| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 15-07-2559    อ่าน 1202
 ภาษีที่ดินรัฐบาล คสช. (4) "ภาษีแพงขึ้น แต่...นักลงทุนยังช็อปอสังหาฯ"

ถามไถ่ดีเวลอปเปอร์อีกสักครั้ง กรณีร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ที่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 สาระสำคัญส่วนหนึ่งตีความให้ห้องชุดที่นำมาปล่อยเช่าถือเป็นสิ่งปลูกสร้างใช้ประกอบพาณิชยกรรม ทำให้การเสียภาษีที่ดินฯ เปลี่ยนจากการเป็นบ้านหลังที่สองที่เก็บภาษีอัตรา 0.03% หรือล้านละ 300 บาท ปรับฐานเป็นอัตราที่ดินประกอบพาณิชยกรรม 0.3% หรือล้านละ 3,000 บาท สูงขึ้น 10 เท่า

ต่อกรณีนี้ "อุทัย อุทัยแสงสุข" รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) แลกเปลี่ยนมุมมองว่า ภาษีที่ดินฯน่าจะมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุน แต่เชื่อว่าเมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว นักลงทุนยังสนใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม

เพราะค่าใช้จ่ายตามร่างกฎหมายภาษีที่ดินฯยังต่ำกว่าภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันที่เก็บอัตรา12.5%ของรายได้ค่าเช่า ยกตัวอย่าง คอนโดฯปล่อยเช่ามูลค่า 10 ล้านบาท หากปล่อยเช่าได้ผลตอบแทนปีละ 5% เท่ากับมีรายได้ค่าเช่า 5 แสนบาท เมื่อชำระภาษีโรงเรือน 12.5% ของรายได้ คิดเป็นเงิน 62,500 บาท แต่ถ้าหากคิดอัตราภาษีที่ดินฯ 0.3% ของมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง เท่ากับเม็ดเงิน 30,000 บาทต่อปี เห็นได้ชัดว่านักลงทุนปล่อยเช่ากลับได้ประโยชน์จากกฎหมายภาษีที่ดินฯ

ขณะเดียวกันหากมองในขั้นตอนปฏิบัตินักลงทุนบางรายอาจเลี่ยงไม่ชำระภาษีโรงเรือนฯเมื่อต้องจ่ายภาษีที่ดินฯตามกฎหมายใหม่ ยอมรับว่าอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากเดิมไม่เคยมีส่วนนี้ แต่กำไรของนักลงทุนลดลงไม่มาก ยกตัวอย่าง คอนโดฯห้องเดิม แต่เดิมได้รับค่าเช่าเต็ม 5 แสนบาท/ปี เมื่อจ่ายภาษีที่ดินฯ 30,000 บาท/ปี รายได้ลดเหลือ 4.7 แสนบาท/ปี ผลตอบแทนลดจาก 5% ต่อปี เป็น 4.7% ต่อปี กำไรที่ลดลงถือว่าน้อยมากในมุมของนักลงทุน

"ผลต่อการตัดสินใจมีไหม เชื่อว่ามี แต่ผู้ซื้อจะฉลาดในการตัดสินใจมากขึ้น ดูแล้วกฎหมายนี้ถือว่ายุติธรรม ภาษีที่ดินฯไม่เยอะเลย เพียงแต่คนไม่เคยจ่ายมาก่อนจึงรู้สึกตกใจในช่วงนี้"

นำไปสู่การฟันธงของ "อุทัย" ที่ว่า ในฐานะผู้ประกอบการก็มองในมุมที่ได้ประโยชน์เช่นกัน เพราะเชื่อว่าเจ้าของที่ดินเปล่ารกร้างจะเริ่มนำที่ดินออกใช้ประโยชน์ เช่น ปล่อยเช่า ทำให้คนมีที่ดินทำกินมากขึ้น ดีเวลอปเปอร์มีโอกาสพัฒนาบนที่ดินเหล่านั้นสูงขึ้น หรือถ้าแลนด์ลอร์ดมีที่ดินปริมาณมากจริง ๆ อาจยอมตัดราคาเล็กน้อยเพื่อขายออกบ้าง

แต่ ณ เวลานี้อาจยังไม่เห็น เชื่อว่าเจ้าของที่ดินอยู่ระหว่างจัดสรรทรัพย์สินที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 15-07-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.