| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 136 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-11-2558    อ่าน 1236
 คาดอีก3ปีที่อยู่อาศัยเขตศก.พิเศษคึกคัก-กนอ.เร่งคลอด ก.ม.จัดตั้ง

ธอส.จับมือกคช.-เอกชน ศึกษารูปแบบโครงการบ้านคนจนในเขตศก.พิเศษ คาดรูปแบบชัดเจนปีหน้า ด้านกนอ.เร่งดันร่างพ.ร.บ.เขตศก.พิเศษเข้าครม. ศูนย์ข้อมูลฯเผยอีก 3 ปีที่อยู่อาศัยเขตศก.พิเศษจะคึกคัก

นายสุรชัย ดนัยตั้งตระกูล ประธานกรรมการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยในงานสัมมนา "อสังหาริมทรัพย์เขตเศรษฐกิจพิเศษ" จัดโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ที่โรงแรมพูลแมน กรุงเทพฯ แกรนด์ สุขุมวิท ว่า ธอส.ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) และกลุ่มสมาคมผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ อยู่ระหว่างศึกษาการพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เฟสแรก 6 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร ตราด สงขลา สระแก้ว และหนองคาย คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปี 2559 ว่ารูปแบบโครงการจะเป็นอย่างไร จะพัฒนาในพื้นที่ใดหรือมีโครงการอะไรบ้าง โดย ธอส.จะเข้าไปให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ ทั้งสินเชื่อโครงการและสินเชื่อรายย่อย

นายสุรชัยกล่าวว่า สำหรับโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยและปานกลางตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลวงเงิน 1 หมื่นล้านบาท มีผู้ที่สนใจเข้ามาขอสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีผู้ยื่นขอสินเชื่อแล้ว 1.6 หมื่นล้านบาท เกินวงเงินที่กำหนดไว้แล้ว ธอส.จึงจะขยายวงเงินเพิ่มอีก 1 หมื่นล้านบาท รวมเป็น 2 หมื่นล้านบาท ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาสินเชื่อ คาดว่าสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้จะอนุมัติสินเชื่อได้ราว 5 พันล้านบาท และจะอนุมัติครบ 1 หมื่นล้านบาทแรกในช่วงต้นปี 2559 ที่เหลือจะทยอยอนุมัติจนถึงระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ

นายสัมมา คีตสิน ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า เขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ระหว่างการพัฒนาสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้ง นิคมอุตสาหกรรม ถนน ประปา ไฟฟ้า เป็นต้น โดยพื้นที่แรกที่มีความพร้อมมากที่สุด คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ซึ่งจะเป็นพื้นที่นำร่องก่อนพัฒนาในเขตต่อๆ ไป การพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ในเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจะเริ่มคึกคักและเติบโตมากขึ้นในช่วง 2-3 ปีต่อจากนี้ โดยขณะนี้ความต้องการที่อยู่อาศัยจะมีเฉพาะคนในท้องถิ่นเท่านั้น โดยในอนาคตหลังเกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษแล้วความต้องการที่อยู่อาศัยของกลุ่มแรงงานจะตามมา โดยจะอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ส่วนผู้บริหารระดับสูง จะอยู่อาศัยในเมืองหรือเขตเทศบาลที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า นอกจากโครงการที่อยู่อาศัยแล้วจะมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ตามมา เช่น ห้างสรรพสินค้า คลังสินค้า อาคารพาณิชย์ และกลุ่มที่จะมีการเติบโตมากคือ กลุ่มโรงแรมราคาประหยัดหรือบัดเจดโฮเทลที่ราคาไม่สูงมากนัก

นายอัฐพล จิรวัฒน์จรรยา ผู้เชี่ยวชาญ ระดับ 12 การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างนำเสนอกระทรวงอุตสาหกรรม และเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา ก่อนให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจาณาและเสนอต่อไปยัง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณาเพื่อประกาศบังคับใช้กฎหมาย คาดว่ากระบวนการจะแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2559 โดยกฎหมายนี้จะมาทดแทนพ.ร.บ.กนอ. รายละเอียดของกฎหมาย อาทิ จะมีหน่วยงานบริหารที่เป็นอิสระคล่องตัว เป็นแบบวันสต็อปเซอร์วิส มีการจัดตั้งผู้ว่าแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้นมาบริหาร มีการกำหนดทุนประเดิมการจัดตั้ง กำหนดเขตพื้นที่ดิน และสิทธิประโยชน์ ซึ่งแต่ละเขตอาจจะได้ไม่เท่ากัน เป็นต้น

นายอัฐพลกล่าวว่า ทั้งนี้ กนอ. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เข้าไปลงทุนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่ง ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จ.ตาก ซึ่งถือเป็นประตูการค้าหลักเชื่อมกับพม่า เน้นอุตสาหกรรมการขนส่งและอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากพม่า หรือการผลิตสินค้าเพื่อขายในพม่าและอินเดีย บังกลาเทศ เป็นต้น เขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา จ.สงขลา และเขตเศรษฐกิจพิเศษอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ด้านเขตเศรษฐกิจพิเศษตราด และมุกดาหาร จะให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนพัฒนานิคมฯ ส่วนหนองคาย กนอ.มีนิคมฯที่ร่วมดำเนินการกับเอกชนอยู่แล้ว

นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ ประธานคณะกรรมการภาษีของสภาหอการค้าไทย และกรรมการสภาหอการค้าไทยกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการเขียนกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเฉพาะ เพราะปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเขตเศรษฐกิจพิเศษหลายกฎหมาย อยู่ภายใต้แต่ละหน่วยราชการ ที่ผ่านมาราชการทำงานไม่ประสานงานกัน ดังนั้นถ้าอยากจะให้เขตเศรษฐกิจพิเศษเกิดขึ้นจริงจะต้องมีการเขียนกฎหมายและ มีคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษเข้ามาบริหารและขับเคลื่อนขึ้นให้ชัดเจน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-11-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.