| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 90 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-04-2559    อ่าน 1230
 เปิดซิงโซลาร์รูฟท็อป ค่ายเสนาฯ บ้าน 5 คำถาม...ขายเทรนด์รักษ์โลก

ปลุกปั้นอย่างเอาจริงเอาจังมาตั้งแต่ปีก่อน สำหรับค่ายอสังหาริมทรัพย์ "เสนาดีเวลลอปเม้นท์" ที่แตกไลน์สู่ธุรกิจพลังงานทดแทน ร่วมกับพันธมิตร "บี.กริม เพาเวอร์" ลงทุนโซลาร์ฟาร์มเพื่อขยายผลนำมาใช้กับธุรกิจจัดสรร ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปบนหลังคาบ้านและอาคารชุด

ก่อนนี้ในปี′58เสนาฯเริ่มติดตั้งบนหลังคาบ้านเดี่ยว 10 ยูนิต ที่เสนาพาร์ค แกรนด์ รามอินทรา-วงแหวน กำลังผลิตไฟฟ้า 3.5 กิโลวัตต์ มีสัญญาจำหน่ายไฟฟ้าคืนให้รัฐ

ปีนี้บริษัทต่อยอดในนาม "โซลาร์ สมาร์ท วิลเลจ" ปูพรมติดตั้งโซลาร์รูฟทุกยูนิตในโครงการ คราวนี้จุดประสงค์การลงทุนเพื่อ "ใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน" เป็นหลัก นำร่อง 2 โครงการบ้านเดี่ยว "เสนาพาร์ค วิลล์ รามอินทรา-วงแหวน" 218 ยูนิต กับ "เสนา วิลล์ บรมราชชนนี-สาย 5" 178 ยูนิต ราคาเริ่ม 4 ล้านกว่าบาท อนาคตวางเป้าติดตั้งทุกยูนิตในทุกโครงการที่เปิดตัวหลังจากนี้

แน่นอนว่าเทคโนโลยีโซลาร์รูฟท็อปค่อนข้างใหม่ในเมืองไทย "ประชาชาติธุรกิจ" มี 5 คำถามพื้นฐานพูดคุยกับ "อ.ยุ้ย-ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์" รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และทีมงานเสนา โซลาร์ เอนเนอร์ยี

1.ตีปี๊บ "ใช้ไฟฟรี 25 ปี"

บริษัทจั่วหัวน่าสนใจ "ใช้ไฟฟรี 25 ปี" มีคำอธิบายจากผู้บริหารว่า เกิดจากราคาบ้านได้รวมค่าติดตั้งและค่าแผงโซลาร์เซลล์ไว้แล้ว รุ่น Thin Film แบรนด์เฟิร์สโซลาร์ 20 แผ่น รวมกำลังผลิตไฟฟ้า 2.1 กิโลวัตต์ มูลค่า 2 แสนบาท พร้อมตู้แปลงไฟแบรนด์เอบีบี ทำให้ลูกบ้านไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

แต่เนื่องจากแบตเตอรี่กักเก็บไฟฟ้ายังมีราคาสูง 2-3 แสนบาทต่อ 1 ชุดจึงไม่ได้ติดตั้งมาให้ด้วย ดังนั้นแผงโซลาร์รูฟเมื่อผลิตไฟแล้วจะต้องนำกระแสไฟฟ้าไปใช้ทันที และเป็นพลังงานแสงอาทิตย์จึงทำงานได้เฉพาะกลางวัน ช่วงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเริ่ม 8 โมงเช้า-4 โมงเย็น หรือมีเวลา 8 ชั่วโมงที่ลูกบ้านจะได้ใช้ไฟฟรี ส่วนตอนกลางคืนยังใช้ไฟจากการไฟฟ้าตามปกติ

คำนวณเป็นมูลค่าเงินที่ประหยัดได้ หากมีการใช้ไฟ 4 ชม.ช่วง 10.00-14.00 น.ผลิตไฟฟ้า 2.1 กิโลวัตต์ เท่ากับมีการใช้ไฟฟ้า 8 หน่วย คูณค่าไฟของรัฐหน่วยละ 4 บาท จะประหยัดไฟวันละ 32 บาท หรือ 960 บาท/เดือน

