| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 74 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-05-2559    อ่าน 1222
 "BRT-ทางลอยฟ้า" เชื่อมบางซื่อ-จตุจักร รับศูนย์คมนาคมพหลฯ 83 ไร่ 2 หมื่นล้าน

เดินหน้าจัด "Market Sounding"
เพื่อทดสอบความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง สำหรับแผนการเปิดหน้าดินย่านพหลโยธิน 2,325 ไร่
พื้นที่ไข่แดงของ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย"
ให้เอกชนที่สนใจเข้ามาลงทุนรับการพัฒนา "สถานีกลางบางซื่อ" ที่ในปี 2562
จะกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทางระบบรางทั้งหมด ทั้งรถไฟฟ้า รถไฟชานเมือง รถไฟทางไกล และรถไฟความเร็วสูง





ล่าสุดเปิดรับฟังความสนใจ "พื้นที่โซน D" เนื้อที่ 83 ไร่
อยู่ใกล้กับสถานีกลางบางซื่อและสวนจตุจักร โดยแปลงนี้ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร"
เป็นผู้ทำผลการศึกษา ตั้งเป้าพัฒนาเป็นศูนย์คมนาคมพหลโยธิน
ด้วยตำแหน่งที่ตั้งจะเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมสะดวกทั้งถนนสายหลัก ทางด่วน โทลล์เวย์ และรถไฟฟ้า


พัฒนา 2 ส่วน 2 หมื่นล้าน

สำหรับรูปแบบการพัฒนา "ศูนย์พหลโยธิน"
แบ่งเป็น 2 ส่วน ใช้เงินลงทุน 22,700 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.การพัฒนาโครงสร้างการเชื่อมต่อโครงข่ายการเดินทางและสิทธิ์การพัฒนาพื้นที่รอบศูนย์กลางการคมนาคม
เนื้อที่รวม 83 ไร่ มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์กว่า 1 ล้านตารางเมตร คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ
20,000 ล้านบาท

ซึ่งพื้นที่พัฒนาเป็นบริเวณทางเดินลอยฟ้า (Sky Walk)
เชื่อมระหว่างสถานีกลางบางซื่อ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจตุจักร และบีทีเอสหมอชิต ระยะทางรวม 1.3 กิโลเมตร
จะสร้างพาดผ่านสวนจตุจักรโดยสร้างตอม่อบริเวณพื้นที่ถนนใกล้กับสวนสาธารณะ
และปรับทัศนียภาพบริเวณตอม่อเป็นทางขึ้น-ลงเพื่อเป็นจุดชมวิวคล้ายส่วนบาบิโลน
และบริเวณทางเชื่อมระดับดินจากสถานีกลางบางซื่อไปยังสถานีย่อย บขส.ประมาณ 1.4 กิโลเมตร
ซึ่งทางเดินเชื่อมนี้จะใช้เงินลงทุนประมาณ 1,000 ล้านบาท

และ
2.การพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองรูปแบบรถโดยสารด่วนพิเศษ (BRT) ระยะทาง 10 กิโลเมตร
พร้อมศูนย์ซ่อมบำรุงเนื้อที่กว่า 7 ไร่ เงินลงทุนประมาณ 1,700 ล้านบาท มี 16
สถานีเพื่อเชื่อมการเดินทางภายในโครงการ จะสามารถรองรับคนจำนวน 4,000-8,000 คนต่อชั่วโมง


เปิดสัมปทานเอกชน 30 ปี

"ออมสิน ชีวะพฤกษ์"
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า
จากการศึกษาพบว่าการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินในพื้นที่ 2,325 ไร่
มีกิจกรรมทางด้านการพัฒนาพื้นที่ประกอบด้วย พื้นที่สถานีกลางบางซื่อ พื้นที่สวนสาธารณะ
พื้นที่พัฒนาโครงการ กม. 11 และพื้นที่ย่านตึกแดง ซึ่งได้มีการออกแบบเบื้องต้นสำหรับการพัฒนา
การเชื่อมต่อทางเดินเท้าในลักษณะการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์
มีการเชื่อมต่อการเดินทางภายในและบริเวณโดยรอบด้วยการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนขนาดรองเพื่ออำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีกลางบางซื่อและจุดกำเนิดการเดินทางในพื้นที่ศูนย์คมนาคมพหลโยธินซึ่งพื้นที่
83 ไร่ โซน D นี้จะพัฒนาโครงการแล้วเสร็จในปี 2562-2564 และจะเปิดบริการได้ในปี 2565-2566


"การลงทุนเป็นรูปแบบ PPP ให้เอกชนที่สนใจลงทุนทุกอย่างทั้งพัฒนาเชิงพาณิชย์
ทางเดินเชื่อมและรถบีอาร์ที ด้วยการให้สัมปทานระยะยาวเบื้องต้นคาดว่า 30 ปี แต่เอกชนเสนอขอ 99 ปี
จะต้องนำมาประกอบการพิจารณาต่อไป"

ก.ค.เสนอ ครม.อนุมัติ

นายออมสินกล่าวอีกว่า
ทั้งนี้ รูปแบบการร่วมทุนที่แน่นอนและชัดเจน
รวมทั้งการให้สัมปทานต้องขึ้นอยู่กับผลการศึกษาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือน ก.ค. 2559 หลังจากนั้น
เสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาเพื่อให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบในเดือน ก.ค-ส.ค.นี้ และบรรจุเข้าในโครงการ
PPP ของกระทรวงการคลังต่อไป

"ขณะนี้การก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตก้าวหน้าไปมาก คาดว่าจะแล้วเสร็จปี"62
จะพยายามเร่งรัดดำเนินการให้เปิดบริการโดยเร็ว"

ด้าน "อธิป พีชานนท์"
นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรกล่าวว่า
การพัฒนาโครงการทางภาครัฐอาจจะต้องมีการแก้ไขด้านกฎหมายผังเมืองและการควบคุมอาคารสูง
ให้พื้นที่ตรงนี้มีลักษณะพิเศษ และการศึกษาสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ควรมีการทำแบบร่างส่งไปพิจารณาก่อน
จะได้ทราบว่าจะต้องแก้ไขอะไรบ้าง ก่อนส่งเอกสารฉบับสมบูรณ์ เพื่อลดเวลาในการทำสิ่งแวดล้อมให้เร็วขึ้น
รวมทั้งอยากให้มีการแก้ไขระยะเวลาในการให้สัมปทานกับเอกชนด้วยเป็น 99
ปี
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 02-05-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.