| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 31 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 22-10-2558    อ่าน 1268
 ดึงเงินภาษีบาปอุ้มบ้านคนจน ลงขันเอกชน6.8แสนล้าน

แผนสร้างที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย 2.7 ล้านยูนิต 6.8 แสนล้านเค้กก้อนใหม่ รัฐดันเต็มที่จัดแพ็กเกจสิทธิประโยชน์ "การเงิน-BOI-กฎหมาย" ล่อใจ เก็บภาษีบาป-ภาษีที่ดินหนุนลงทุน กางที่ราชพัสดุ เขต ศก.พิเศษ แนวรถไฟฟ้า ทางคู่ รับพัฒนาโครงการ บูม "บางปะอิน-เชียงราก-เชียงใหม่-หาดใหญ่-แม่สอด-สระแก้ว" ปีཷ ให้การเคหะฯดึงอสังหาฯแจม

แหล่งข่าวจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลมีแผนจะพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยที่ยังไม่มีบ้านเป็นของตนเอง และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กับนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้เรียกผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ 3 สมาคม เข้าหารือปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมยื่นข้อเสนอให้เอกชนเข้าร่วมพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย ซึ่งภาคเอกชนรับข้อเสนอไปพิจารณาและจะให้คำตอบภายใน 1 เดือน ล่าสุดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดทำมาตรการสนับสนุนการลงทุนที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ทั้งด้านการเงิน ที่ดิน และกฎหมาย บรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2568 เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างรอบรรจุเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนที่อยู่อาศัย ที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯเป็นประธาน ก่อนเสนอคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานพิจารณา

หากได้รับความเห็นชอบจะเปิดให้เอกชนที่สนใจเสนอตัวร่วมลงทุนพัฒนาที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อยเฟสแรกในปี 2559 ได้ทันที โดยจะดำเนินการต่อเนื่อง10 ปี ถึงปี 2568 ทั้งหมด 2.7 ล้านยูนิต รองรับผู้มีรายได้น้อยที่ยังไม่มีบ้านเป็นของตนเอง 2.7 ล้านครัวเรือน วงเงินลงทุนรวม 6.8 แสนล้านบาท

แนวทางดำเนินการ 1.กลุ่มผู้มีรายได้น้อยทั่วไปกว่า 2 ล้านครัวเรือน มอบหมายให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) พัฒนาโครงการทั้งแนวราบ แนวสูง รองรับตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่ จะดำเนินการบนที่ดินที่ กคช.มีอยู่แล้ว หรือจัดหาที่ดินใหม่เพิ่มเติม อีกส่วนหนึ่งสนับสนุนให้บริษัทอสังหาฯเข้าร่วมพัฒนาในรูปภาคี เป็นการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบแทนสังคม 2.กลุ่มที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด ชุมชนบุกรุก คนไร้บ้าน 6.9 แสนครัวเรือน ให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับ

โดยรัฐจะสนับสนุนดังนี้ 1) มาตรการด้านการเงิน 1.รัฐอุดหนุนส่วนต่างราคาที่ผู้มีรายได้น้อยรับภาระไม่ไหว 2.อุดหนุนดอกเบี้ยผ่านสถาบันการเงิน 3.อุดหนุนผ่านกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้ผู้มีรายได้น้อยซื้อบ้านได้ 4.ให้สิทธิประโยชน์ภาษี ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) 5.ตั้งกองทุนเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งชาติ โดยหักภาษีที่ดินและ
สิ่งปลูกสร้าง ภาษีบาป สนับสนุนการลงทุนของ กคช., พอช. 6.ตั้งกองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย ให้สินเชื่อพัฒนาโครงการดอกเบี้ยต่ำแก่เอกชน และให้สินเชื่อซื้อบ้านดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้มีรายได้น้อย

2) มาตรการด้านที่ดิน จัดหาที่ดินรัฐรองรับการพัฒนา อาทิ ที่ราชพัสดุในเขตเมือง เขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ดินแนวเส้นทางรถไฟ รถไฟฟ้า ที่ดินชลประทาน เป็นต้น 3) มาตรการด้านกฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายผังเมืองให้เอื้อต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย ออกกฎหมายให้เอกชนจัดให้มีที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยโดยให้สิทธิก่อสร้างได้เพิ่ม หรือจ่ายเงินเข้ากองทุนพัฒนาที่อยู่อาศัย ออกกฎหมายด้านการเงิน ภาษี ดึงดูดใจเอกชน ฯลฯ

