| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 320 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-01-2559    อ่าน 1201
 บ้านคนจน โครงการตะกายดาว หยุดเกี่ยง เร่งทำ

นับเป็นนโยบายที่ปรารถนาดีของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร มาถึงรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่อยากให้คนไทยมีบ้านเป็นของตัวเอง

แม้ชื่อโครงการจะเรียกต่างกัน แต่ "เป้าหมาย" เหมือนกัน เพราะโดยเนื้อแท้แล้ว ทั้ง "บ้านเอื้ออาทร" และ "บ้านประชารัฐ" ต่างต้องการตอบสนองผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก ฉะนั้น การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย 2.7 ล้านครัวเรือนจึงเป็นเรื่องที่น่าสนับสนุน

แต่เป็นเรื่องที่ยากและใช้เวลายาวนาน กว่าผลงานจะเป็นรูปธรรมและตรงกลุ่มซึ่งต้องอาศัยแรงขับเคลื่อนอย่างจริงจัง จากหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบรวมไปถึง "บิ๊ก" อสังหาริมทรัพย์และรับเหมาก่อสร้าง

จากท่าทีของภาคเอกชนที่ผ่านมา ยังคงเกิดปรากฏการณ์ "แบ่งรับแบ่งสู้" ดูน่าอึดอัด

ในรอบนี้ ภาครัฐคาดหวังให้เอกชนเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ซึ่งรัฐจะคอย "สนับสนุน" ทุกขั้นตอนตั้งแต่ปล่อยที่ดินแปลงสวย จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยถูก และมาตรการจูงใจอื่นๆ ที่เหมาะสมและสมควร

"อธิป พีชานนท์" นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่า "การพัฒนาบ้านจัดสรรต้องใช้เวลาเตรียมตัวศึกษาตลาดอย่างน้อย 1 ปี แต่โครงการบ้านประชารัฐเพิ่งเริ่มเกิดขึ้น ควรให้เวลาเอกชนบ้าง เพราะเป็นตลาดใหม่ และเอกชนต้องแบกรับความเสี่ยงทั้งหมดเอง เราจึงต้องรอบคอบ"

ที่สำคัญ "ข้อติดขัด" เรื่องสินเชื่อที่จะให้แก่ผู้ซื้อบ้านยังไม่ชัดเจน ทั้งเงื่อนไขและความมั่นใจว่า "ผู้ซื้อจะกู้ผ่านหรือไม่"

ล้วนเป็นเรื่องน่าคิด !

ขณะที่เจ้าพ่อบ้านบีโอไอ "ทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์" ซีอีโอ ค่ายพฤกษา เรียลเอสเตท ยอมรับว่า "รัฐบาลได้เชิญไปคุย 2 ครั้ง เพราะพฤกษาฯมีประสบการณ์สร้างบ้านราคานี้อยู่แล้ว แต่ขอดูมาตรการรัฐก่อนว่า จะเป็นอย่างไร และให้ความช่วยเหลืออะไรได้บ้าง"

"เพื่อเราจะได้ถามตัวเราว่า สามารถทำได้มั้ย แน่นอนในหลักการหนึ่งคือการลงทุน แต่เมื่อทำแล้วก็ไม่ควรขาดทุน"

บิ๊กเบอร์หนึ่ง วงการอสังหาฯ ยังกล่าวย้ำอีกว่า "ราคาที่รัฐกำหนดขึ้นยังเป็นราคาที่ขาดทุน รัฐอาจช่วยในเรื่องของภาษีแทน แต่ก็เป็นงบประมาณที่ไม่สูง"

ขณะที่ปัญหาเฉพาะหน้าก็ตัดสินใจยาก เช่น ที่ดินบริเวณรถไฟฟ้าสถานีสะพานควาย จริงๆ ทำได้ แต่มูลค่าที่ดินแพงไป ไม่เหมาะสมกับราคาบ้านผู้มีรายได้น้อย"

"แต่ถ้าเป็นนโยบายก็ต้องพิจารณา แต่ถ้าทำประมาณ 200 ยูนิตก็น้อยไป ไม่เพียงพอ"

เป็นการตอบแบบสั้นๆ แต่ได้ใจความ

เช่นเดียวกับ "ประทีป ตั้งมติธรรม" ซีอีโอ บมจ.ศุภาลัย หลังประชุมกับ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" รองนายกรัฐมนตรี ก็สรุปโช๊ะว่า

