรวมรายได้ 4 เดือนสุดท้ายของปี 2559 ในเดือน ก.ย.-ธ.ค. จำนวน 528 ล้านบาท ทาง BEM จะมีรายได้อยู่ที่ 6,952 ล้านบาท

จากนั้นปีที่ 6-10 ถึงรอบปรับค่าผ่านทาง 15 บาท เป็น 65 บาทตลอดสาย คาดว่า BEM จะมีรายได้ 5.72 ล้านบาท/วัน และ 2,087.8 ล้านบาท/ปี รวม 5 ปีอยู่ที่ 10,439 ล้านบาท

เมื่อขึ้นปีที่ 11-15 จะเก็บค่าผ่านทาง 80 บาท รายได้อยู่ที่ 7.04 ล้านบาท/วัน และ 2,569.6 ล้านบาท/ปี รวม 5 ปีอยู่ที่ 12,848 ล้านบาท ขณะที่ปีที่ 16-20 เก็บค่าผ่านทางอยู่ที่ 95 บาท รายได้อยู่ที่ 8.36 ล้านบาท/วัน และต่อปีอยู่ที่ 3,051.4 ล้านบาท รวม 5 ปีอยู่ที่ 15,257 ล้านบาท

ตั้งแต่ปีที่ 21-25 ค่าผ่านทางปรับขึ้นเป็น 110 บาท รายได้อยู่ที่ 9.68 ล้านบาท/วัน และ 3,533.2 ล้านบาท/ปี รวม 5 ปีอยู่ที่ 17,666 ล้านบาท สุดท้ายปีที่ 26 ซึ่งครบกำหนดสัญญา และเป็นปีสุดท้ายที่จะปรับค่าผ่านทาง จะเก็บอยู่ที่ 125 บาท คิดเป็นรายได้อยู่ที่ 11 ล้านบาท/วัน และ 4,015 ล้านบาท/ปี

เมื่อรวมรายได้ตลอดสัมปทาน 26 ปีที่ BEM จะได้รับ คาดว่าอยู่ที่ 67,177 ล้านบาท ขณะที่บริษัทลงทุนไป 32,816 ล้านบาท เท่ากับว่าได้รับผลตอบแทนอยู่ที่ 34,361 ล้านบาท น่าจะทะลุทะลวงจากเป้าที่บริษัทประมาณการไว้ 8%

ทั้งหมดเป็นเพียงการคาดการณ์จากปริมาณการจราจรที่บริษัทคาดการณ์ไว้ 88,000 เที่ยวคัน/วัน

ยังไม่รู้เมื่อเปิดใช้จริงจะมากหรือน้อยไปจากนี้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-08-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.