ราคาไม่เกิน 7 แสนบาท/ยูนิต

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมฯ เปิดเผยว่า จะเร่งผลักดันโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด สำหรับยุทธศาสตร์ 10 ปี มีเป้าหมายรองรับผู้ที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง ซึ่งจากการสำรวจทั่วประเทศมีอยู่ 4.5 ล้านครัวเรือน แต่แผน 10 ปี จะทำรองรับก่อน 2.7 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้ 2 ล้านครัวเรือน กคช.รับไปพัฒนา โดยเปิดให้เอกชนเข้าร่วม อีก 7 แสนครัวเรือนเป็นบ้านมั่นคงของ พอช. รองรับชุมชนที่บุกรุกที่ดินและต้องย้ายจากพื้นที่ จะมีทั้งที่ กคช.ดำเนินการเองทั้งหมด และร่วมกับเอกชน อาจให้เอกชนสร้างบนที่ดินของ กคช. หรือซื้อยกทั้งโครงการ ด้านราคาขายจะพยายามอยู่ในกรอบไม่เกิน 7 แสนบาท/ยูนิต เปิดให้ทั้งเช่าซื้อและเช่า

กคช.รื้อแผนพัฒนาใหม่

นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานกรรมการ (บอร์ด) กคช. เปิดเผยว่า ขณะนี้ กคช.กำลังทำรายละเอียดแผนพัฒนา 10 ปีใหม่ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สร้างที่อยู่อาศัยให้ผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะจำนวนที่อยู่อาศัยในช่วง 3 ปีแรก ซึ่งต้องเร่งดำเนินการให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว อาจจะเพิ่มจำนวนยูนิตมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย

ขณะที่นายวิทัศน์ เตชะบุญ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ระบุว่าแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับผู้มีรายได้น้อย 2.7 ล้านครัวเรือน ใน 10 ปี ใช้เงินลงทุนเกือบ 6.9 แสนล้านบาท แบ่งพัฒนา 3 ระยะ คือ 3 ปี 5 ปี และ 10 ปี จะเร่งรัดแผนระยะ 3 ปีก่อน โดย พอช.จะสร้างและพัฒนาที่อยู่อาศัย 1 หมื่นยูนิต ให้ผู้บุกรุกคูคลอง 9 คลอง เข้าอยู่อาศัย เช่น คลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร รวมถึงชุมชนผู้บุกรุกที่ดิน ระยะ 5 ปี กับ 10 ปี ยังเป็นแผนกว้าง ๆ

ผุดห้องเช่ารับเขต ศก.พิเศษ

"เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้หารือกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการคลัง กรมธนารักษ์ เพื่อกำหนดพื้นที่สร้างที่อยู่อาศัยรองรับแหล่งงานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด กับสระแก้ว โดย กคช.จะขอใช้ที่ดินของกรมธนารักษ์พัฒนาอาคารชุดอยู่อาศัยให้เช่า"

ก่อนหน้านี้ นายสุภัคร ลดาวัลย์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าการ กคช. ชี้แจงว่า กคช.อยู่ระหว่างนำเสนอโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้เช่าใน 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษระยะแรก ได้แก่ จ.ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา หนองคาย โดยได้หารือกรมธนารักษ์ขอใช้พื้นที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้เช่ารองรับแรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจพิเศษ เป็นห้องชุดให้เช่าราคาถูก ขนาดพื้นที่ใช้สอย 28-32 ตร.ม. ค่าเช่าไม่เกิน 1,500 บาท/เดือน

รถไฟสำรวจที่ดินรัศมี 200 กม.

ด้านนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า รองนายกฯสมคิดมีนโยบายให้สำรวจที่ดินแนวรถไฟให้เอกชนนำไปพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ล่าสุดฝ่ายบริหารทรัพย์สินได้สำรวจที่ดินรอบสถานีรถไฟในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล รัศมีไม่เกิน 200 กม. ที่ยังไม่มีภาระผูกพันสัญญาเช่า มีผู้บุกรุก และใช้ก่อสร้างรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เช่น ที่ดินย่านมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในแนวรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต-ธรรมศาสตร์) สถานีบางปะอิน สถานีเชียงราก สถานีเชียงรากน้อย เป็นต้น

อาจรวมถึงพื้นที่รอบสถานีหัวเมืองใหญ่ด้วย เช่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ ทั้งนี้เมื่อได้ที่ดินแล้ว ในหลักการจะให้เอกชนเช่าระยะยาวเพื่อจัดหาประโยชน์

