| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-04-2559    อ่าน 1232
 คนรุ่นใหม่อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เอกฤทธิ์ ปัทมสัตยาสนธิ ดันเฟอร์นิเจอร์ไทย โก อินเตอร์

สัมภาษณ์

ในวัย 30 ปี ประสบการณ์ทำงานภาคปฏิบัติ 5 ปีเต็ม พกความมั่นใจมาพร้อมกับดีกรีปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ ม.ธรรมศาสตร์ พ่วงปริญญาโทเอ็มบีเออีกใบจาก ม.มิชิแกน สหรัฐอเมริกา วันนี้กล่าวได้ว่า ผู้บริหารรุ่นใหม่ "คุณจิม-เอกฤทธิ์ ปัทมสัตยาสนธิ" แห่งค่ายอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ มีความพร้อมสุดขีดที่จะขับเคลื่อนเฟอร์นิเจอร์ไทยสู่ตลาดต่างประเทศ "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษถึงภารกิจผลักดันยอดขาย 10% จากเป้ารวม 1.5 หมื่นล้านบาท ภายใน 5 ปีนับจากนี้

- ทำไมได้รับผิดชอบ ตปท.

ครับอาจเพราะผมชอบและถนัด เรามีพี่น้อง 4 คน "พี่เจนนี่-กฤษชนก" ถนัดภาพรวม "พี่จินนา-พิชพิมพ์" จบอินทีเรียร์เข้าใจการพัฒนาสินค้า "พี่โจ-เอกลักษณ์" มีไอเดียใหม่ ๆ การแตกไลน์ธุรกิจใหม่ ๆ เช่น เดอะวอล์ก การทำเครื่องใช้ไฟฟ้า ผมเป็นคนสุดท้องเข้ามาทำงานคนสุดท้าย มองว่าสิ่งหนึ่งที่เป็นอนาคตอินเด็กซ์ และน่าจะไปได้คือธุรกิจต่างประเทศ

เราถามตัวเองว่าไปขยายประเทศไหน เราได้เปรียบมากที่สุด แข่งขันกับคนอื่นได้ คำตอบอาเซียนเป็นภูมิภาคที่เราได้เปรียบ เพราะ 1.ใกล้เมืองไทย ช่วยในด้านการผลิต การขนส่งถูกกว่า ภาษีของแต่งบ้านและเฟอร์ฯมากกว่า 90% เป็น 0% อยู่แล้ว บวกกับมีพันธมิตรซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของเรา วิธีการจับคู่ก็มีทั้งเราเลือกเขา เขาเลือกเรา ดูตัวกัน 1-3 ปี

- กลยุทธ์การเปิดตลาด

ตอนปี′56 เริ่มคุยกับการหาพาร์ตเนอร์ เจ้าแรกคือ กลุ่มอิออน มาเลเซีย คุยต่อจนจบสามารถปีดดีลได้ ธุรกิจต่างประเทศผมเข้าทำเต็มตัวทั้งเซตอัพสโตร์ รันโอเปอเรชั่น เปิดขายครั้งแรกปลายปี′57 ผลตอบรับค่อนข้างดี ผู้บริโภคชอบแปลกใหม่ โลเกชั่นก็ค่อนข้างดี อยู่ในไอโอไอมอลล์ เป็นเมืองราชการ

โมเดลธุรกิจมี 3 รูปแบบ 1.จอยต์เวนเจอร์ 2.แฟรนไชส์ 3.ดีลเลอร์ โดยแฟรนไชส์มีผลตอบแทนในแง่ค่าฟี (ค่าธรรมเนียม) จุดเน้นคือความรู้ของพันธมิตรในเรื่องการบริหารงานค้าปลีก เพราะต้องการผู้มีความรู้เฉพาะด้านพอสมควร เราไปเพิ่มสินค้าเฟอร์ฯ โดยโมเดลลงทุน 1 สโตร์ เฉลี่ยต้องมี 100 ล้านบาทสำหรับในศูนย์การค้า พื้นที่ 4,500-9,000 ตร.ม. มองว่าไซซ์ 1 หมื่น ตร.ม. คงไม่ทำเพราะคิดว่าใหญ่ไป สินค้าคงไม่ครบทุกแคทิกอรี่ อาทิ เฟอร์ฯสำนักงาน เฟอร์ฯ ไฮเอนด์ไม่ไป เน้นตลาดแมส ราคากลาง ๆ ค่อนข้างบนตลาดกลุ่ม B ถึง A- เช่น โซฟาเบดตัวละ 3 พันบาท ไปจนถึงโซฟาหนัง 7 หมื่นบาท

