| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 60 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 18-11-2558    อ่าน 1206
 อสังหาสบช่องหนุนสร้างบ้านคนจน ขอแก้"ผังเมือง"คุมตึกสูงในเมืองพัฒนาเต็มพื้นที่

สภาหอการค้าฯรับบท "เจ้าภาพ" ระดม 9 สมาคมอสังหาฯ ถกนโยบายบ้านคนจน เอกชนสบช่องแก้เกมผังเมืองคุมตึกสูง ส่งหนังสือถึงขุนพลเศรษฐกิจ "สมคิด-อภิศักดิ์" เลียนแบบเครดิตคาร์บอน ขอเปิดทางใช้ FAR ได้สูงสุด 10 : 1 ในพื้นที่ควบคุม "สีลม-สาทร-สุขุมวิทตอนต้น" แลกกับการลงทุนสร้างบ้านขายผู้มีรายได้น้อยสนองรัฐ

แหล่งข่าวจาก สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ที่มีนายอธิป พีชานนท์ เป็นประธาน ได้เชิญประชุม 9 สมาคมอสังหาฯ และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ร่วมหารือเรื่องการลงทุนสร้างบ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือบ้านคนจน ตามนโยบายของรัฐบาล และมีมติทำหนังสือถึง ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ขอให้พิจารณาแก้ไขในเงื่อนไข 3 ข้อ

1.นโยบาย บ้านคนจนจำเป็นต้องมีสินเชื่อรายย่อยหรือโพสต์ไฟแนนซ์มาปล่อยกู้ แต่ยังติดปัญหาที่ดินรัฐที่จะนำมาพัฒนาโครงการไม่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ ค้ำประกันเงินกู้ได้ จึงต้องแก้กฎหมายในเรื่องนี้ก่อน

2.การเช่า ที่ดินของรัฐในรูปแบบการเซ้ง 30 ปี ไม่จูงใจทั้งผู้ซื้อและผู้ลงทุน เสนอให้อายุการเช่ายืดเป็น 60 ปี เพื่อให้ระยะเวลาการถือครองใกล้เคียงกับการถือกรรมสิทธิ์ แต่เท่าที่ทราบกฎหมายในปัจจุบันยังให้เช่าที่ดินรัฐได้เพียง 30 ปี

3.ที่ดิน รัฐที่จะนำมาพัฒนาต้องมีทำเลไม่ไกลเกินไป และราคาต้องไม่เกินไร่ละ 4-5 ล้านบาท จึงจะมีศักยภาพพัฒนาโครงการ และขายได้ยูนิตละไม่เกิน 6 แสนบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เชิญภาคเอกชนประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าการเข้าร่วมทุนนโยบายบ้านคนจน ปรากฏว่า มีข้อเสนอใหม่ 3 เรื่อง อาทิ การสร้างชุมชนเมืองแห่งใหม่บนทำเลใหม่ และการปรับปรุงผังเมืองเพื่อการพัฒนาประเทศ

รศ.ดร.ธนภณ พันธเสน อดีตรองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาโครงการสมาร์ท กรีน ซิตี้ ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้เสนอแนวคิดการสร้างชุมชนเมืองแห่งใหม่หรือ Smart Growth City โดยชักชวนให้ภาคเอกชนมาร่วมลงทุนสร้างชุมชนใหญ่ที่มีการวางแผนพัฒนาอย่าง รัดกุม ให้เป็นทั้งแหล่งจ้างงาน สถานศึกษา สถานบันเทิง และที่อยู่อาศัยชั้นดี เพราะราคาที่ดินทำเลใหม่ยังไม่แพงมากนัก ซึ่งเป็นโมเดลการพัฒนาเมืองเหมือนสหรัฐอเมริกาที่ทำสำเร็จมาแล้ว

"โมเดล ของสมาร์ท โกรท ซิตี้มีเกณฑ์อยู่ 10 ข้อ สามารถนำมาปรับใช้กับนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อยได้ทั้งหมด อาทิ ทำโครงการแบบผสมผสาน มีที่อยู่อาศัยหลายราคา เพื่อตอบโจทย์ผู้อยู่ทุกกลุ่มเป้าหมาย การใช้พื้นที่อย่างประหยัดเพื่อให้ราคาถูก จึงต้องเป็นตึกสูง มีทำเลที่ดี ระบบขนส่งมวลชนเข้าถึง"

รศ.ดร.ธนภณกล่าวว่า ส่วนการปรับปรุงผังเมืองเพื่อการพัฒนาประเทศ เป็นข้อเสนอจากผู้ประกอบการ หากรัฐเห็นชอบจะเป็นตัวช่วยทำให้นโยบายบ้านคนจนเกิดเร็วขึ้น เพราะเอกชนพร้อมจะลงทุนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาการใช้ที่ดินของรัฐแต่อย่างใด

รูป แบบคือ ปรับปรุงผังเมืองเกี่ยวกับ FAR (Floor Area Ratio) ซึ่งเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการคำนวณพื้นที่ก่อสร้างต่อขนาดที่ดิน โดย FAR สูงสุดคือ 10 : 1 คำนวณจากที่ดิน 1 ไร่ มี 1,600 ตร.ม. ถ้าพัฒนาได้ 10 : 1 หมายถึงสามารถพัฒนาพื้นที่ก่อสร้างได้ 16,000 ตร.ม.ต่อ 1 ไร่ หรือสร้างได้ 10 เท่า

ประเด็นเกิดจากปัจจุบันผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครมีความเข้ม งวดในการกำหนด FAR โดยเฉพาะทำเลในเมือง สีลม สาทร สุขุมวิท (ไม่เกินซอย 10) หรือไพรมแอเรียอื่น ๆ ถูกควบคุม FAR เหลือเพียง 7 : 1 โดยที่ดิน 1 ไร่พัฒนาได้ 11,200 ตร.ม. หรือ 7 เท่า จึงมีข้อเสนอเลียนแบบแนวคิดการให้เครดิตคาร์บอนที่ให้เอกชนลงทุนปลูกป่า

"ที่ดีเวลอปเปอร์เสนอกรณีแลนด์แบงก์ทำเลทองถูกควบคุมให้สร้างตึกได้แค่ 7 : 1 ซึ่งยังไม่เต็มศักยภาพก็ขอให้ทำสัญญาพิเศษกับรัฐบาล โดยผ่อนปรนกฎหมายผังเมืองเปิดทางให้สร้างได้ 10 : 1"

ตามแนวทางนี้จะ เห็นว่า มีส่วนต่างอยู่ 3 เท่า ก็ให้นำมาคำนวณเป็นพื้นที่ก่อสร้างกี่ตารางเมตร จากนั้นผู้ประกอบการต้องทำสัญญากับรัฐว่า จะลงทุนพัฒนาโครงการบ้านผู้มีรายได้น้อยตามจำนวนที่ได้รับโบนัส FAR
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 18-11-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.