| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 49 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-01-2559    อ่าน 1274
 ส.อาคารชุดไทยเผย "เมกะเทรนด์" อสังหา ทุนใหญ่-ต่างชาติบุกกลืนตลาด

สมาคมอาคารชุดไทยคาดการณ์เมกะเทรนด์ตลาดอสังหาฯปี 2559 ปีแห่งดีเวลอปเปอร์รายใหญ่ กลุ่มทุนธุรกิจอื่นกินส่วนแบ่งตลาด-ร่วมทุนต่างชาติ ด้านสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรรแนะผู้ประกอบการรายกลางสร้างความต่างสินค้า หลบทำเล-เซกเมนต์

นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต นายกสมาคมอาคารชุดไทย กล่าวบนเวทีสัมมนา "อสังหาริมทรัพย์ ดัชนีหลักชี้เศรษฐกิจปี 2016" ว่า ปี 2559 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ภาพรวมจะยังคงเป็นตลาดของบริษัทรายใหญ่ แต่มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญที่จะเป็นเมกะเทรนด์ คือ

1.แลนด์สเคปผู้เล่นในตลาดมีกลุ่มทุนขนาดใหญ่จากธุรกิจอื่นเข้าร่วม จากเดิม 12 บิ๊กแบรนด์อสังหาฯมีมาร์เก็ตแชร์ 53% แต่หลังจากนี้มีกลุ่มทุนอื่นจากธุรกิจอื่นเข้ามาเป็นผู้เล่นหลักร่วมด้วย

"วันนี้กลุ่มทุนใหญ่จะมาไสช้างชนช้าง ไม่ว่าจะกลุ่มทุนน้ำเมาหรืออาหาร เขามีมาร์เก็ตแชร์เพิ่มขึ้นมาในระดับบน ๆ แล้ว อย่างปี 2558 มีกลุ่มแมกโนเลีย (MQDC) ในเครือซีพีกับบมจ.โกลเด้นแลนด์ (GOLD) ในเครือของเจ้าสัวเจริญเข้ามาใน 12 อันดับแรกของตลาดแล้ว"

2.การร่วมทุน การควบรวมกิจการ จะเกิดขึ้นมาก เริ่มเห็นได้ตั้งแต่ช่วงที่ผ่านมา ค่ายแสนสิริร่วมทุนกับบีทีเอส ค่ายเอพีร่วมกับกลุ่มทุนญี่ปุ่น ค่ายอนันดาร่วมกับทุนญี่ปุ่น และนักลงทุนที่กำลังมาแรงคือชาวจีนซึ่งเข้ามาเจรจาหาการร่วมทุนแล้ว

3.ผู้ซื้อเปลี่ยนความต้องการ จากเมื่อก่อนผู้ซื้อเป็นเรียลดีมานด์กับนักลงทุนไทย แต่หลังจากนี้คนจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ หรือในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จะเข้ามาลงทุนซื้ออสังหาฯในไทยมากขึ้น

4.รูปแบบ จุดขายที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลง จากเดิมตำราอสังหาฯคือ ทำเล ทำเล ทำเล สินค้า และราคา แต่วันนี้จุดขายโครงการจะมากกว่านั้น จากกลุ่มทุนใหญ่ที่มีพื้นฐานธุรกิจอย่างอื่นดังกล่าว จะเข้ามาสร้างจุดขายให้ตลาด เช่น เครือเซ็นทรัลที่มีนโยบาย 1 ห้าง 1 คอนโดฯ หรือเครือซีพีที่ร่วมทุนกับสยามพิวรรธน์และเชนโรงแรมโอเรียนเต็ล ทำให้มีโครงการไอคอนสยาม เป็นมิกซ์ยูสคอนโดฯ ห้างสรรพสินค้า แหล่งท่องเที่ยว เพราะแต่ละกลุ่มทุนมีความพร้อมในหลายธุรกิจมากขึ้น และมีแลนด์แบงก์ศักยภาพ ดังนั้นรูปแบบการทำโครงการจึงเปลี่ยนชัดเจน

5.ราคาที่ดิน ราคาที่ดินใจกลางเมืองแพงขึ้น ตัวอย่างเช่น ที่ดินทำเลชิดลมเสนอขาย 2 ไร่ 2,600 ล้านบาท ตร.ว.ละ 2 ล้านกว่าบาท บริษัทรายกลางรายเล็กมีโอกาสน้อยลงทางด้านการเงิน และประเด็นการเช่าที่ดินรัฐ ถ้าสามารถขยายเวลาเป็นเช่า 99 ปีได้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของตลาดอสังหาฯ เพราะถ้าเช่าได้นานธนาคารจะปล่อยกู้สินเชื่อได้เท่ากับที่ดินฟรีโฮลด์ และเมื่อที่ดินศักยภาพมีมากขึ้น ราคาที่ดินฟรีโฮลด์อาจต้องปรับตัว

6.สถานการณ์การขาย จับตาดีมานด์จากนักลงทุน โดยเฉพาะสืบเนื่องจากปีก่อนมีการเปิดคอนโดฯหรูจำนวนมาก กังวลว่าสถานการณ์อาจคล้ายอาคารชุดต่างจังหวัดเมื่อปี 2556 ซึ่งนักลงทุนเก็งกำไรมีมาก ทำให้โอนกรรมสิทธิ์ไม่ได้ ส่วนการขายแนวราบ มองว่าทาวน์เฮาส์จะเป็นที่ต้องการ ในเซกเมนต์ตลาด 2-3 ล้านบาท และเซกเมนต์บน ตร.ม.ละ 1 แสนบาทในทำเลซอยใกล้สถานีรถไฟฟ้า

7.สถานการณ์การโอน ตลาดกทม. และปริมณฑลปี 2559 ช่วงครึ่งปีแรกคาดว่ายังมียอดโอนที่ดีอยู่ เพราะมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ยังบังคับใช้ สำหรับต่างจังหวัดต้องพยายามใช้โอกาสนี้เคลียร์สต๊อก

ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ผู้ประกอบการรายกลางรายเล็กยังไม่ต้องตื่นตระหนกกังวลต่อกลุ่มทุนรายใหญ่ เพราะพื้นที่การตลาดยังมีอีกมาก โดยปกติแล้วรายใหญ่จะมองหาทำเลที่เป็นไพรม์เอเรีย และพัฒนาสินค้าระดับพรีเมียม ซึ่งรายกลางสามารถเลือกทำเลที่รองลงมา ปรับดีไซน์ให้ต่าง และใช้ราคาที่ต่ำกว่า 10-20% เป็นจุดขายได้ นอกจากนี้รายกลางยังมีเสน่ห์เรื่องความใกล้ชิดผู้บริโภค สามารถสัมผัสและดูแลลูกค้าได้โดยตรง

"แต่ให้ระวังเรื่องการซื้อที่ดิน อย่าตุนที่ดินใกล้รายใหญ่ไว้มากเกินไป เพราะเป็นความเสี่ยง ดูการจัดสัดส่วนทุนให้ดี และศึกษาตลาด อย่าทำสินค้าที่เหมือนๆ กันออกไป ข้อได้เปรียบคือคุณไม่ถูกบีบด้วยตลาดหุ้นเหมือนรายใหญ่ที่จะต้องเติบโต สามารถปรับได้ตามสภาพเศรษฐกิจแท้จริง รายใหญ่อาจจะได้เปรียบในแง่ economy of scale การเข้าถึงผู้รับเหมา สถาบันการเงิน แต่รายกลางไม่ต้องห่วงมากว่าจะไม่มีพื้นที่เหลือให้รายกลางรายเล็ก" นายอธิปกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-01-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.