| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 96 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-10-2558    อ่าน 1292
 ศก.แผ่วทุบนักเก็งกำไรเหลือ 20% แนะอสังหาฯปรับตัวเจาะลูกค้าเรียลดีมานด์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทร้พย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) หรือ REIC จัดสัมมนาทิศทางตลาดอสังหาฯ ปี 2559 ณ โรงแรมพูลแมน อโศก เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2558 โดยภาคบ่ายมีการเสวนาหัวข้อ "การบริหารความเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวทางการตลาดของผู้ประกอบการ"​

นายอธิป พีชานนท์ กรรมการ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และนายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร กล่าวว่า ตลาดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ยอดขายไม่ค่อยตกในช่วงไตรมาส 1/58 และ 2/58 จากนั้นเริ่มเห็นสัญญาณไม่ค่อยดีในช่วงไตรมาส 3/58 ทาง 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ได้เข้าพบกระทรวงการคลัง โดยอธิบายว่า ผู้ประกอบการไม่ได้มีปัญหาอะไร สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้พรีไฟแนนซ์โครงการก็ปกติ แต่ส่วนที่มีปัญหาคือผู้บริโภค

"ปีนี้ แม้เราเติบโตไม่มากแต่ก็ยังพออยู่ได้ รวมทั้งมี REIC คอยให้คำปรึกษาด้านดาต้าเบสที่มีผลต่อการตัดสินใจเปิดตัวโครงการใหม่ รวมทั้งแบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) ก็คอยมอนิเตอร์การปล่อยกู้ให้กับโครงการหรือพรีไฟแนนซ์ ทำให้ฟากผู้ประกอบการยังมีความปกติ"

ในด้านกลุ่มผู้บริโภคประสบภาวะความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม แต่แนวโน้มก็ดีขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายปีนี้ ขณะเดียวกัน ปัญหายอดปฏิเสธสินเชื่อหรือรีเจ็กต์เรตมีอัตราสูงขึ้น ทางรัฐบาลได้จัดทำมาตรการกระตุ้นผ่าน ธอส. มีวงเงิน 10,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ซื้ออสังหาฯ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยผ่อนปรนเงื่อนไขการพิจารณาสินเชื่อ

ตัวแปรอีกด้านคืออุปทานส่วนเกินในตลาดหรือโอเวอร์ซัพพลาย ยอมรับว่ามีอยู่จริง เช่น ตลาดคอนโดมิเนียมในภูเก็ต คาดว่าต้องใช้เวลาดูดซับอย่างน้อย 2 ปี ฉะนั้น ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน

เช่นเดียวกับเมืองพัทยา มีปัญหาโอเวอร์ซัพพลายชัดเจน ความรุนแรงของปัญหาอาจเทียบเท่าหรือมากกว่าภูเก็ต หรือต้องใช้เวลาดูดซับ 2 ปี

แนวทางแก้ไขในภาวะตลาดอสังหาฯ ชะลอตัว 1. กำลังซื้อชะลอตัว ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวโดยเน้นนวัตกรรม และทำสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการซื้อให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าซื้อเก็งกำไรเริ่มน้อยลง เหลือประมาณ 20% นั่นหมายความว่าจะต้องหันไปทำบ้านขายให้กับผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเองมากขึ้น

2.ปัญหาความไม่มั่นใจ จะต้องแก้ด้วยการจัดแคมเปญโปรโมชัน เพื่อกระตุ้นอารมณ์ให้คนมีความรู้สึกอยากซื้อบ้าน-คอนโดฯ ยกตัวอย่างมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ของรัฐบาล เป็นตัวจุดประกายให้แล้ว โครงการต่าง ๆ ควรจะต้องจัดโปรโมชันประกอบเข้ามาเป็นออปชันเสริม

3.สินเชื่อซื้อบ้านยากขึ้น ยกตัวอย่าง เครือศุภาลัยมียอดปฏิเสธสินเชื่อไม่เกิน 10% วิธีการคือ ทำกระบวนการพรีแอพพรู๊ฟ , เมื่อรู้ว่าลูกค้าเริ่มมีปัญหา ดังนั้น ไม่ต้องรอให้ปัญหาเกิด เพราะถ้าได้รับการผ่านอนุมัติสินเชื่อแล้วแต่ถ้ามีงวดดาวน์นานเกินไปจะเริ่มมีปัยหา เช่น การจ่ายดาวน์ไม่สม่ำเสมอ หรือมีการโพสต์ขายห้องต่อหรือรีเซล

วิธีการคือ ปรับโปรดักต์ให้เหมาะสมกับความสามารถซื้อของลุกค้า, เจรจาว่าถ้าสินค้าที่ลูกค้าจองซื้อ ผู้ประกอบการที่ดีไม่ควรหวังจะริบเงินจองลูกค้า แต่ควรหาทางออก เช่น เปลี่ยนทำเล เปลี่ยนโปรดักตื เปลี่ยนโครงการ ลดราคาลงดีไหม​ ?

4.ปัญหาโอเวอร์ซัพพลาย เรื่องนี้พบได้ทั่วไป เช่น ในภูเก็ต ลงทุนอยู่ดีๆ มีคู่แข่งเข้ามาเติมซัพพลายทีละ 10-20 โครงการ โดยไม่ได้พิจารณาดีมานด์-ซัพพลายในพื้นที่ว่ารองรับได้มากน้อยแค่ไหน

แนวทางแก้ไขคือ ถ้าสินค้าเหมือนกัน จะต้องปล่อยไปตามธรรมชาติ สิ่งที่ปรับตัวได้คือสร้างความแตกต่าง โดยผมเพิ่งไปเซี่ยงไฮ้ พบว่า สินค้าหันมาจับราคาตารางเมตรละ 1 ล้านบาท บางยูนิตขาย 100 ล้านบาทขึ้นไป คลับเฮาส์ก็ทำเกินความจำเป็น มีทั้งห้องซ้อมดนตรี เอาใจลูกคนรวย แม้กระทั่งทำคิ้วใหม่ ตอนแรกคิดว่าสปา แต่กลายเป็นร้านขีดคิ้วใหม่ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในประเทศจีน เป็นตัวอย่างของการปรับตัวเพื่อจับตลาดนิชมาร์เก็ต

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการคือ ถ้าเลือกได้ควรจะเปลี่ยนโลเคชัน โดยโครงการก่อสร้างไปแล้วแก้ไขไม่ได้ แต่สำหรับโครงการใหม่จำเป็นจะต้องหาโลเคชันที่สร้างความแปลกใหม่ เช่น ใกล้สถานีรถไฟฟ้า แต่ทั้งนี้ไมไ่ด้หมายความว่าทุกคนจะต้องกระเสือกกระสนไปแข่งขันกันซื้อที่ดินแพง ๆ

สรุป ถ้าอยากอยู่รอดในภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง จะต้องเลือก more selective และมีนวัตกรรมสูง Innovative ภายใต้เงื่อนไขกระเป๋าเงินของลุกค้ามีจำกัดเท่าเดิม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-10-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.