| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-09-2558    อ่าน 1219
 บุก "ทวายเมกะโปรเจ็กต์" เดินหน้าโครงการ 1.6 ล้านล้าน (1) เมืองกาญจน์ประตูสู่ขุมทอง

หลังจากอยู่ในสภาพลูกผีลูกคนมาพักใหญ่ โครงการทวายเมกะโปรเจ็กต์ มูลค่า 1.6 ล้านล้านของรัฐบาลเมียนมาเริ่มคืนชีพเมื่อมีการลงนามเซ็นสัญญาสัมปทานไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558 โดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนภายใต้บริษัทที่จดทะเบียนในประเทศเมียนมาในสัญญาสัมปทานโครงการทวายระยะแรก กับคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei Special Economic Zone Management Committee) เพื่อดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรม และระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ รวมพื้นที่ 27 ตร.กม. และได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมเพิ่มเติมต่างหากอีก 8 ตร.กม. รวมเป็นพื้นที่ขายประมาณ 16,000 ไร่ โดยใช้เวลาพัฒนาทั้งหมด 8 ปี

สัญญาสัมปทานทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การกำกับของ Myanmar Special Economic Zone Law ซึ่งมีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี และสามารถขยายระยะเวลาได้อีก 25 ปี รวมเป็น 75 ปี โดยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะแบ่งเป็น 4 แปลง โครงการพัฒนาระยะแรกจะมีมูลค่าการลงทุนทั้งหมดประมาณ 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ



บรรยากาศที่ซึม ๆ ก็ดูตื่นตัวคึกคักขึ้นมาทันที ด้วยเจตนาที่จะให้สื่อมวลชนได้เห็นความคืบหน้าของโครงการดังกล่าว เป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจแก่นักลงทุน สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) หรือ สพพ. นำโดย วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการบริหาร และ เนวิน สินสิริ ผู้อำนวยการ สพพ. พร้อมด้วยตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และผู้บริหารของอิตาเลียนไทย พาคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่สัมผัสของจริงที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย เมืองทวาย รัฐตะนาวศรี ประเทศเมียนมา

คณะทั้งหมดเริ่มต้นเดินทางที่บริเวณด่านบ้านพุน้ำร้อน ต.บ้านเก่า อ.เมือง จ.กาญจนบุรี โดยเส้นทางที่ผ่านมาจากตัวเมืองกาญจน์มุ่งหน้าบ้านพุน้ำร้อน สภาพปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงถนนลาดยางและขยายผิวการจราจรให้กว้างขึ้น เพื่อให้รถสัญจรได้สะดวกและรวดเร็วกว่าเดิม การปรับปรุงนี้จะแล้วเสร็จตลอดทั้งสายไม่เกินปลายปีนี้

ด่านบ้านพุน้ำร้อน กาญจนบุรี ถือเป็นประตูชายแดนไทยที่จะผ่านเข้าสู่เมืองทวาย ไปยังนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งปัจจุบันนับว่าพัฒนาเจริญมากขึ้น ทั้งอาคารที่ทำการด่านศุลกากร ร้านค้าต่าง ๆ

จากการบอกเล่าของ บุญญะพัฒน์ จันทรอุไร รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ธีรชัย ชุติมันต์ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี และ สรรเพชญ ศลิษฏ์อรรถกร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ทราบว่ากาญจนบุรีมีอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจหลักมาจากการท่องเที่ยวปีละ 20% มีจำนวนนักท่องเที่ยว 7-8 ล้านคน/ปี เพราะมีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและชายแดนที่เชื่อมติดกับประเทศเมียนมาผ่านทางด่านบ้านพุน้ำร้อน ระยะทางห่างจากตัวเมืองเพียงแค่ 70 กม. เส้นทางดังกล่าวเชื่อมต่อไปยังเมืองทวายด้วยระยะทาง 138 กม.เท่านั้น

กาญจนบุรีเป็นหนึ่งในจังหวัดที่รัฐบาลเตรียมประกาศพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่ 2 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2558 โดยกำหนดพื้นที่ในเขต ต.บ้านเก่า และ ต.แก่งเสี้ยน เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ณ เวลานี้เส้นทางคมนาคมจากด่านบ้านพุน้ำร้อนไปถึงชายแดนเมียนมา เพื่อต่อไปยังเมืองทวาย ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้งบประมาณ 4,500 ล้านบาท ในลักษณะเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ระยะเวลา 20 ปี หลังรัฐบาลไทยปล่อยกู้ให้รัฐบาลเมียนมาและว่าจ้างบริษัท อิตาเลียนไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างถนน 2 เลน ถนนดังกล่าวสามารถใช้งานได้เป็นอย่างดี รถยนต์สามารถเดินทางเข้า-ออกได้สะดวก ถือเป็นความสำเร็จของเฟสแรกในการพัฒนาเส้นทาง

