| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 98 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-02-2559    อ่าน 1200
 บิ๊ก ช.การช่าง เคลียร์ปม รถไฟฟ้าเตาปูน-บางซื่อ "เราทำเพื่อประโยชน์ของชาวบ้าน"

สัมภาษณ์พิเศษ

การเปิดใช้รถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง "บางใหญ่-เตาปูน" ระยะทาง 23 กิโลเมตรอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมนี้ โครงข่ายการใช้งานจะยังไม่เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าใต้ดินที่สถานีบางซื่อ จะขาดช่วงอยู่ประมาณ 1 กิโลเมตร 1 สถานี ซึ่งกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลกำลังเร่งแก้ไขโดยเร็ว

หนึ่งในการแก้ไขปัญหาคือเจรจาจ้าง "บีอีเอ็ม-บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ" ผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้าใต้ดินหรือสายสีน้ำเงินเดิม (หัวลำโพง-บางซื่อ) ให้เดินรถให้

โดยผลการเจรจาล่าสุด "บีอีเอ็ม" ยินดีจะลงทุนติดตั้งระบบพร้อมกับรับจ้างเดินรถให้ 1 ปี ซึ่ง "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" นำข้อเสนอนี้ให้ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" พิจารณาเมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา

แต่กระทรวงคมนาคม และ รฟม. ยังไม่ได้รับไฟเขียวซึ่ง ครม.ให้เจรจากับ "บีอีเอ็ม" ให้ขยายเวลาการจ้างให้นานขึ้นไปอีกเพื่อให้พอดีกับที่สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วง "บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค" ระยะทาง 27 กิโลเมตร จะเปิดใช้บริการปลายปี 2561-2562

จากประเด็นดังกล่าว "พงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล" ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ. ช.การช่าง เปิดใจกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การเดินรถขาดช่วง 1 สถานี เกิดจากการที่ รฟม.ออกแบบให้รถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบเป็นคนละระดับกัน สายสีม่วงเป็นโครงสร้างลอยฟ้าทำให้การเดินรถจากบางใหญ่มาถึงแค่เตาปูน ขณะที่สายสีน้ำเงินเดิมเป็นอุโมงค์ จึงทำให้ระบบรถไม่เชื่อมกัน ผู้โดยสารต้องมาเปลี่ยนรถที่สถานีเตาปูน

"ที่จริงแล้วสายสีน้ำเงินกับสีม่วงควรจะต่อกัน โดยหลักการเวลารถไฟฟ้าวิ่งมาถึงสถานีแล้วผู้โดยสารจะเปลี่ยนรถเป็นอีกสีควรจะมีรางต่อกัน เพื่อจะได้ไม่เสียเวลา แต่ประเด็นคือจากบางซื่อ-เตาปูน ควรจะเป็นการเดินรถของสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทั้งหมด ปรากฏว่าสีน้ำเงินส่วนต่อขยายยังสร้างไม่เสร็จและไม่มีคนเดินรถ แต่สายสีม่วงจะเปิดใช้งานเดือนสิงหาคมนี้ ดังนั้น จึงต้องแก้ไขหารถมาวิ่งก่อน ไม่งั้นผู้โดยสาร 1.5 แสนคนจะต้องลงเดินหรือนั่งรถเมล์อีก 1 กิโลเมตรเพื่อไปต่อรถไฟฟ้าใต้ดินเข้าเมือง รวมทั้งสายสีม่วงที่จะไปบางใหญ่"

เพื่อเป็นการคลี่คลายข้อกังวลของภาครัฐ "พงษ์สฤษดิ์" บอกว่า บริษัทได้เสนอแนวทางให้รัฐบาลพิจารณา โดยยินดีจะลงทุนงานระบบ 1 สถานีนี้ให้ก่อน และนำขบวนรถไฟฟ้าเดิมที่วิ่งจากหัวลำโพง-บางซื่อ วิ่งมารับส่งผู้โดยสารให้เป็นการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี แทนการจ้างระยะยาว 13 ปี ตามข้อเสนอเดิมที่จะสิ้นสุดพร้อมกับสัมปทานรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะหมดในปี 2572

