| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 39 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-07-2559    อ่าน 1175
 "ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ" แม่ทัพ สนข. สแกนเมกะโปรเจ็กต์ บูตเศรษฐกิจประเทศไทย

สัมภาษณ์

ในที่สุด "ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ" วัย 57 ปี ได้นั่งเก้าอี้ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เมื่อวันที่ 26 เม.ย.ที่ผ่านมา หลังข้ามห้วยจากกรมการขนส่งทางบก มารั้งเก้าอี้รอง ผอ.สนข. เมื่อปี 2556

ด้วยดีกรีวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ่วงปริญญาโทด้านการขนส่ง ทำให้ "ชัยวัฒน์" ถูกผู้ใหญ่ในกระทรวงคมนาคม ดึงตัวมาช่วยงานที่ "สนข." ดูงานเทคนิคก่อสร้างโครงการระบบรางที่กลายเป็นดาวเด่นเมื่อครั้งบรรจุในแผนลงทุน 2 ล้านล้าน

"ผมรับราชการที่ขนส่งมา 30 ปี มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งให้มาช่วยงาน สนข. ดูระบบรางเพราะเป็นงานเทคนิค ยังไม่มีวิศวกร คิดว่ามาช่วย 2 ปีแล้วค่อยกลับไปที่ขนส่ง ซึ่งเป็นงานถนัด เพราะเป็นงานปฏิบัติ แต่งานที่ สนข.ค่อนข้างยาก เป็นงานนโยบายและงานแผนที่ต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน ต้องประสานกับทุกหน่วยภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้องให้แผนเดินหน้า ซึ่งมีทุกมิติทั้งนโยบายและระดับปฏิบัติ เช่น การจราจร ความปลอดภัย" คำพูดเปิดใจของ ผอ.สนข.คนใหม่

ปรับระบบรางรับเทรนด์โลก

ภารกิจ สนข.คือทำข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับทุกรัฐบาล ชี้นำการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ จะไปทางไหน รัฐบาลชุดนี้มีแผนพัฒนา 8 ปี (2558-2565) เงินลงทุน 1.79 ล้านล้าน ก่อนหน้านี้มีแผน 2 ล้านล้าน อยู่ที่นโยบายจะหยิบตรงไหนมาพัฒนาให้สอดรับกับเศรษฐกิจ ความต้องการของสังคม และปรับโหมดให้เข้าเทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนไป เช่น เศรษฐกิจดิจิทัลนำมาใช้กับการจัดระบบการจราจรอัจฉริยะ พลังงานไฟฟ้ามาใช้กับรถเมล์ ออกแบบระบบรองรับสังคมผู้สูงอายุ

โดยผลักดันระบบรางเป็นระบบหลักพัฒนาประเทศในอนาคต เพื่อพัฒนาเมือง ลดต้นทุนขนส่ง เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันกับนานาประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาขาดการพัฒนามานาน ต้องใช้ศักยภาพการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนมาเป็นกลไกขับเคลื่อนให้ได้ประโยชน์ 1+1 = 2 แต่ก็ไม่ทิ้งระบบถนน

"การพัฒนาระบบรางจะให้เกิดประโยชน์ ต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานีและรอบข้างด้วย จะต้องทำงานอย่างใกล้ชิดกับกรมโยธาธิการและผังเมือง เช่น รถไฟความร่วมมือกับจีนและญี่ปุ่น ผลการศึกษาออกมาว่าการลงทุนรถไฟความเร็วสูง ด้วยมูลค่าของโครงการที่สูง เพราะใช้เทคโนโลยีต่างประเทศต้องพัฒนาพื้นที่ด้วยถึงจะคุ้ม ให้เกิดการพัฒนาเมืองในภูมิภาค"

ร่างยุทธศาสตร์การขนส่ง 20 ปี

ขณะที่ภารกิจด่วน "ผอ.สนข." ย้ำว่า เร่งผลักดันนโยบายของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ที่ สนข.ได้รับมอบหมายให้เกิดเป็นรูปธรรม ล่าสุดกำลังทำแผนการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการคมนาคมขนส่ง ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ 20 ปี ประเทศไทยต้องเดินไปทางไหน จะมีทั้งบก ราง น้ำ อากาศ รวมถึงระบบเชื่อมต่อซอฟต์แวร์ กฎหมาย และปรับปรุงโครงสร้างองค์กรหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและราชการให้สอดรับกับภารกิจจะเกิดในอนาคต เช่น ขสมก. การรถไฟฯ การบินไทย ต้องกลับไปไขลานตามที่ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ อีกเรื่องคือสร้างความปลอดภัยบนถนน 365 วัน ไม่ใช่ช่วงเทศกาลสงกรานต์และปีใหม่

อีกทั้งยังทำรายละเอียดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งแต่ละพื้นที่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จะระบุไว้ชัดเจนว่าแต่ละพื้นที่มีโครงการอะไรบ้าง ทั้งระบบราง ถนน ท่าเรือ และสนามบิน