รัฐบอกโจทย์ 3 ข้อคือ 1.ทำบ้านคนจนขายหน่วยละ 6 แสนบาท เพื่อป้อนตลาดผู้มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทผ่อนได้เดือนละ 4,000 บาท 2.ทำบนที่ดินของรัฐหรือที่ราชพัศดุโดยกรมธนารักษ์ และ 3.ธนาคารอาคารสงเคราะห์กับธนาคารออมสินเป็นกลไกไฟแนนซ์ ในฐานะผู้ปล่อยสินเชื่อ

"โครงการนี้รัฐต้องฟรีค่าธรรมเนียมการโอน ภาษีธุรกิจเฉพาะ และค่าจดจำนอง แม้รัฐเสียส่วนนี้ไป แต่ก็ได้ภาษีมูลค่าเพิ่มในเรื่องงานก่อสร้าง ซึ่งศุภาลัยสนใจทำบ้านคนจน แม้จะไม่มีกำไรก็ยินดี"

แต่รายละเอียดลงลึก ขอรอผลสรุปจาก 3 สมาคมอสังหาฯ ที่กำลังหารือกันอยู่ จะออกมาในรูปแบบไหน

ถ้ารัฐคิดจะให้เป็นโครงการซีเอสอาร์หรือเพื่อสังคมจริงๆ ก็ทำไปเลย อยากเสนอให้รัฐประกาศเงื่อนไขหรือหลักการให้ชัดเจน

อย่างไรก็ตาม "ประทีป" เชื่อว่า บริษัทเอกชนจะพัฒนาโครงการได้คล่องตัวกว่า และเร็วกว่า

เท่ากับ 2 เสียงบิ๊กอสังหาฯ กำลังขอวัดใจรัฐบาลทหาร

ล่าสุด แหล่งข่าวในกระทรวงการคลัง ระบุว่า ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณากรอบโครงการบ้านประชารัฐที่จะให้เอกชนลงทุนบนที่ราชพัสดุ

โดยปี 2559 จะนำร่อง 5-6 แปลง พร้อมกำหนดราคาบ้าน อาทิ ห้องชุดหรือคอนโดมิเนียม ขนาดไม่ต่ำกว่า 22 ตรม.ต้องขายไม่เกิน 700,000 บาท

"บ้านแถว" หรือ "ทาวน์เฮาส์" ต้องมีพื้นที่ใช้สอยไม่ต่ำกว่า 70 ตรม. ขายไม่เกิน 900,000 บาท

ซึ่งที่ราชพัสดุเป้าหมายมีชัดเจนแล้ว 5 ทำเล "เชียงราย"คือหนึ่งในนี้ แต่ติดขั้นตอน เพราะเป็นพื้นที่ทหาร

ส่วนที่เหลือ จะสร้างคอนโดฯและทาวน์เฮาส์รวมประมาณ 3,000 ยูนิต อยู่ที่วัดไผ่ตัน (พญาไท) กว่า 3 ไร่ และแปลงโรงงานกษาปณ์ (พญาไท) อีก 2 ไร่กว่า

ทั้งสองแปลงจะสร้างเป็นคอนโดมิเนียมราว 2,000 ยูนิต ตกแปลงละ 1,000 ยูนิต

ขณะที่อีก 2 แปลง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี มีแปลงละ 30 ไร่ จะสร้างเป็นทาวน์เฮาส์ 400 ยูนิต (แปลงละ 200 ยูนิต)

แล้วแปลงที่เชียงใหม่กว่า 9 ไร่นั้นจะสร้างแบบมิกซ์ยูสคือมีทั้งคอนโดฯและทาวน์เฮาส์รวมทั้งหมด 500 ยูนิต

"จักรกฤศฎิ์ พาราพันธกุล" อธิบดีกรมธนารักษ์ ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ"ว่า กรณีที่ไม่มีเอกชนรายใดสนใจเลย ทางกรมธนารักษ์ก็มีแผนสำรองจะให้บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรมธนารักษ์ดำเนินการแทน

"หลักคือจะทำทุกที่ ที่มีดีมานด์ แต่ตอนนี้ขอคุยกับผู้ประกอบการก่อน"

เมื่อสอบถามไปยัง "สุเมธ ดำรงชัยธรรม" กรรมการผู้จัดการ ธพส. เขายอมรับว่า "จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อหรือมีนโยบายมอบหมายจากจากกรมธนารักษ์แต่ อย่างไรในเรื่องโครงการบ้านประชารัฐ"

