| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 95 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-10-2558    อ่าน 1238
 AREA ชี้ปี′59 ที่ดินแพงจี๊ดอยู่ที่สยาม-เพลินจิต ราคาตลาดวาละ 1.9 ล้าน

ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส เปิดเผยว่า รัฐบาลเตรียมประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่วันที่ 1 ม.ค. 2559 ซึ่งเป็นการปรับราคาประเมินทุก 4 ปี โดยทำเลสีลมมีราคาแพงที่สุด 1,000,000 บาท/ตารางวา ในขณะที่ราคาที่ดินที่แพงที่สุดตามราคาตลาดคือพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้าแถวสยาม ชิดลม เพลินจิต ตารางวาละ 1.9 ล้านบาท เทียบกับราคาประเมินทางราชการ 900,000 บาท/ตารางวา หรือสูงกว่า 111% เหตุผลเพราะพื้นที่สยาม-ชิดลม-เพลินจิต มีศูนย์การค้าที่มีค่าเช่าสูงต่อตารางเมตรสูงกว่าพื้นที่สำนักงานเป็นอย่างมาก เช่น สำนักงานที่สีลม มีค่าเช่าตารางเมตรละ 700 - 1,000 บาท ในขณะที่พื้นที่เช่าช่วงในศูนย์การค้าสูงถึง 2,500 - 5,000 บาท และถือว่ามีรถไฟฟ้า BTS 2 สายเชื่อมต่อกัน ทำให้มีความคึกคักมากกว่าย่านสีลม

แม้ราคาประเมินทางราชการปรับเพิ่มขึ้นมากในรอบ 4 ปีที่ผ่านมา (2555-2559) แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาตลาด โดยราคาที่ดินในเมืองขยับสูงขึ้นปีละประมาณ 10% แตกต่างจากราคาที่ดินนอกเมือง เช่น หนองจอก ลำลูกกา คลอง 13-15 ราคาที่ดินหยุดนิ่งหรือแทบจะไม่ได้เพิ่มขึ้นในแต่ละปี บางส่วนเป็นเพราะผังเมืองกำหนดไม่ให้ก่อสร้างอาคารที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าได้ ราคาที่ดินจึงทรุดลงหรือทรงตัวไว้

อนึ่ง ราคาประเมินทางราชการมีไว้เพื่อการเสียภาษีในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่าง ๆ ไม่อาจสะท้อนมูลค่าตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา แม้แต่รายงานการประเมินค่าทรัพย์สินของผู้ประเมินค่าทรัพย์สินอิสระ ก็ยังต้องให้มีการทบทวนใหม่ทุกรอบ 6 เดือน แต่ราคาทางราชการใช้ในรอบ 4 ปี และสำรวจและจัดทำล่วงหน้า 1-2 ปี จึงยิ่งไม่สะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-10-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.