| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 29 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 13-10-2558    อ่าน 1290
 อสังหาลังเลร่วมทุนกคช.ทำบ้านคนจน จี้รัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์

ดีเวลอปเปอร์ลังเลโครงการช่วยชาติ ชี้การเคหะฯชวนร่วมลงทุนทำบ้านคนจนมีหลักการที่ดี แต่มีเงื่อนไขต้องเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจ-ห่วงเรื่องความโปร่งใส แนะตั้งบริษัทใหม่ป้องกันนักการเมืองล้วงลูก "LPN-ศุภาลัย" แบ่งรับแบ่งสู้

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจความคิดเห็นดีเวลอปเปอร์หลายราย กรณีที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยราคาไม่เกิน 7 แสนบาท/ยูนิต แนวทางคือให้การเคหะแห่งชาติ (กคช.) ร่วมลงทุนกับเอกชน หรือรับซื้อโครงการที่เอกชนมีสต๊อกเหลือขาย พบว่าภาคเอกชนเห็นว่าเป็นนโยบายที่มีหลักการดี แต่ยังมีข้อกังวลเรื่องความเป็นไปได้ทางธุรกิจ

หวั่นปัญหาความโปร่งใส

แหล่งข่าวผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายหนึ่ง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ข้อกังวลกรณีรัฐบาลมีนโยบายให้ กคช.ร่วมทุนกับภาคเอกชน ปัญหาหลักคือเรื่องความโปร่งใสในการบริหารจัดการ เนื่องจากในอดีต กคช.เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ถูกนักการเมืองแทรกแซงการดำเนินงาน ส่งผลเป็นภาระหนี้กว่า 8 หมื่นล้านบาท จึงมองว่าการลงทุนร่วมกับ กคช.จึงเป็นความเสี่ยงมากกว่าจะเป็นโอกาสทางธุรกิจ เพราะการร่วมลงทุนพัฒนาโครงการอสังหาฯต้องใช้เวลานานหลายปี ในอนาคตถ้ามีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศนโยบายนี้จะเปลี่ยนหรือไม่

ทั้งนี้ กลุ่มที่คาดว่าจะสนใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ กคช. น่าจะเป็นดีเวลอปเปอร์รายกลางและเล็ก เพราะจะเป็นกลุ่มที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายนี้ อาทิ มีโอกาสได้รับเงินทุนหมุนเวียนเข้ามาเสริมสภาพคล่องในกิจการ ในขณะที่ผู้ประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ฯยังมีความเข้มแข็ง สามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่จำเป็นต้องร่วมมือกับ กคช. เนื่องจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีความแตกต่างชัดเจน ส่วนใหญ่พัฒนาที่อยู่อาศัยราคาเกิน 1 ล้านบาท

แนะตั้งบริษัทลูกร่วมทุน

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการร่วมทุนระหว่างเอกชนกับ กคช.เพื่อพัฒนาโครงการใหม่สำหรับผู้มีรายได้น้อย วิธีการควรจัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา เพื่อให้มีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ที่สำคัญเพื่อป้องกันปัญหานักการเมืองเข้ามาล้วงลูกในอนาคต และผู้บริหารบริษัทจะต้องเป็นมืออาชีพด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไม่ใช่ข้าราชการ หากทำได้ตามนี้อาจทำให้บริษัทอสังหาฯให้ความสนใจเข้าร่วมกับ กคช.มากขึ้น

"เท่าที่ทราบ กคช.มองว่าการร่วมทุนกับเอกชนมีจุดประสงค์ในการพัฒนาอสังหาฯทุกชนิด เช่น บ้าน ทาวน์เฮาส์ สำนักงานให้เช่า โดยเฉพาะในตลาดระดับกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มรายได้หลักที่ภาคเอกชนสามารถพัฒนาสินค้าออกมารองรับได้ดี เหตุผลเพื่อ กคช.จะมีรายได้หมุนเวียนมาลดภาระหนี้ และนำกำไรไปพัฒนาบ้านสำหรับผู้มีรายได้น้อยตามแนวทางของ กคช.อีกทอดหนึ่ง มากกว่าจะร่วมทุนพัฒนาบ้านราคาต่ำโดยตรง" แหล่งข่าวกล่าว

LPN ชี้ต้องมีแรงจูงใจ

นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ หรือ LPN เปิดเผยว่า แนวคิดในการชักชวนเอกชนร่วมทุนกับ กคช. รัฐต้องสร้างแรงจูงใจที่มากพอ เช่น ที่ดินเป็นที่ดินให้เปล่า เพื่อลดภาระด้านต้นทุนพัฒนาโครงการ หรือการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี

"แอล.พี.เอ็น.เองหากจะเข้าร่วมยังต้องพิจารณาแนวทางการพัฒนาโครงการว่าตรงกับทิศทางบริษัทหรือไม่ เช่น คอนเซ็ปต์ชุมชนน่าอยู่ การออกแบบต้องคำนึงถึงคุณภาพชีวิตผู้อาศัย มีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงสะดวกเพราะเราไม่ใช่คนที่ต้องการแต่กำไร บริษัทยังมีแบรนด์ที่ต้องรักษาชื่อเสียงไว้" นายโอภาสกล่าว

ส่วนกรณีการกำหนดราคาบ้านไม่เกินยูนิตละ 7 แสนบาท หากเป็นเขตกรุงเทพฯโครงการที่พัฒนาได้ คือ คอนโดมิเนียมบนต้นทุนที่ดินราคา 2 หมื่นบาท/ตร.ว. ซึ่งหมายถึงทำเลจะต้องอยู่ในเขตชานเมือง-ปริมณฑล เช่น รังสิต ลาดกระบัง ปทุมธานี บริเวณวงแหวนรอบนอก และต้องคำนึงถึงกฎหมายผังเมืองด้วยเพราะอาจเป็นเขตอุตสาหกรรม ทำให้การหาทำเลยากยิ่งขึ้น ส่วนในเมืองใกล้แนวรถไฟฟ้าถือว่าเป็นไปไม่ได้เลย

ชี้โครงการขายไม่ดี-เสี่ยงสูง

นายโอภาสกล่าวว่า แนวคิดการนำโครงการที่ทำยอดขายต่ำกว่าเป้ามาร่วมเสนอขายให้ผู้มีรายได้น้อยนั้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่แทบเป็นไปไม่ได้เลยเพราะต้องเป็นโครงการที่ยังไม่มีการจองทุกยูนิต มิฉะนั้น อาจมีปัญหาขัดแย้งกับลูกบ้านที่จองซื้อไว้แล้ว และบริษัทขนาดใหญ่เองมีสายป่านธุรกิจยาวพอที่จะทยอยขายโครงการได้ ไม่ต้องเร่งตัดขายในราคาถูก

นายไตรเตชะ ตั้งมติธรรม กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ศุภาลัยกล่าวว่า รัฐไม่ควรรับโครงการของเอกชนที่มียอดขายต่ำกว่าเป้าหมายจำหน่ายให้ผู้มีรายได้น้อย เพราะหากโครงการนั้นมีปัญหาการขายมักจะเป็นผลจากจุดด้อยบางอย่างของโครงการ เช่น ทำเล การก่อสร้าง ดีไซน์แบบบ้านไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดังนั้น แม้จะลดราคาต่ำแล้วก็เป็นไปได้ว่าอาจจะไม่มีผู้ซื้อ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 13-10-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.