| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 114 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 05-11-2558    อ่าน 1297
 เช็กความพร้อมอสังหาฯร่วมทุน"บ้านคนจน" สำรวจพรีแฟบ6ราย5ล้านตร.ม.-บิ๊กแบรนด์ยังไม่โอเครอดูท่าทีรัฐ

เช็กความพร้อมกำลังผลิตบ้านคนจนฉบับร่วมทุนรัฐ-เอกชน สำรวจ 6 บริษัทอสังหาฯ มีโรงงานพรีแฟบในมือกำลังผลิตรวมกว่า 4.88 ล้าน ตร.ม./ปี "เพอร์เฟค" แบะท่าเล็งหาทางลดต้นทุนพัฒนา 1,000-2,000 ยูนิต "พฤกษา-คิวเฮ้าส์-แสนสิริ" ยังแบ่งรับแบ่งสู้ "LPN" คิดหนักสร้าง 1,000 หน่วยติดปัญหาอีกมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในวันที่ 16 พ.ย.นี้ จะครบกำหนด 30 วันในการติดตามนโยบายบ้านผู้มีรายได้น้อยของรัฐบาล แนวคิดจะต้องมีราคาไม่เกิน 6 แสนบาท/ยูนิต เพื่อให้ผู้ซื้อมีภาระผ่อน 3,000-4,000 บาท/เดือน รองรับครัวเรือนที่มีรายได้ 15,000 บาท ตามแผนรัฐบาลต้องการลงทุนก่อสร้าง 2.7 ล้านยูนิต ภายใน 10 ปี(2559-2568) เฉลี่ยปีละ 2.7 แสนยูนิต



สำรวจพรีแฟบ 5 ล้าน ตร.ม.

แนวทางคือรัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชนในรูปแบบโซเชียล เอ็นเตอร์ไพรส์ โดยรัฐเป็นผู้จัดหาที่ดินและสิทธิประโยชน์ อาทิ ด้านภาษีและบีโอไอ (ส่งเสริมการลงทุน) ส่วนเอกชนรับผิดชอบด้านการก่อสร้างและการขาย

จากการสำรวจบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีโรงงานพรีแฟบในเครือซึ่งเป็นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปทำให้การก่อสร้างที่อยู่อาศัยรวดเร็วกว่าการก่ออิฐฉาบปูนและผลิตได้จำนวนมาก ตรงตามความต้องการพัฒนาบ้านคนจนของรัฐบาล พบว่า 6 ราย กำลังผลิตรวมกัน 4.88 ล้าน ตร.ม./ปี

เพอร์เฟคสนลงทุน

นายชายนิด อรรถญาณสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มีความสนใจร่วมทุนกับรัฐบาลพัฒนาโครงการปีละ 1,000-2,000 หน่วย แต่ต้องหาทางลดต้นทุนมากกว่าปกติ ที่ผ่านมาบริษัททำราคาต่ำสุดคือคอนโดมิเนียมแบรนด์ไอคอนโด กับหอพักราคาเริ่มต้น 1 ล้านบาท ตกปีละ 2,000 ยูนิตอยู่แล้ว หากจะทำราคาให้ได้ตามรัฐต้องการ ต้องลดต้นทุนมากกว่า 50%

"เรากำลังหาแนวทางอยู่ สาเหตุที่สนใจร่วมเพราะคิดว่าควรจะช่วยคนรายได้น้อยให้ได้มีบ้าน ซึ่งเพอร์เฟคมีกำลังผลิตเหลือที่จะทำได้ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มคนหรือไลน์ผลิต แต่ต้องลดต้นทุน"

ทั้งนี้ การควบคุมต้นทุนมาจาก 1.ที่ดิน สัดส่วน 10% (รัฐจะจัดหาให้) 2.กำไรกว่า 20% ที่จะต้องลดลงหรือไม่มีเลย เนื่องจากเป็นโครงการซีเอสอาร์ 3.รับเหมาก่อสร้าง 10% โดยใช้บริษัทลูกคือ บริษัท ยูแอนด์ไอ คอนสตรัคชั่น กรุงเทพ จำกัด 4.ออกแบบที่พักอาศัยให้มีรูปแบบพื้นฐานมากขึ้น เน้นประโยชน์ใช้สอย

"ทั้งหมดนี้คาดว่าจะลดต้นทุนได้ 40-50% จะศึกษาความเป็นไปได้ให้จบภายใน พ.ย. 58 ส่วนโปรดักต์ควรเป็นอาคารชุดเพราะควบคุมต้นทุนได้ถูกที่สุด ไซซ์ห้องที่เป็นไปได้คือ 24-25 ตร.ม. เพราะถ้าไซซ์ 30 ตร.ม. ราคาอาจจะเกินยูนิตละ 6 แสนบาท" นายชายนิดกล่าว

พฤกษา-แสนสิริรอเงื่อนไข

นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รองประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท กล่าวว่าปัญหาหลักที่พฤกษายังต้องการรายละเอียดคือที่ดินที่รัฐจะจัดหาให้ หากร่วมลงทุนบริษัทต้องแตกแบรนด์ใหม่สำหรับบ้านเซ็กเมนต์นี้โดยเฉพาะ ที่ดินจะต้องมีศักยภาพ การคมนาคมเข้าถึง โดยพฤกษามีโรงงานระบบก่อสร้างสำเร็จรูปหรือพรีแฟบ 7 โรง กำลังผลิตรวม 1,120 ยูนิต/เดือน ปัจจุบันยังใช้ไม่เต็มกำลังผลิต

