| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 148 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-07-2559    อ่าน 1192
 เร่งยกเครื่อง...ผังเมืองรวมกรุงเทพฯ

นายมานพ พงศทัต อาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาเคหการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประธานหลักสูตร RE-CU เปิดเผยว่า ขณะนี้คณะกรรมการผังเมือง กรุงเทพมหานครอยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมายผังเมืองกรุงเทพมหานครครั้งใหญ่ หลังจากที่กฎหมายผังเมืองฉบับปรับปรุงครั้งล่าสุดบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2556 โดยฉบับปรังปรุงใหม่คาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ในปี 2560 การปรับปรุงครั้งนี้ เนื่องจากต้องการให้สอดคล้องกับการคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงไปของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีการพัฒนาโครงข่ายระบบรางเพิ่มมากขึ้น คือมีจำนวนมากถึง 13 สาย จำนวนกว่า 400 กิโลเมตร ส่งผลให้การพัฒนากระจายได้มากขึ้น

หลักการคือจะเปิดกว้างให้นำพื้นที่บริเวณโครงข่ายรถไฟฟ้าสามารถนำมาพัฒนาได้มากขึ้น คือการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินหรือ (เอฟเออาร์) ในบริเวณรัศมี 500 เมตรจากสถานีรถไฟฟ้า สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ประมาณ 10 เท่า และโบนัส 20% หากทำพื้นที่สาธารณะด้วย โดยผังที่ปรับปรุงใหม่ขยายพื้นที่ให้กว้างขวางขึ้นให้ครอบคลุมรัศมี 1 กิโลเมตร จะได้เอฟเออาร์เพิ่มเป็น 12 เท่า โบนัสเพิ่มขึ้นเป็น 40% หากมีการสร้างพื้นที่สาธารณะด้วย

"นอกจากนี้มีการเปิดกว้างให้เจ้าของที่สามารถขายสิทธิทางอากาศเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วย (คือขายสิทธิการก่อสร้างบนพื้นที่ของตัวเองให้กับโครงการข้างเคียง) จากเดิมที่ไม่เคยมีการดำเนินการในเรื่องนี้มาก่อน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้ลดการพัฒนาพื้นที่ในโซนรับน้ำ (เขียวทแยงขาว) ได้ หรือ หากจะทำในพื้นที่รับน้ำ ก็จะต้องทำให้น้ำผ่านได้คือต้องยกใต้ถุนสูง เป็นต้น" นายมานพกล่าว และว่า สำหรับโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้ง 13 สายนั้นจะมีสถานีไม่น้อยกว่า 300 สถานี แต่สถานีที่จะมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการต่างๆ นั้นมีประมาณ 43-45 สถานี เช่น สถานีบางซื่อ ซึ่งเป็นสถานีกลางที่เชื่อมต่อของรถไฟฟ้าหลายสาย สถานีมักกะสัน สถานีแม่น้ำที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการผลักดัน เป็นต้น

นายสุเชฏฐ์ ฤทธีภมร ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Think of Living สื่อออนไลน์ด้านอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า จากการเกิดขึ้นของโครงการรถไฟฟ้าทั้งสายสีเขียวส่วนต่อขยาย สายสีม่วงและสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายในขณะนี้ ทำให้ผู้บริโภคสนใจทำเลที่อยู่อาศัยใหม่ๆ ใน 3 ทำเล ประกอบด้วย ทำเลบางใหญ่ คือ ตั้งแต่ถนนรัตนาธิเบศร์ขึ้นไป ทำเลรามอินทรา-สะพานใหม่ และฝั่งธนบุรีคือย่านศิริราช เพราะอั้นมานานเนื่องจากจำนวนที่อยู่อาศัย (ซัพพลาย) มีไม่มาก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-07-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.