| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 99 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-12-2558    อ่าน 1246
 คอนโดประชารัฐประเดิมวัดไผ่ตัน ดึงเอกชนลุยต่อบางขุนนนท์-ชะอำ

ธนารักษ์นำทีมเอกชนดูทำเลสร้างบ้านประชารัฐ ปูพรม 5 แห่ง "วัดไผ่ตัน-บางขุนนนท์-เชียงใหม่-เชียงราย-ชะอำ" นำร่องคอนโดฯถูกซอยวัดไผ่ตัน 5-6 แสนบาท "LPN-ธนาพัฒน์" ยังแบ่งรับแบ่งสู้

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่าเมื่อวันที่ 11 ธ.ค. 2558 กรมธนารักษ์ได้พาทีมข้าราชการและผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 2 รายคือ บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ และ บมจ.ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ในฐานะผู้แทนสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทยและสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ลงพื้นที่สำรวจที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ปท.5050 ขนาด 3 ไร่ ริม ถ.พหลโยธิน ติดคลองบางซื่อ ห่างสถานีบีทีเอสสะพานควาย 100 เมตร (ซอยวัดไผ่ตัน) เพื่อนำร่องพัฒนาโครงการบ้านประชารัฐ สำหรับผู้มีรายได้น้อย ราคา 5-6 แสนบาท/ยูนิต ตามนโยบายรัฐบาล

จากการสำรวจพบว่า ที่ดินอยู่ในทำเลดีเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ เนื่องจากอยู่ใกล้รถไฟฟ้าบีทีเอสสถานีสะพานควาย แต่มีปัญหาทางเข้าออกคับแคบ รถยนต์ส่วนบุคคลเข้าออกลำบาก แม้ที่ดินจะมีหน้ากว้างติดถนนใหญ่ 14 เมตร แต่อยู่ติดเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ทางเข้าออกโครงการจะต้องอยู่ห่างจากเชิงสะพานอย่างน้อย 50 เมตร จึงนำข้อมูลดังกล่าวไปหารือหาข้อสรุปกันต่อไป โดยอาจต้องจัดซื้อที่ดินเอกชนข้างเคียงที่เป็นตึกแถวและที่ดินขนาด 1 ไร่ด้านหน้า ติด ถ.พหลโยธิน หรือบ้านพักอาศัย 3-4 หลัง บริเวณด้านหลัง ซึ่งเชื่อมออก ซ.สุทธิสารวินิจฉัย 3 ตามโครงการจัดรูปที่ดินเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

นำร่องบางขุนนนท์-วัดไผ่ตัน

นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล อธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่า ได้คัดเลือกที่ดินราชพัสดุจากทั่วประเทศ 76 แปลง จำนวน 5,000 ไร่ พัฒนาเป็นโครงการบ้านประชารัฐแบ่งเป็นพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 8 แปลง ต่างจังหวัด 68 แปลง โดยพื้นที่ต่างจังหวัดที่จะเป็นโครงการนำร่องและมีศักยภาพสูงอยู่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่, อ.เมือง จ.เชียงราย และ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯมี 2 แห่งคือ ย่านพหลโยธินในซอยวัดไผ่ตัน มีเนื้อที่ 3 ไร่ เป็นที่ดินเก่าขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ซึ่งกรมขอคืนพื้นที่แล้ว หากเอกชนสนใจก็พัฒนาได้ทันที และมีที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อีก 6 ไร่ หลังสถานีตำรวจนครบาลบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย ก็พัฒนาได้เช่นกัน

แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์กล่าวว่า ที่ดินวัดไผ่ตัน คาดว่าจะเป็นไฮไลต์โครงการบ้านประชารัฐ เพราะเคลียร์พื้นที่เสร็จแล้ว ส่วนแปลงอื่น ๆ ต้องรื้อย้ายชุมชนเก่าออกจากพื้นที่ก่อน

"ส่วนวิธีการได้สิทธินั้น อยู่ระหว่างพิจารณา อาจจะให้ผู้มีรายได้น้อยเช่าซื้อระยะยาวและตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อป้องกันการปล่อยเช่าช่วง"

LPN-ธนาพัฒน์หัวหอก

นายจรัญ เกสร กรรมการ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กล่าวถึงที่ดินนำร่องทำเลสะพานควายว่า กรมธนารักษ์เชิญสำรวจที่ดินเพื่อทดลองออกแบบโครงการเป็นโมเดลนำร่องในการเจรจา เบื้องต้นมองว่า หากที่ดินเปิดทางเข้าออกถนนซอยกว้าง 8 เมตรได้ ก็สามารถพัฒนาเป็นคอนโดมิเนียม 8 ชั้น 2 อาคาร รวม 400-500 ยูนิต พื้นที่ใช้สอยยูนิตละ 22 ตร.ม. แต่ยังไม่สามารถระบุราคาได้

จากการประชุมร่วมกับฝ่ายรัฐบาลที่ผ่านมา จะสามารถสรุปได้ในสิ้นปีนี้ หลังเอกชนยื่นข้อเสนอแล้วทั้งการออกแบบ ก่อสร้าง และสินเชื่อ แต่มีความกังวลใจในประเด็นการดูแลหลังการขายซึ่งยังไม่มีการหารือรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร ทั้งการขายแบบที่ดินฟรีโฮลด์โอนกรรมสิทธิ์ และที่ดินลีสโฮลด์ซึ่งเป็นสิทธิเช่าระยะยาว

นายภาคย์ธนา ปรีดาวิภาต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.ธนาพัฒน์ พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า สนใจพัฒนาโครงการบ้านประชารัฐ มองว่าที่ดินดังกล่าวมีศักยภาพ หากรัฐทำทางเข้าออกได้มาตรฐานและถูกกฎหมาย ขณะนี้ยังประเมินราคาต่อยูนิตไม่ได้ ต้องใช้คำนวณสักพัก

เจรจายังไม่ลงล็อก

นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่า การเจรจาในโครงการบ้านประชารัฐ ล่าสุดยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในหลายประเด็น และเอกชนกังวลในเรื่องดีมานด์ที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยปีละกว่า 2.5 แสนหน่วย จะมีความเป็นไปได้จริงทางการตลาดหรือไม่ รวมถึงราคาขายต่อยูนิต การให้สินเชื่อแก่ผู้เช่าระยะยาว เป็นต้น
เนื่องจากผู้ประกอบการต้องรับความเสี่ยงขาดทุนในการพัฒนาโครงการและการขายเอง จึงต้องพิจารณาให้รอบด้าน หากรัฐให้พัฒนาแบบมิกซ์ยูส จัดพื้นที่เป็นส่วนรีเทลร่วมด้วยได้ จะช่วยลดความเสี่ยง หรือให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ร่วมพัฒนาก็อาจจะจูงใจให้มีผู้ประกอบการสนใจเข้าร่วมมากขึ้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-12-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.