| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 358 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 26-02-2559    อ่าน 1289
 โยธาฯรื้อกฎเหล็กคุมอาคาร ปรับลดขนาดถนน-ความสูง

"กรมโยธาฯ" ผนึก "วสท." ร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอาคาร หลังเกิดปัญหาไฟไหม้ถี่ เล็งแก้กฎกระทรวงลดขนาดอาคารกำหนดความกว้างรอบอาคาร เปิดทางรถดับเพลิงเข้า-ออกสะดวก


นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมกำลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายควบคุมอาคาร ปี 2535 ให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดปัญหาไฟไหม้ในตึกสูงอยู่บ่อยครั้ง โดยจะออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยแก้ไขเพิ่มเติม เนื่องจากจะสามารถดำเนินการได้เร็ว โดยจะพิจารณาปรับปรุงระยะทาง เขตทาง หรือถนนโดยรอบอาคาร เพื่อให้รถดับเพลิงและรถกู้ภัยสามารถเข้าไปได้ จากกฎกระทรวงเดิมกำหนดไว้ว่า อาคารขนาดน้อยกว่า 30,000 ตารางเมตร ต้องมีระยะเขตทาง 10 เมตร ส่วนอาคารที่มีขนาด 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องมีระยะเขตทาง 18 เมตร สำหรับการแก้ไขอาจจะกำหนดให้อาคารขนาดน้อยกว่า 10,000 ตารางเมตร อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดระยะเขตทางว่าควรจะอยู่ที่เท่าไร่ถึงเหมาะสม

"นอกจากนี้ยังต้องพิจารณาถึงเรื่องของความสูงของตัวอาคารประกอบด้วย บางกรณีที่อาคารมีความสูงมาก ๆ รถดับเพลิงขนาดที่ต้องใช้ขาตั้งจะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ อาจจะมีการเพิ่มเติมว่า หากอาคารใดที่มีความสูงมาก ๆ ระยะเขตทางก็ต้องมีความกว้างมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งประกาศใหม่นี้จะบังคับใช้กับอาคารที่สร้างใหม่ ไม่มีผลบังคับใช้ย้อนหลังอาคารเก่าที่สร้างก่อนปีཟ มีอยู่กว่า 100 อาคาร เพราะขณะนั้นยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้ แต่กรมก็ได้เสนอให้เจ้าของอาคารปรับปรุงเรื่องอัคคีภัย เช่น เพิ่มเครื่องดับเพลิง"


นายมณฑลกล่าวว่า เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่ผ่านมา กรมได้ร่วมลงนามในสัญญาความร่วมมือด้านวิชาการและวิชาชีพวิศวกรรม กรณีการเกิดอุบัติภัยที่เกี่ยวกับอาคาร ร่วมกับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เป็นระยะเวลา 2 ปี (2559-2560) เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของทั้ง 2 องค์กร ที่จากเดิมทำงานแยกกัน มาร่วมกันปฏิบัติงานเมื่อเกิดอุบัติภัยเกี่ยวกับอาคาร รวมถึงยกระดับและพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในอาคารสูงทั่วประเทศ เป็นการช่วยลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติภัยด้วย


จะมีขอบข่ายความร่วมมือ 2 ด้าน คือ 1.ความร่วมมือกันตรวจสอบเมื่อเกิดอุบัติภัยเกี่ยวกับอาคาร ข้อเท็จจริง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อสรุปชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สาธารณชนอย่างถูกต้อง หรือข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติภัย ตามหลักวิศวกรรมและกฎหมาย ร่วมมือกันในการให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นแก่ประชาชนได้ทราบในทิศทางเดียวกัน

2.ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพมาตรฐานรวมถึงข้อกำหนดกฎหมายโดยหารือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมโธยาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติภัยเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานทางด้านวิชาชีพและมาตรฐาน หรือข้อกำหนดกฎหมาย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 26-02-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.