จึงไม่รู้ว่า เป็นการขู่ทีเล่นทีจริงหรือไม่ หากเอกชนไม่ทำ รัฐก็มีแผนสำรอง

ถามว่า "ธพส." เข้มแข็งประมาณไหน แหล่งข่าวในกระทรวงการคลัง บอกว่า "หน่วยงานนี้เพิ่งจะปิดบัญชีโครงการบ้านธนารักษ์ไป หลังจากใช้เวลาร่วม 10 ปีในการพัฒนา"

แต่เร็วๆนี้ ธพส.มีแผนจะลงทุนโครงการใหญ่อีก ใช้เงินกว่า 20,000 ล้านบาท น่าจับตา

มาถึง "เจ้าตลาด" บ้านคนจน "สุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา" รองผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวกับ"ประชาชาติธุรกิจ"ว่า แผนลงทุนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยปี 2558-2560 ของกคช.ผ่านครม.แล้วเมื่อวันที่ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมเปิดขายและสร้างได้ทันที

โดยแหล่งเงินมาจาก 3 ส่วนคือ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล เงินกู้ และเงินรายได้ของ กคช.

ปีนี้จะเริ่มสร้างโครงการชุดที่ 1 จำนวน 43 โครงการทั่วประเทศ รวม 11,559 หน่วย เงินลงทุน 10,000 ล้านบาท จะเสร็จในปี 2561

แยกเป็น 30 โครงการ 10,167 หน่วย ราคาเริ่มต้นที่ 5.5-7 แสนบาท เป็นอาคารชุด 3-5 ชั้น บ้านแถว 2 ชั้น บ้านเดี่ยว 1-2 ชั้น และบ้านแฝด 2 ชั้น อาทิ เคหะชุมชนบางขุนเทียน มิตรไมตรี บางบ่อ บางปู นครปฐม ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ กาฬสินธุ์ พระนครศรีอยุธยา (เชียงรากน้อย, บางปะอิน, โรจนะ ลพบุรี พิษณุโลก ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ตาก สงขลา สุราษฎร์ธานี ตรัง และสระบุรี

ถ้ากลุ่มรายได้ระดับกลางขึ้นไป ขายเริ่มต้น 1 ล้านบาท มี 13 โครงการ 1,392 หน่วย เป็นตึกแถว 3-3.5 ชั้น ทาวน์โฮม 2 ชั้น บ้านแถว 2 ชั้น บ้านเดี่ยว 1-2 ชั้น ทาวน์เฮาส์2 ชั้น อาทิ เคหะชุมชน จ.สมุทรสาคร (เศรษฐกิจ 2) สมุทรปราการ กำแพงเพชร บุรีรัมย์ อุบลราชธานี อุดรธานี ระยอง ภูเก็ต ขอนแก่น กระบี่

ส่วนอาคารเช่ามี 32 โครงการ 10,107 หน่วย ลงทุน 5,070 ล้านบาท เช่น ร่มเกล้า บางพลี ปทุมธานี แหลมฉบัง อุบลราชธานี อุดรธานี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา โรจนะ จะเริ่มสร้างในปีนี้ เสร็จปี 2563 เป็นอาคารชุด 28-32 ตรม. ให้เช่าปีต่อปี ต่างจังหวัดค่าเช่าห้องละ 1,500 บาท กรุงเทพฯ 2,000-2,500 บาท

งานนี้ทำเอา "บิ๊กรับเหมา" ยิ้มถ้วนหน้า เพราะรับจ้างสร้างอย่างเดียว

แต่ล่าสุด "สุรชัย ดนัยตั้งตระกูล" ประธานบอร์ด ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ก็ขอแจม "บ้านประชารัฐ" เฟสแรกไปเรียบร้อย

โดยประกาศนำห้องชุดและบ้านที่ถูกยึดจากสถาบันการเงิน เช่น ธอส. แบงก์กรุงไทย แบงก์อิสลามฯ และผู้ประกอบการอีกหลายรายมาเขย่าขายใหม่ให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนไว้ 1,500 ยูนิต

เงื่อนไขผู้ซื้อต้องมีรายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท แล้ว ธอส.จะปล่อยกู้ให้ 100% ของราคาบ้าน แต่ไม่เกิน 6 แสนบาท

5 หมื่นล้านคือเงินที่ ธอส.พร้อมปล่อยกู้ ดอกเบี้ยแค่ 3% คงที่ 30 ปี เพื่อชิงป้อนตลาด "คนจน" ยุคโซเชี่ยลมีเดีย

ส่วน "บ้านคนจน" ที่ต้องสร้างจากดินก้อนแรกตามนโยบายรัฐ จะไปถึง "ดวงดาว" หรือไม่ เวลาจะให้คำตอบ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-01-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.