| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 24 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 21-10-2558    อ่าน 1249
 เปิดหน้าดิน "อู่ตะเภา" 135 ไร่ ดึงเอกชนลงทุน "ฮับการบินอาเซียน"

ในที่สุด "สนามบินอู่ตะเภา" ได้รับเลือกเป็นพื้นที่นำร่องสำหรับจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบิน หลัง"สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ทุ่มเม็ดเงิน 70 ล้านบาทจ้างที่ปรึกษาศึกษาจุดที่ตั้งที่เหมาะสมจาก 8 พื้นที่ ได้แก่ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง อู่ตะเภา นครราชสีมา เชียงราย พิษณุโลก สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่ จนมาลงตัวที่อู่ตะเภา พลันที่ "รัฐบาลประยุทธ์" ย้ำชัดจะพัฒนาเป็นสนามบินเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบ




ก่อนหน้านี้รัฐบาลชุดก่อนเล็งปักหมุด"สนามบินนครราชสีมา" เป็นฮับศูนย์ซ่อมเครื่องบินอาเซียน พื้นที่ 4,625 ไร่

หากเทียบกับ "อู่ตะเภา" ความเหมาะสมขนาดและการพัฒนา ใช้พื้นที่ 135 ไร่ ใกล้นิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออกที่เป็นฐานผลิตชิ้นส่วนอากาศยานอย่างนิคมอุตฯ อมตะซิตี้, ปิ่นทอง, เหมราช, บ้านค่าย และอาร์ไอแอล

"อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่า แนวโน้ม20 ปีข้างหน้าจะมีการสั่งผลิตเครื่องบิน 12,820 ลำ สัดส่วน 36% บวกกับการเติบโตสายการบินโลว์คอสต์ของไทยปี 2557 เส้นทางระหว่างประเทศโตถึง 55% ในประเทศ 45%

โจทย์คือมูลค่าตลาดซ่อมบำรุงเครื่องบินมีมูลค่าถึง 23,200 ล้านบาท/ปี แบ่งสัดส่วน 60% ต้องบินไปซ่อมบำรุงในต่างประเทศมูลค่า 13,900 ล้านบาท ส่วนที่สามารถซ่อมบำรุงภายในประเทศมี 3 แห่ง ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง, สุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา มูลค่า 9,300 ล้านบาท

"รัฐบาลมองเห็นว่าไทยเป็นจุดศูนย์กลางอาเซียน น่าจะได้โอกาสจากตรงนี้ จึงเร่งผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นจริง โดยจะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือซ่อมบำรุงอากาศยาน ส่วนรูปแบบการลงทุนต้องเสนอคณะกรรมการ PPP ก่อน"

การลงทุน 3 ระยะ รวม 15,274 ล้านบาท สำหรับก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน 12,028 ล้านบาท ซ่อมบำรุง 3,246 ล้านบาทเป็นต้น ตั้งเป้าเปิดบริการปี 2562 ขีดความสามารถซ่อมเครื่องบินปีละ 48 ลำ


ระยะที่ 2 (2564-2566) ลงทุน 4,799 ล้านบาท ตั้งเป้าเปิดบริการปี 2567 รองรับการซ่อม 96 ลำ และระยะที่ 3 (2569-2571) ลงทุน 5,096 ล้านบาท เป้าเปิดบริการปี 2572 รองรับได้ 144 ลำ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 22% ผลตอบแทนทางการเงิน 6.34% ภายใน 30 ปี ประเมินเม็ดเงินเข้ามา 240,921 ล้านบาท เริ่มคืนทุนปีที่ 16 โดยให้เอกชนดำเนินการ 30 ปี

"เป้าหมายอยากให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมอากาศยานครบวงจร หรือมหานครอากาศยาน มีศูนย์ซ่อมและผลิตหรือศูนย์ฝึกหัดนักบินให้บริการแก่ประเทศในกลุ่มอาเซียน"

โดยเตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเร็ว ๆ นี้ เพื่อให้ทันตอกเข็มในปี 2559 ล่าสุดมีเอกชนแสดงความสนใจ ได้แก่ บริษัท ST Aerospace, กลุ่มบริษัท พันปี กรุ๊ป (ไทย ลาว กัมพูชา) จำกัด, กลุ่มบริษัท โฟร์วิงส์แอร์พอร์ท เซอร์วิส (ไทยแลนด์) จำกัด และบริษัท แอร์ฟรานซ์ เคแอลเอ็ม จำกัด

ส่วนจะเกิดได้เร็วหรือช้าอยู่ที่ไทยแก้จุดอ่อนด้านการส่งเสริมการลงทุน ตรงใจเอกชนมากน้อยแค่ไหน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 21-10-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.