| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-05-2559    อ่าน 1237
 ′กระเบื้องระเบิด′ new normal ยุคโลกร้อน

เคยมีประสบการณ์นี้ไหม นั่งอยู่ดีๆ กระเบื้องพื้นระเบิดเปรี้ยงปร้างขึ้นมา

ฮั่นแน่ รู้นะคิดอะไรอยู่ อาการระเบิดของกระเบื้องปูพื้นไม่เหมือนฉากเอฟเฟ็กต์ในหนังฝรั่ง ที่ฉากแอ๊กชั่นแรงๆ จะมียิงขีปนาวุธแล้วตึกทั้งตึกระเบิดโครมครามไฟลุกท่วมจอ

หากแต่อาการระเบิดของกระเบื้องจะออกแนวน่ารักๆ มีเสียงเปรี๊ยะ เปรี๊ยะ พอให้ได้ยิน จากนั้นจะเป็นอาการกระเบื้องล่อน ถึงขนาดใช้มือเปล่าดึงสามารถหลุดออกมาได้ทั้งแผ่น

ถ้ามีอาการแบบนี้ ในภาวะปกติอาจมีจากหลายสาเหตุ เรียกเหมารวมๆ ได้ว่าเป็น "ดีเฟ็กต์" defect หรืออาการบกพร่องจากการก่อสร้าง แต่ดีเฟ็กต์ทำนองนี้จำเลยจะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างก็ต่อเมื่อเพิ่งส่งมอบ อาคารใหม่ๆ แล้วเห็นความบกพร่องชัดเจน เช่น ปูกระเบื้องไม่ตรงกัน ปูไม่สม่ำเสมอ ในห้องน้ำหรือลานซักล้างจะต้องมีความลาดเอียง 5 เซนติเมตร แต่ไม่มี ทำให้มีน้ำท่วมขัง เป็นต้น

ปัจจุบัน แม้เทคโนโลยีจะก้าวล้ำทันสมัยแค่ไหนก็ตาม ในที่สุดเราก็ต้องพ่ายแพ้ต่อธรรมชาติอยู่ดี เพราะดีเฟ็กต์ของกระเบื้องพื้นในยุคนี้ ยุคที่เว็บไซต์ฝรั่งเอาไปเผยแพร่กันว่าเมืองไทยร้อนที่สุดในรอบ 65 ปี จากสถิติอุณหภูมิ 43-44 องศาเซลเซียส จนบ่นกันไปทั้งเมืองว่าร้อนตับแตก กลายเป็นการส่งสัญญาณเรื่องใหม่ กล่าวคือ เดิมเรารู้สึกแต่เพียงว่าเมืองไทยยิ่งนาน

ยิ่งร้อนขึ้นทุกปี ล่าสุดในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับอากาศเย็นในตอนกลางคืนห่างกันเป็นหลัก 10 องศาเซลเซียสขึ้นไป

สภาพอากาศร้อน-เย็นทารุณแบบนี้ มนุษย์มนาอย่างเราๆ คนที่แข็งแรงนักหนาก็เห็นเปื่อยไปทั้งเมือง รวมทั้งตึกรามบ้านช่องที่มีการปูกระเบื้องด้วย นั่นหมายความว่าตอนนี้ ดีเฟ็กต์ไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของการก่อสร้างเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป หากแต่ยังรวมปัญหาความบกพร่องของสิ่งแวดล้อมเป็นตัวต้นเหตุเข้าไปด้วย

ยกตัวอย่างสดๆ ร้อนๆ คอนโดมิเนียมขนาด 19 ชั้น ย่านชานเมืองแห่งหนึ่ง อยู่อาศัยมาได้ 8-9 ปี อยู่ดีๆ พื้นกระเบื้องชั้นบนสุดคือชั้น 19 ก็ออกอาการปูดบวมขึ้นมาตามริมขอบติดผนัง เมื่อทำการสำรวจงัดแงะดูปรากฏว่ามีลักษณะกระเบื้องล่อน กะเทาะหลุดจากกาวซีเมนต์ได้โดยง่าย หยิบออกมาได้เต็มแผ่น

ข้อสันนิษฐานเบื้องต้นมักจะลงเอยที่ฝีมือช่างปูกระเบื้อง-วัสดุกาวซีเมนต์กับ คอนกรีตที่ผสมไม่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่อาจละเลยมิติที่ว่า ถ้าหากดีเฟ็กต์เกิดจาก 2 สาเหตุนี้ ทำไมใช้งานได้ปกติสุขมาตั้ง 8-9 ปี