อย่างเช่น การพัฒนาภาคตะวันออก สนข.ได้รับนโยบายจากรัฐให้วางระบบโครงสร้างพื้นฐานภาพรวมในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง รองรับการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมที่จะเกิดใหม่ เช่น การแพทย์ครบวงจร การท่องเที่ยวระดับสูง ซึ่ง สนข.จะดูว่าพื้นที่พัฒนาอยู่ตรงไหน และกำหนดโครงข่ายเข้าไปหาพื้นที่นั้น เช่น ขยายมอเตอร์เวย์ ถนน รถไฟ ไฮสปีดเทรน ท่าเรือ เพื่อบูตภาคตะวันออกให้มีการพัฒนามากขึ้น

สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาระบบรางของประเทศ "ผอ.สนข." กล่าวว่า มีการพัฒนาระบบรางระหว่างเมือง จะมีรถไฟทางคู่ 1 เมตร จะต้องทำให้ครบ 16 เส้นทางให้ได้ตามแผน ซึ่งการรถไฟฯต้องหารถที่ทันสมัยมาวิ่งบริการและเปิดทางเอกชนให้มีส่วนร่วมการขนส่งสินค้า เช่น ให้เอกชนซื้อรถมาวิ่งบนรางรถไฟ ซึ่งการรถไฟฯจะมีรายได้จากค่าเช่าราง

ส่วนรถไฟสมัยใหม่ หรือรถไฟความเร็วสูง ไม่ว่ารถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่น มีข้อตกลงร่วมกันอยู่ ต้องค่อย ๆ ดำเนินการไปเพราะใช้เงินลงทุนสูงมาก เป็น "เวรี่เมกะโปรเจ็กต์" และเป็นข้อผูกพันนานหลายปี ต้องมีความละเอียดรอบคอบ ซึ่งแนวทางในการทำโครงการลักษณะนี้ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับการพัฒนาพื้นที่ ซึ่ง สนข.กำลังดำเนินการร่วมกับญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขณะที่รถไฟไทย-จีนยังไม่พูดถึงการพัฒนาเมือง รอสรุปมูลค่าการลงทุนให้อยู่ในวงเงิน 1.8 แสนล้านบาท ใน ก.ย.นี้จะเริ่มสร้างช่วงแรก 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก

เร่งวางพิมพ์เขียวรถไฟฟ้าเฟส 2

ไม่ใช่แค่เร่งแผนลงทุนใน 8 ปี ผอ.สนข.ระบุว่า กำลังจะทำแผนแม่บทรถไฟฟ้าระยะที่ 2 หรือ M-MAP 2 หลังรถไฟฟ้า 10 สายเดินหน้าไปได้อย่างรวดเร็วตลอด 2 ปีที่ผ่านมา โดยตั้งงบประมาณ 2560 จ้างที่ปรึกษามาดำเนินการแล้ว จะใช้เวลา 1 ปี

"คอนเซ็ปต์จะเติมเต็มรถไฟฟ้า 10 สายที่ยังขาดอยู่ เป็นระบบฟีดเดอร์ไลน์ หรือรถไฟฟ้าขนาดเบารองรับการเดินทางให้เชื่อมโยงกันมากขึ้น จะเน้นการพัฒนาเมืองเป็นหลัก ให้คนกระจายไปอยู่รอบนอกมากขึ้น และเดินทางเข้าเมืองด้วยรถไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นย่านปริมณฑลที่มีพื้นที่ติดกับกรุงเทพฯ ทั้งนครปฐม ปทุมธานี สมุทรสาคร สมุทรปราการ ต้องสร้างรถไฟฟ้าไปถึงที่ แผนแม่บทใหม่จะใช้เวลาพัฒนา 20 ปี"

สิ่งสำคัญต้องลำดับความสำคัญโครงการไว้ชัดเจน จะไม่มีปัญหาเหมือนสายสีม่วงและสีน้ำเงินที่สร้างเสร็จไม่พร้อมกัน ทำให้การเดินทางไม่เชื่อมต่อกัน ในแผนแม่บทใหม่ หากสายไหนไม่ได้สร้างจะไม่มีสายอื่นแทรก และแต่ละเส้นทางจะต้องรองรับการสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยด้วย จะมีการเคหะแห่งชาติมาร่วมพิจารณาด้วย

BRT-รถรางแก้รถติดเมืองใหญ่

นอกจากนี้ สนข.ยังศึกษาระบบขนส่งในหัวเมืองใหญ่ เช่น เชียงใหม่ โคราช ขอนแก่น หาดใหญ่ สงขลา พิษณุโลก มีทั้งระบบบีอาร์ทีและรถรางไฟฟ้า (แทรม) เป็นการลงทุน PPP โดยรัฐบาลกลางร่วมกับเอกชน มีการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นผู้ดำเนินการ

ทั้งหมดนี้ "ชัยวัฒน์" บอกว่า เป็นแผนงานของ สนข.ที่เซตไว้ แต่ที่กำลังจะเห็นผลสิ้นปีนี้ คือ ระบบตั๋วร่วมแมงมุม ซึ่งส.ค.จะติดตั้งและทดสอบระบบเสร็จและเริ่มใช้ ธ.ค. เป็นการเชื่อมการเดินทางรถไฟฟ้า 4 สาย มีสีม่วง น้ำเงิน เขียว และแอร์พอร์ตลิงก์ หลังจากรอคอยกันมานาน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 09-07-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.