2.เปิดแอร์ได้หรือเปล่า

จากความเข้าใจทั่วไปว่าไฟฟ้าโซลาร์รูฟน่าจะป้อนไฟได้เฉพาะแสงสว่าง ปรากฏว่าคำยืนยันคือสามารถใช้ได้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกประเภท โดยเครื่องปรับอากาศเป็นสิ่งที่กินไฟสูงสุด คำนวณขนาด 11,000 บีทียู ใช้ไฟ 1 กิโลวัตต์ เมื่อโซลาร์รูฟผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด 2.1 กิโลวัตต์ จึงครอบคลุมการใช้งานแอร์ 2 เครื่องในเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม การผลิตไฟฟ้ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงแดดในแต่ละช่วงของวัน

3.ค่าบำรุงรักษาแพงไหม

บริษัทระบุว่า มีโปรโมชั่นค่าดูแลรักษาฟรีช่วง 2 ปีแรก หลังจากนั้นลูกบ้านสามารถใช้บริการบริษัท เอท โซลาร์ จำกัด (ในเครือเสนาฯ) บริการล้างแผงโซลาร์เซลล์ให้สะอาด หากให้มีประสิทธิภาพสูงสุดควรดูแลรักษาเดือนละ 1 ครั้ง ค่าบริการยังไม่สรุป แต่คาดว่าอยู่ในหลักร้อยบาท ยังไม่ถึงหลักพันบาท โดยมีออปชั่นให้เลือกว่าแผงโซลาร์เซลล์ไม่ควรจะมีฝุ่นเกาะ เจ้าของบ้านสามารถขึ้นไปทำความสะอาดด้วยตนเองก็ได้

4.หลังคาบ้านจะทรุดไหม ?

บริษัทให้หลักประกันว่า บ้านสร้างใหม่ที่โครงสร้างหลังคายังแข็งแรงสามารถติดตั้งโซลาร์รูฟได้โดยไม่ต้องต่อเติม โดยโซลาร์รูฟมีน้ำหนักประมาณ 12-16 กก./แผ่น ไม่ทำให้บ้านทรุด ส่วนบ้านที่สร้างมานานอาจต้องตรวจเช็กสภาพการรับน้ำหนักก่อนติดตั้ง

5.ผลิตไฟฟ้าได้ทุกฤดูกาล ?

ประเทศไทยมี 3 ฤดู แสงแดดย่อมจ้าไม่เท่ากัน แนวคำชี้แจงคือทิศที่ตั้งของบ้านทุกหลังในโครงการมีผลน้อย เพราะเลือกใช้โซลาร์เซลล์แบบ Thin Film ลักษณะคล้ายแผงโซลาร์เซลล์เครื่องคิดเลข คุณสมบัติไวต่อความเข้มของแสงแดดแม้จะมีเงาบังบ้าง ทั้งนี้ การติดตั้งเน้นเฉพาะฝั่ง "ทิศใต้-ตะวันออก-ตะวันตก" ของบ้าน เพราะฝั่งทิศเหนือเป็นด้านที่ได้รับแสงแดดน้อย

ส่วนฤดูกาลมีผลกับการรับแสงแดดบ้าง หากมีฟ้าหลัวหรือฝนตกการผลิตไฟอาจลดลง 10% ถ้าฟ้าครึ้มมากอาจลดลงมากเพราะความเข้มแดดคล้ายช่วงเช้าตรู่ของวัน

สรุปรวมแล้ว ผู้บริโภคที่จะได้ประโยชน์สูงสุดอาจเป็นบ้านที่มีผู้อาศัยช่วงกลางวัน ไม่ว่าจะเป็นคุณแม่บ้าน ผู้สูงอายุ หรือน้องแจ๋วเจ้าของบ้านตัวจริง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 25-04-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.