| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 79 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-10-2558    อ่าน 1270
 รองผอ.โยธา กทม. ปลุกม็อบผู้ประกอบการเอกชน ร่วมลงแรงแก้กม.ผังเมือง-ควบคุมอาคาร รับมือแนวโน้มอสังหาปี5

นายพินิต เลิศอุดมธนา รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวบรรยายหัวข้อ "ปัจจัยเศรษฐกิจและการลงทุนภาครัฐ ที่มีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์" ว่า แต่ละปี กทม.มีงบประมาณลงทุน 7-8 พันล้านบาท จะเห็นว่ามีจำกัด จึงต้องบริหารจัดการด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะด้านการจราจร จุดเน้นคือบริการขนส่งมวลชน ที่ต้องพึ่งพาการลงทุนจากรัฐบาล โดยเฉพาะขนส่งรางเบา

สิ่งแรกที่ต้องช่วยกันมองคือ ภาคอสังหาฯ​เดินมาถูกทางหรือเปล่ากับการจะไปพัฒนาเมือง กฏหมายแรกที่ต้องตามไปดูคือ กฎหมายผังเมือง เช่น ถนนเมน เข้าสู่ถนนซอย เริ่มใช้การไมไ่ด้แล้ว ทำให้พื้นที่ส่วนนี้เหมือนกับสูญเสียไปเลย นั่นคือระบบราชการถ้าไปเดินกันเองทำได้ดีหรือเปล่า คิดว่าต้องพึ่งผู้ประกอบการมาช่วยกันคิด พิจารณา และนำเสนอภาครัฐเพื่อนำไปสู่การแก้ไข

ตัวอย่าง FAR ปัจจุบันสูงสุดคืออัตรา 10 ต่อ 1 ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าเป็นตัวเลขเหมาะสมหรือไม่ ถ้าหากขยับให้มากกว่านี้จะทำให้การบริโภคอสังหาฯ จะกระเตื้องขึ้นได้, ข้อกำหนดเรื่องความกว้างถนนยังจำเป็นหรือไม่ เพราะนิยามความกว้างถนนทำให้ไปชนกับถนนอีกเส้น เช่น ถนนสายหนึ่ง ยาว 10 กม. มีทางตัน ก็จะใช้การไม่ได้ เป็นต้น มองว่าผู้ประกอบการอาจจะมองข้ามไป เพราะต้องแข่งขันกันซื้อที่ดินเพื่อนำมาพัฒนาโครงการ

"ตอนนี้ผังเมืองใหม่ ตอนนี้เข้าใจว่าจะไม่มีอายุแล้ว จากเดิมมีอายุครั้งละ 5 ปี ต่อได้สองครั้ง ดังนั้น อยากกระตุ้นให้ภาคเอกชนได้แสดงข้อคิดเห็นต่อภาครัฐให้มากขึ้น"

กฎหมายต่อมาคือ "กฎหมายควบคุมอาคาร" ทาง กทม.​ มีแนวคิดว่าจะปรับข้อบังคับทั้งฉบับ แต่ก็ต้องหาข้อมูลสนับสนุนจากภาคเอกชนในการแก้ไข เช่น FAR ซึ่งผังเมืองควบคุมการใช้สอยอาคาร แต่กฎหมายทุกตัวก็ยังมีการควบคุมระยะร่นจากตัวอาคารกับรั้ว ทัง้ที่ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงได้แล้ว เพราะทำให้ค่าที่ดินสูงกว่าค่าก่อสร้าง แต่การปรัปปรุงกฎหมายทำได้ช้าเพราะยังไม่มีแรงหนุนจากเอกชน

เรื่อง "ระยะห่างข้างเคียง" เพราะทุกวันนี้ยังมีข้อร้องเรียนจากแปลงข้างเคียงว่าทำไมไม่กำหนดพื้นที่โล่งให้มากขึ้น โดยไปเพิ่มความสูงและระบบความปลอดภัยแทน

สำหรับแนวคิดในการปรับปรุงกฎหมายควบคุมอาคารทั้งฉบับนั้น เนื่องจากข้อบังคับมีการนำมาจากกฎหมายฉบับเดิม ๆ แต่เวลามีปัญหาขึ้นมาจึงจะมีการออกกฎหมายลูกออกมาบังคับใช้เฉพาะกิจ เช่น กรณีซานติก้าผับไฟไหม้ เครื่องเด็กเล่นชำรุดทำให้มีเด็กเสียชีวิต ฯลฯ ทำให้เรามีกฎหมายบังคับใช้จำนวนมากเกินไป

"ในการแก้ไขกฎหมาย ถ้าต้องการทำให้ภาพรวมจำเป็นต้องแก้ไขที่ตัวพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายแม่ ขั้นตอนจำเป็นต้องมีข้อมูลจากผู้ประกาอบการหรือภาคเอกชนมาเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย เพราะการปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวมีผลไปลดทอนอำนาจที่มีอยู่เดิมของส่วนราชการด้วย"

มีคำถามเรื่องกฎหมายการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ อีไอเอ นายพินิตกล่าวว่า หน่วยงานของกทม.คือสำนักสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างสรรหาผู้ชำนาญการหรือ คชก. ซึ่ง กทม.ดูแลเรื่องใบอนุญาต โดยใช้ช่องทางมาตรา 39 ทวิ ทำให้สามารถเดินหน้าการก่อสร้างไปก่อนได้

อย่างไรก็ตาม ข้อกังวลจะอยู่ที่กฎหมายสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ล่าสุด ทราบว่ามีการกระจายอำนาจการพิจารณาในระดับจังหวัด โครงการนำร่องเริ่มใช้ใน 7 จังหวัดก่อน ถือเป็นนโยบายที่ดีแต่ยังไม่ทราบผลดำเนินการว่าทำให้การขออนุมัติรายงานอีไอเอผ่อนปรนมากขึ้นจริงหรือไม่
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-10-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.