| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 67 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-01-2559    อ่าน 1208
 เปิดสูตรที่ลุมพินี "ชุมชนน่าอยู่" สู่บ้านลุมพินี "บ้านน่าอยู่"

สัมภาษณ์พิเศษ

ค่ายจัดสรรมหาชนแบรนด์ "แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์" หรือ LPN เป็นหนึ่งในไม่กี่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีบริษัทลูกเพื่อดูแลอาคารชุดหลังส่งมอบโครงการด้วยตนเอง โดยชูปรัชญาการดูแลชุมชนตามแนวทาง "ชุมชนน่าอยู่" (Vibrant Community) ปัจจุบันมีเครือข่ายดูแลชุมชนในโครงการตึกสูงกว่า 100 โครงการ จนกระทั่งล่าสุดในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการแตกไลน์พัฒนาโครงการแนวราบทั้งบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์

"ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "จรัญ เกษร" เอ็มดีบริษัท พรสันติ จำกัด ในโอกาสที่ LPN ค้นพบสูตรสำเร็จวิธีบริหารชุมชนจากตึกสูงสู่พื้นราบ คอนเซ็ปต์ต่อยอดจากคำว่า ชุมชนน่าอยู่ กลายมาเป็นนิยามใหม่ "บ้านน่าอยู่" ในวันนี้

- คอนเซ็ปต์ "ชุมชนน่าอยู่"

ก่อนหน้านี้เราก็ดูแลอาคารไปตามปกติธรรมดา จนเมื่อ 10 กว่าปีก่อนที่เราเริ่มเห็นว่าการบริหารอาคารชุด คือการดูแลพื้นที่ส่วนกลางที่หมายถึงทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์


ฮาร์ดแวร์ก็คือสิ่งปลูกสร้าง ตัวอาคาร โครงสร้างทั้งหลาย ส่วนซอฟต์แวร์ก็คือผู้คนที่อาศัยอยู่ในโครงการ เป็นสิ่งสำคัญเพราะชีวิตเขาทั้งชีวิตอาศัยอยู่ที่นี่ และบรรยากาศการอยู่อาศัยในคอนโดฯมีการทับซ้อนกันมาก เพราะพื้นที่ส่วนตัวเขาอาจมีแค่ 22 ตร.ม.ในห้องชุด แต่เมื่อก้าวออกจากห้องแล้วเขากลายเป็น "เจ้าของร่วม" กับคนทั้งตึก เราพบว่าปัญหาคือทัศนคติคนอยู่คอนโดฯจะคิดว่าเขาไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ส่วนกลาง แต่จริง ๆ เขาเป็น ดังนั้น จึงมีหน้าที่ต้องร่วมกันดูแล ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการสร้างชุมชนน่าอยู่

- การทำชุมชนน่าอยู่แนวราบ

แน่นอนครับ เมื่อเราทำแนวราบก็ต้องไปในทิศทางเดียวกับแนวสูง คือราคาและคุณภาพเหมาะสม เป็นกลยุทธ์เดียวกับที่องค์กรมีมาตลอด รวมถึงการบริการด้วย ทาวน์เฮาส์อาจมีบรรยากาศซ้อนทับกันที่น้อยกว่าคอนโดฯ แต่ก็ยังมี ดังนั้น เราจึงจำลองคอนเซ็ปต์ชุมชนน่าอยู่มาจากคอนโดฯ แต่เปลี่ยนแบรนด์ใหม่เป็น "บ้านลุมพินี บ้านน่าอยู่"

คีย์เวิร์ดการทำงาน คือ 1.บ้านดี คือทำคุณภาพบ้านให้ดี มีดีไซน์เหมาะสม 2.สิ่งแวดล้อมดี มีความปลอดภัยและมีสิ่งอำนวยความสะดวก 3.ดูแลดี ตามมาตรฐานการดูแลแบบลุมพินี 4. ผู้คนดี คือ ทุก ๆ ชาวลุมพินีที่อยู่ร่วมกันในแนวทาง "ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน" สิ่งนี้ค่อนข้างนามธรรมและเป็นส่วนที่ทำได้ยาก คือนอกจากเป็นนิติบุคคลดูแลงานประจำวันตามปกติแล้ว ยังบวกกับการสร้างบรรยากาศให้เกิดความน่าอยู่ของชุมชนด้วย

ความน่าอยู่นี้จะเกิดขึ้นเมื่อชุมชนรู้จักกัน LPN พยายามอย่างมากให้คนในชุมชนดูแลกันเองและดูแลพื้นที่ส่วนกลางซึ่งจะเกิดขึ้นได้เมื่อทำกิจกรรมร่วมกันเราจึงจัดงานต่าง ๆ เช่น ทำบุญ ประดิษฐ์ของดีไอวาย ฉายหนังกลางแปลง คือย้อนกลับไปทำเหมือนสมัยที่เราทำข้าวหม้อแกงหม้อ มาร่วมงานกัน โดยเวลาจัดกิจกรรมจะนัดกันให้แต่ละบ้านนำกับข้าวมาคนละ 1 อย่าง ลูกบ้านแฮปปี้มาก เป็นไปตามคอนเซ็ปต์ของเรา คือให้ชุมชน ร่วมใจ ห่วงใย แบ่งปัน