"ระหว่างนี้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจำนวนเท่าไหร่นั้น เราจะออกให้ก่อน ถ้าส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงินไม่ใช่เราเป็นผู้เดินรถให้ รัฐก็จ่ายเงินที่เราลงทุนไปคืนมา ถ้าใช่ก็นำเงินทั้งหมดร่วมลงทุนกับส่วนต่อขยาย เป็นแวรี่แฟร์ดีลมาก ทั้งนี้ ก็เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ทุกคนก็แฮปปี้ ส่วนสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายก็เจรจากันไปให้จบ"

เมื่อถามว่ามติ ครม.ให้กระทรวงคมนาคมและ รฟม.กลับมาเจรจากับบริษัทอีกครั้ง "พงษ์สฤษดิ์" ย้ำว่า ยังยืนข้อเสนอเดิม คือ เดินรถให้ 1 ปี เพราะพิจารณาแล้วไม่คุ้มที่จะรับจ้างเดินรถให้ 13 ปี ตอนนี้สิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ยังไงรถไฟฟ้าสายสีม่วงกับรถไฟฟ้าใต้ดินจะยังเดินรถไม่เชื่อมต่อกัน เนื่องจากยังไม่มีการเซ็นสัญญาจ้างเกิดขึ้นและจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 13-15 เดือนติดตั้งระบบและทำการทดสอบจนมั่นใจว่ามีความปลอดภัย

"มติ ครม.ไม่ได้ตีกลับผลการเจรจาของเรา เพียงแต่ให้เจรจาใหม่ เพราะกระทรวงคมนาคมทำเรื่องเสนอให้เจรจาใหม่ จริง ๆ เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและรัฐบาลด้วย เราพร้อมให้ความร่วมมือ แต่เราต้องการให้รัฐชัดเจน ตัดสินใจให้เร็ว ดูว่าอะไรคือประโยชน์ของประชาชน ซึ่งเรื่องเดินรถ 1 สถานีเจรจาจบไปตั้งแต่มิถุนายนปีที่แล้ว หากได้รับการอนุมัติปีนี้ก็จะเปิดใช้งานได้พร้อมกับสายสีม่วง ไม่ใช่ว่าเราจะเดินรถให้ 1 สถานีเพื่อจะได้ส่วนต่อขยายรถสีน้ำเงิน ไม่ใช่"

สำหรับการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย "พงษ์สฤษดิ์" กล่าวว่า รัฐบาลอยากจะเปลี่ยนรูปแบบการเจรจาเอกชนใหม่ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2556 และโครงการ PPP Fast Track พร้อมกับให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนและแบ่งรายได้จากค่าโดยสารให้รัฐเหมือนกับรถไฟฟ้าใต้ดินปัจจุบัน เพราะจ้างเดินรถเหมือนสายสีม่วงความเสี่ยงจะตกอยู่ที่รัฐทั้งหมด ซึ่งบริษัทก็ยินดีจะเปลี่ยน ตอนนี้อยู่ที่การดำเนินการของภาครัฐ ยิ่งช้าเท่าไหร่ จะทำให้การหารถมาวิ่งบริการช้ามากขึ้นเท่านั้น ขณะนี้งานก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดินจะเสร็จปีนี้บางส่วนและปีหน้าอีกบางส่วน

"การเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายทางคณะกรรมการร่วมทุนฯมีข้อสรุปแล้วให้เจรจาเราเป็นรายแรก เพราะเป็นผู้เดินรถไฟฟ้าใต้ดินเดิมอยู่แล้วหากเป็นรายเดียวกัน จะทำให้การเปิดใช้บริการเร็วขึ้นได้ เพราะมีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่แล้วที่พระราม 9 หากเราได้เป็นผู้เดินรถสามารถทยอยเปิดบริการได้เป็นช่วง ๆ ถ้าเซ็นสัญญาปีนี้ ปี"60 ก็ทยอยเปิดได้และครบทุกสถานีภายใน 3 ปี หากเป็นรายใหม่ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี เพราะรอให้ได้รถครบทั้งหมดถึงเปิดได้"

"ความสำคัญตอนนี้การเดินรถ 1 สถานีต้องจบและสีน้ำเงินส่วนต่อขยายที่เปลี่ยนกฎหมายใหม่ต้องอนุมัติให้เรียบร้อย จะเจรจาก็เจรจา ยิ่งช้าคนก็เดือดร้อน ทั้งหมดนี้อยู่ที่นโยบายรัฐบาล ขอให้ชัดเจน ตัดสินใจให้เร็วก็พอ"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 04-02-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.