ประเด็นต่อมา ตอนแรกมองตาเปล่าเห็นกระเบื้องปูดอยู่ 2-3 จุดเท่านั้น แต่พอช่างกระเบื้องลองเคาะกระเบื้องแผ่นอื่นๆ ปรากฏว่าได้ยินเสียงก้อง ทำให้ขยายผลไปว่าเป็นเพราะปูนหมดอายุบ้าง ช่างฝีมือห่วยบ้าง เพราะเรามักจะพบเคสที่ว่าช่างแอบปูกระเบื้องแบบ "ซาลาเปา" คือหย่อนซีเมนต์ไม่เต็มแผ่นกระเบื้อง หยอดแปะเป็นก้อนเดียวตรงกลางแผ่นแล้ววางกระเบื้องทับลงไป หวังจะประหยัดค่าซีเมนต์เก็บเป็นกำไรเข้ากระเป๋า

ผลลัพธ์คือแทนที่จะซ่อมแซมกระเบื้องปูดเพียง 2-3 จุด กลายเป็นการรื้อกระเบื้องปูพื้นบริเวณโถงทางเดินทั้งหมด คำนวณตอนแรกเสียหายแค่ 20-30 ตารางเมตร กลายเป็นความเสียหายปาเข้าไปหลักแสนบาท เพราะพื้นที่รวมไม่ต่ำกว่า 200-300 ตารางเมตร นี่แค่ชั้นเดียวนะ ถ้าหากต้องซ่อมทั้งตึก 19 ชั้น ค่าซ่อมกระเบื้องเป็นหลักหลายล้านบาทแน่นอน อยู่ดีๆ สมควรต้องมาเสียเงินในกรณีแบบนี้ไหม ตึกอื่นๆ ล่ะ อายุงานเป็น 10-20-30 ปี มีปัญหาต้องมานั่งรื้อกระเบื้องอย่างนี้หรือเปล่า

คำอธิบายจากกูรูวง การผู้รับเหมา มองอย่างเป็นกลาง ถ้าหากฝีมือห่วยมาก+ใช้วัสดุซีเมนต์คุณภาพต่ำ กระเบื้องน่าจะปูดตั้งแต่ปีต้นๆ ที่เปิดใช้อาคารไปแล้ว ไม่ต้องรอให้มาถึงอายุใช้งานเกือบ 10 ปี ดังนั้น จึงไม่อาจมองข้ามประเด็นสภาพอากาศผันผวน เพราะในทางเทคนิค มีคำอธิบายว่า กระบวนการปูกระเบื้อง เกิดจากการนำแผ่นกระเบื้องมาวางบนฟื้นปูนธรรมดา โดยมีกาวซีเมนต์เป็นตัวประสานหรือตัวยึดอยู่ตรงกลางระหว่างพื้นปูนกับตัว กระเบื้อง ให้นึกภาพแซนด์วิชที่มีแผ่นแป้งข้างบน-ข้างล่างมาประกบกัน โดยมีเนื้อกับผักเป็นตัวกลางคั่นอยู่

ทีนี้ ถ้าหากอากาศผันผวนจริง ก็มีโอกาสที่จะเกิดการยืดตัว-หดตัวของกาวซีเมนต์-คอนกรีต-กระเบื้อง ในขณะที่คุณสมบัติของเนื้อกาวซีเมนต์จะเข้ากันได้ดีกับคอนกรีตมากกว่า เพราะความหนาแน่นใกล้เคียงกัน (ภาษาวิศวกรเขาบอกมา) จึงมีโอกาสสูงที่กาวซีเมนต์จะยืดตัวหดตัวมาจับเข้ากับคอนกรีตหรือพื้นปูน มากกว่า

ถามว่าทำไมไม่ไปเกาะกระเบื้องล่ะจ๊ะ คำตอบของนักวิชาชีพเขาบอกว่า ก็คุณสมบัติกระเบื้องเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง มีความหนาแน่นละเอียดมาก เหมือนผู้ดีกับยาจกนั่นแหละ เคมีมันไม่เข้ากัน กลายเป็นสาเหตุที่ทำให้กระเบื้องล่อนในที่สุด ภาษาวัยรุ่นก็คือ กระเบื้อง "โดนเท" หรือโดนนอกใจเพราะกาวซีเมนต์หันไปเกาะตัวกับคอนกรีตแทน

ส่วนวิธีการบำรุงรักษาทั่นบอกว่าให้รักษาตามอาการ พอกระเบื้องระเบิดก็ปล่อยให้เขานอนสบายใจสัก 2-3 วัน ค่อยมาเลาะกระเบื้องออก จากนั้นต้องขูดเนื้อกาวซีเมนต์เดิมให้พื้นเรียบสนิท ทำความสะอาดให้เรียบร้อยอย่ามีฝุ่นเวลาปูกระเบื้องทับไปใหม่จะได้ไม่มีดีเฟ็กต์


คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้านๆ นสพ.มติชนรายวัน โดย เมตตา ทับทิม misstubtim@yahoo.com
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-05-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.