หลังจากนั้น เราก็จัดกลุ่มไลน์ขึ้นมาเพิ่มเพื่อนทุกคนในหมู่บ้าน และมีเจ้าหน้าที่นิติบุคคลด้วย เป็นหมู่บ้านเสมือน (Virtual Village) เพื่อให้สื่อสารกันง่าย ใครมีปัญหาหรือต้องการความร่วมมืออะไรก็แจ้งได้ในไลน์ เป็นการใช้เทคโนโลยีช่วยบริหาร

- จุดโฟกัสของบ้านน่าอยู่

เรานำโมเดลการบริหารชุมชนในคอนโดฯมาใช้ทั้งหมด แต่แน่นอนว่าย่อมมีความแตกต่างระหว่างคอนโดฯกับหมู่บ้าน มีสิ่งที่ยากที่สุดคือ บ้านลุมพินีมีกฎขอความร่วมมือกรุณาไม่จอดรถบนถนน ต้องจอดภายในตัวบ้านเท่านั้น ทาวน์เฮาส์เราหน้ากว้าง 5 เมตร จอดรถได้ 2 คัน ถ้ามีรถแขกที่มาเยี่ยมเราจัดพื้นที่จอดไว้ให้เฉพาะ เป็นกฎที่แจ้งลูกค้าตั้งแต่แรกก่อนจะทำสัญญาซื้อขายบ้าน ยอมรับว่ากฎข้อนี้ทำให้เสียลูกค้าไป 20-30% แต่จำเป็นต้องทำเพื่อให้คนอยู่ด้วยกันในระยะยาวมีความสุข

วันนี้คิดว่าส่วนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสร้างระเบียบนี้เพราะฐานลูกค้าบริษัท 30% เป็นคนที่ย้ายมาจากคอนโดฯLPN ที่มีระเบียบคล้าย ๆ กันอยู่แล้ว หลังบริหารมา 3 ปีก็ได้รับผลตอบรับดี คนฝ่าฝืนมีบ้างแต่เป็นส่วนน้อย และถ้าใครนำบ้านหรือทาวน์เฮาส์มาปล่อยเช่าทำการค้า เช่น ทำบริษัท สำนักงาน แน่นอนว่าเราห้ามไม่ได้ แต่ LPN ก็ต้องดูแลให้มีการรักษาระเบียบแบบเดียวกันทั้งคนปล่อยเช่าและคนเช่า

- ปัญหาสัตว์เลี้ยงดูแลยังไง

ลูกบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ในกรณีที่สัตว์เลี้ยงไปทำความเดือดร้อนรำคาญให้กับเพื่อนบ้าน วิธีการไม่ยากครับ อย่าไปทะเลาะกันเอง ให้แจ้งนิติบุคคลหมู่บ้านเป็นคนออกหน้าจัดการให้ ไม่เช่นนั้นจะมีฝ่ายจัดการไว้ทำไม สิ่งเหล่านี้เป็นรายละเอียดในการอยู่อาศัยร่วมกัน

- ปีนี้จะพัฒนาบริการอย่างไร

บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป จะสร้าง "ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย" เพราะพบว่าเดี๋ยวนี้คนอยู่คอนโดฯ LPN ไม่ได้มีแค่คนหนุ่มสาวแล้ว คนที่มาอยู่เยอะมากขึ้นกลายเป็นผู้สูงอายุ และมีกลุ่มแม่กับลูกเล็กอีกมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น โครงการเราจะสร้างแบบยูนิเวอร์แซลดีไซน์ สำหรับคนทุกเพศทุกวัยอยู่ร่วมกัน และไม่เฉพาะโครงการใหม่ โครงการเก่าถ้าเรากลับไปแก้ไขส่วนไหนได้ก็จะทำ เช่น เปลี่ยนบันไดเป็นทางลาด

ทั้งนี้ เมื่อ 4 ปีก่อนเรามีพอร์ตลูกค้าจากการบอกต่อ 30% ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น 50% แล้ว แสดงว่ากลุ่มลูกค้าเราตัดสินใจจากการอ่านรีวิวตามอินเทอร์เน็ต ซึ่งบริษัททุกแห่งมีปัญหาแต่ลูกค้าน่าจะเห็นว่า LPN มีการติดตามดูแล ปัญหามีตอนจบ ประสบการณ์ตรงของลูกค้าบอกต่อกันได้ง่ายแล้ววันนี้ เขาคุยกันเองได้และไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เขาคือคนที่โน้มน้าวให้คนอื่นมาอยู่กับของเรา

LPN เห็นกระแสนี้ตั้งแต่ 5 ปีก่อนว่าตลาดจะสะท้อนให้ผู้ประกอบการเห็นความจำเป็นของการดูแลหลังการขาย และเห็นได้ชัดเจนขึ้นทุกวัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-01-2559 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.