อีกเหตุผลที่ไม่ทำช็อปไซซ์ใหญ่ เพราะมองว่าเทรนด์ทั่วโลกจะมีขนาดร้านเล็กขึ้นเรื่อย ๆ เพราะพร็อพเพอร์ตี้ราคาแพงขึ้น ทำยังไงเปิดร้านให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด กับไลฟ์สไตล์สังคมเมืองเริ่มขยาย คนต้องการคอนวีเนี่ยนมากขึ้น แทนที่จะมี 1 ร้านขนาดใหญ่ เราทำหลายร้านขนาดเล็ก ๆ น่าจะจูงใจผู้บริโภคมากกว่า

- การทำตลาดออนไลน์

เป็นขบวนรถไฟที่เราพลาดไม่ได้ แต่ว่าเราจะมาเป็นตู้หลัง ๆ เทรนด์แทบทุกประเทศ ประเภทสินค้าที่คนนิยมช็อปปิ้งออนไลน์ก่อน เป็นเซอร์วิส เช่น จองโรงแรม ซื้อตั๋วเครื่องบิน แบงกิ้ง ถัดมาสินค้าแฟชั่น อิเล็กทรอนิกส์ ของใช้ ลำดับที่สามเป็นของชำ ของสด ของเปื่อย สินค้าเฟอร์ฯจะมาหลัง อาจเพราะเป็นของชิ้นใหญ่ ราคาแพง ต้องสัมผัสก่อนซื้อ ต้องได้ทดลองนั่ง-นอน การเลือกซื้อผ่านออนไลน์ประสบการณ์ยังไม่ได้ และการสั่งไปก่อนแล้วคืนของลำบาก เพราะของชิ้นใหญ่ นี่คืออุปสรรค

ขณะเดียวกันเราก็ไม่ประมาท พยายามที่จะมอบทางเลือกให้กับผู้บริโภค เพราะต้องยอมรับว่าช่องทางออนไลน์เสริมออฟไลน์ หลาย ๆ เคสที่เราเห็น ลูกค้าเลือกหน้าร้านยังไม่ตัดสินใจซื้อ จดไว้ก่อน ผ่านไป 3-7 วัน 1 เดือน อยากซื้อแล้วก็สั่งออนไลน์ ไม่อยากรถติด ยอดขายผ่านออนไลน์ของเราของชิ้นใหญ่ขายดีกว่าชิ้นเล็ก (จาน ชาม หม้อ ไห) น่าสนใจว่าประเทศไทยเป็นอันดับ 1 ช็อปออนไลน์ในอาเซียน อันดับ 2 คือ อินโดนีเซีย ตอนแรกเห็นข้อมูลก็ไม่เชื่อ

- บทเรียนธุรกิจ

อยากให้มองว่าออกไปทำเถอะ (ตลาดต่างประเทศ) รวย แต่ให้มองด้วยว่าออกไปแล้ว เราได้เปรียบอะไรเทียบกับคู่แข่ง จุดแข็งเราเป็นเรื่องสำคัญมาก อย่างการมีฐานผลิตอยู่ในประเทศไทยได้เปรียบระดับหนึ่ง ทั้งเรื่องวัตถุดิบหลักคือไม้ ไทยค่อนข้างมีซัพพลายเออร์แข็งแกร่ง เราปลูกยางพาราซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก ราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เราใช้เกือบ 100% กับเรื่องคนซึ่งมีแนวโน้มว่าจะขาดแคลนในอนาคต ปัจจุบันต้นทุนยังพอได้ ค่าแรงก็ไม่ได้สูงจนเกินไป เราจ้างขั้นต่ำวันละ 350 บาท

คนชอบถามเรื่องต้นทุนค่าขนส่ง ต้องบอกว่าเป็นส่วนน้อยมาก ๆ ส่งเป็นตู้คอนเทนเนอร์ แต่ที่จะมีปัญหามากกว่าคือการเคลียร์ของผ่านด่านศุลกากรแต่ละประเทศ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องเอาใจใส่ เพราะบริหารจัดการลำบากมากเหมือนกัน

ส่วนคำถามว่ามีอะไรที่ต้องทำอีกในตลาดส่งออก ...เยอะครับ (หัวเราะ) เราอยากจะมีแชนเนลให้ครบในประเทศหลัก ๆ ในอาเซียน ไล่จากอินโดนีเซีย มาเลย์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สิงคโปร์ รวมไทยด้วย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 26-04-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.