"BTS-แสนสิริ" ยังแบ่งรับแบ่งสู้

สำหรับความเคลื่อนไหวภาคเอกชน นายรังสิน กฤตลักษณ์ กรรมการบริหาร และผู้อำนวยการใหญ่สายปฏิบัติการ บจ.บีทีเอส แอสเสทส์ ในกลุ่มบีทีเอสกรุ๊ป กล่าวว่า ผู้บริหารของบริษัทกำลังหารือว่าจะเข้าร่วมพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยอย่างไรหรือไม่ แต่ก่อนหน้านี้ นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานบริหาร บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง ได้เข้าพบ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกฯ อดีต รมว.คมนาคม เมื่อเดือน เม.ย. 2558 เสนอไอเดียพัฒนาที่อยู่อาศัยแนวรถไฟฟ้ารองรับผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯและปริมณฑล เช่น สายสีเขียวช่วงหมอชิต-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ รวมถึงที่ดินบางปะอิน แนวสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต-ม.ธรรมศาสตร์) ของ ร.ฟ.ท.

"บริษัทจะนำเสนอโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยกับรัฐบาลแน่ เพราะเป็นความตั้งใจอยู่แล้ว แต่จะเป็นพื้นที่ไหนบ้างยังตอบไม่ได้ ต้องรอรัฐบาลเปิดข้อมูลทำเลที่ดินก่อน"

ส่วนนายวันจักร์ บุรณศิริ ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ กล่าวว่า การสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในราคาที่รัฐให้โจทย์มาไม่เกิน 5-6 แสนบาท อาจดำเนินการได้ยาก สำหรับผู้พัฒนาโครงการระดับกลาง-บน แต่หากร่วมมือกับรายอื่นหลาย ๆ บริษัทก็น่าสนใจ และแสนสิริยินดีเข้าร่วมด้วย

เอกชนตั้ง 4 เงื่อนไขร่วมทุน

แหล่งข่าวจากบริษัทพัฒนาที่ดินรายหนึ่งชี้ว่า เอกชนเห็นด้วยกับนโยบายสร้างบ้านผู้มีรายได้น้อย ราคาไม่เกิน 6 แสนบาท แต่การร่วมลงทุนพัฒนาโครงการกับรัฐจำเป็นต้องมีเงื่อนไขเพื่อให้เกิดผลงานเป็นรูปธรรม คือ 1.ทำเลที่ตั้งต้องอยู่ไม่ไกลจากเมือง แหล่งจ้างงาน สถานศึกษา 2.มีสาธารณูปโภคจำเป็น ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา รถเมล์ 3.ต้องปรับกฎหมายจัดสรร กฎหมายสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา โดยเฉพาะการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ที่ล่าช้ามาก 4.จัดหาสินเชื่อรายย่อยรองรับล่วงหน้า เพราะมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าโดยตรง

ความเสี่ยงทางธุรกิจในการพัฒนาโครงการบ้านผู้มีรายได้น้อยในแง่ก่อสร้างไม่มีปัญหา สามารถสร้างจำนวนมาก ๆ ได้ แต่ต้องมองซัพพลาย-ดีมานด์ให้สอดคล้องกัน โดยประเมินดีมานด์โดยใช้ข้อมูลของ กคช. แล้วบวกเพิ่มอีก 20-30% เช่น ถ้า กคช.มีดีมานด์บ้านผู้มีรายได้น้อยปีละ 5 หมื่นยูนิต ก็บวกเพิ่ม 1-1.5 หมื่นยูนิต เป็น 6-6.5 หมื่นยูนิต เป็นต้น

บ้านคนจนแลกกระตุ้นอสังหาฯ

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อยู่ระหว่างให้กรมธนารักษ์ดูว่ามีที่ดินตรงไหนบ้างที่นำมาพัฒนาโครงการให้ผู้มีรายได้น้อย และให้รายงานความคืบหน้าภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้

ขณะที่แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังระบุว่า การดำเนินนโยบายดังกล่าวได้มีการนำเสนอในที่ประชุมระหว่างนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ กับผู้ประกอบการอสังหาฯ ที่กระทรวงการคลัง เมื่อ 17 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแลกกับการที่ภาครัฐเพิ่งมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ซึ่งช่วยเคลียร์สต๊อกให้แก่ผู้ประกอบการได้มาก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 22-10-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.