"พฤกษามีความสนใจเพราะถือเป็นโครงการที่ดี แต่ยังพูดไม่ได้ว่าสนใจเต็มร้อยต้องดูรายละเอียดว่าโครงการมีการคิดรอบด้านหรือยัง เช่น ผู้ซื้อเป็นผู้มีรายได้น้อย รัฐจะสนับสนุนผ่านธนาคารอย่างไรให้กู้ผ่าน เพราะเป็นห่วงว่าปัญหาหนี้สินต่อครัวเรือนปัจจุบันสูงถึง 81% การกู้น่าจะทำได้ยาก" นายเลอศักดิ์กล่าว

นายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ กล่าวว่า ราคาบ้านที่รัฐให้โจทย์มา 5-6 แสนบาท อาจดำเนินการได้ยากสำหรับแสนสิริที่เป็นผู้พัฒนาโครงการระดับกลางบน แต่หากร่วมมือกับรายอื่นหลาย ๆ บริษัทก็สนใจและยินดีเข้าร่วมด้วย

ขณะที่นายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ของแสนสิริ กล่าวว่า บริษัทไม่สามารถลดต้นทุนลงเหลือ 5-6 แสนบาท/ยูนิตได้ เพราะเป็นการลดถึง 50% ของราคาห้องชุดต่ำสุดของแสนสิริ ซึ่งมีราคาขายไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท

QH กังขาแนวทางดูแลชุมชน

แหล่งข่าวจาก บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ กล่าวว่า ต้องรอดูนโยบายรัฐให้ชัดเจนกว่านี้ จุดอ่อนมี 2 เรื่อง 1.ทำเลต้องมีศักยภาพ 2.รัฐจัดหาที่ดินให้แล้วต้องเตรียมวงเงินกู้ผ่านธนาคารของรัฐ (ธ.ออมสิน กรุงไทย อาคารสงเคราะห์) สำหรับปล่อยกู้ด้วย จึงจะดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุน

แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า การก่อสร้างจำนวนมากภาคเอกชนสามารถทำได้ แต่สร้างไปแล้วมีคนซื้อจริงหรือไม่ ข้อแนะนำคือควรจะอิงข้อมูลการสร้างบ้านผู้มีรายได้น้อยของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) เช่น ถ้าหากก่อสร้างปีละ 5 หมื่นยูนิต นโยบายบ้านคนจนของรัฐบาลครั้งนี้ก็อาจจะบวกเพิ่ม 10-20% เป็นปีละ 6 หมื่นยูนิต เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ ดร.สมคิดจาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจย้ำว่า นโยบายบ้านคนจนจะต้องมีการดูแลไม่ให้เป็นแหล่งเสื่อมโทรมด้วย ซึ่งหมายถึงซื้อบ้านไปแล้วจะต้องมีภาระจ่ายค่าส่วนกลางรายเดือนเพื่อนำไปดูแลให้โครงการสวยงามน่าอยู่ เช่น กรณีคอนโดฯ ถ้าหากต้องการให้มีนิติบุคคลตั้งขึ้นมาบริหารให้มีประสิทธิภาพค่าใช้จ่ายจะตก ตร.ม.ละ 35 บาท สมมุติไซซ์ห้องเริ่มต้น 22 ตร.ม. ค่าส่วนกลางตกเดือนละ 700-800 บาท ผู้ซื้อรับได้หรือไม่ เพราะค่าผ่อนเดือนละ 4 พันบาท ค่าส่วนกลาง700-800 บาท สัดส่วนเกือบ 20-25% ของค่าผ่อน ถ้ารับไม่ไหวสุดท้ายรัฐบาลก็ต้องลงมาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ด้วย

LPN หืดจับพัฒนา 1,000 ยูนิต

สอดคล้องกับนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ เปิดเผยว่า โครงการนี้มีประโยชน์ต่อสังคมแต่อาจจะไม่ง่ายในทางปฏิบัติ เพราะบริษัทยังต้องทำกำไร และผู้ถือหุ้นต้องการผลตอบแทนการลงทุน ต้องรอดูความชัดเจนเพิ่มเติมจากรัฐบาล ถึงแม้ดีมานด์ลูกค้าผู้มีรายได้น้อยมีจำนวนมากก็จริง แต่รัฐบาลชักชวนเอกชนร่วมทุนยังมีปัญหา ตั้งแต่ที่ดินต้องเป็นทำเลที่ดี เครดิตการกู้ซื้อบ้าน ที่สำคัญยังมีเรื่องการดูแลชุมชนหลังโอนกรรมสิทธิ์ไปแล้วจะเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด เนื่องจากหากใช้โมเดลเอกชนร่วมทุนกับรัฐ ทำให้ไม่มีเจ้าภาพบริหารงานบริการหลังการขาย

นอกจากนี้ เพดานราคา 5-6 แสนบาทต้องพัฒนาเป็นห้องชุด 21-22 ตร.ม.เท่านั้นจึงจะเป็นไปได้ ในขณะที่รัฐบาลต้องการให้พัฒนา 30 ตร.ม. ในแง่ต้นทุนไม่สามารถทำได้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 05-11-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.