จากสภาพของถนนที่เชื่อมโยงเข้าสู่ทวายได้สะดวกขึ้นบวกกับการประกาศเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของกาญจนบุรีทำให้บรรยากาศการค้าขายในกาญจนบุรีกระเตื้องขึ้นพื้นที่8,273 ไร่ถูกกันไว้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งกินพื้นที่หมู่ 12 ตำบลบ้านเก่า ชุมชนชายแดนบ้านพุน้ำร้อน

"บุญญะพัฒน์" รองผู้ว่าฯกาญจนบุรีกล่าวว่า ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 3,000 ไร่ กนอ. ได้ศึกษาและต้องการลงทุนเอง โดยเฉพาะโครงสร้างพื้นฐานและการจัดสรรพื้นที่ให้เอกชนเข้ามาลงทุน ดังนั้น การค้าระหว่างไทย-เมียนมาจะถูกเชื่อมโยงด้วย "นิคมอุตสาหกรรมกาญจนบุรี" ในระดับกลางน้ำ และ "นิคมอุตสาหกรรมทวาย" ในระดับต้นน้ำ ซึ่งทั้ง 2 จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ไม่เพียงการค้าแต่ไทยและเมียนมาได้ลงนามความร่วมมือด้านแรงงานต่างด้าวประชาชนเมียนมาสามารถใช้บอร์เดอร์พาสข้ามแดนเข้าตัวเมืองมาทำงานได้ภายใน14วัน

"นิคมอุตสาหกรรมกาญจนบุรีจะจัดโซนนิ่งสำหรับตั้งโรงงานอุตสาหกรรมและแนวป่าที่ต้องมีการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน และการผลักดันอุตสาหกรรมยาง Rubber City ในกาญจนบุรีถือว่ามีความเป็นไปได้สูง เพื่อรองรับพื้นที่ปลูกยาง 1 แสนไร่แถบ อ.ทองผาภูมิ และหากเป็นเออีซีด้วยแล้ว สามารถนำเข้าน้ำยางจากพม่าได้อีก สิ่งที่ตามมาคือโรงงานแปรรูปยางเพื่อใช้ในประเทศและผลิตเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม โรงงานในนิคมอุตสาหกรรมน่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่ ไม่ใช่นักลงทุนในระดับจังหวัดกาญจนบุรี เพราะที่นี่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องระดับกลางน้ำ เน้นส่งออก โดยนิคมทวายอุตสาหกรรมต้นน้ำ ทวายคือโครงการระดับประเทศเชื่อมระหว่างตะวันตกสู่ตะวันออก ข้อดีคือการได้ GSP ส่งออกไปยุโรปและอเมริกา" เป็นความเห็นของสรรเพชญ ประธานสภาอุตสาหกรรมกาญจนบุรี

ขณะที่ ธีรชัย ชุติมันต์ ประธานหอการค้าจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า โชคดีที่เกิดโครงการทวายโปรเจ็กต์ขึ้น ทำให้กาญจนบุรีคึกคัก ช่วงระยะ 2 ปีเกิดการลงทุนของห้างสรรพสินค้าโมเดิร์นเทรดตามมา แต่ก็บูมเป็นระยะ นักลงทุนส่วนใหญ่จับตาดูอยู่ ยอมรับว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษที่กาญจน์เป็นโครงการใหญ่ต้องใช้เวลา แต่มั่นใจว่าจะเกิดควบคู่ไปพร้อม ๆ กับนิคมอุตสาหกรรมทวาย

"จำเป็นต้องให้การค้าชายแดนกลับมาบูมอีกครั้ง เพราะมูลค่าการค้าขายตรงนี้สำคัญ ขณะนี้กำลังหารือว่าการนำเข้า-ส่งออกไม่ต้องขอใบอนุญาตและหนังสือรับรองสำหรับสินค้าอุตสาหกรรมไม้แปรรูปจะได้หรือไม่ตัวเลขที่น่าสนใจด่านบ้านพุน้ำร้อนมีมูลค่าการค้า40ล้านบาท/เดือนแท้จริงแล้วด่านนี้ยังสามารถเติบโตได้อีก ซึ่งกำลังดูว่าจะพัฒนาแต่ละด่านให้ได้มากกว่านี้ได้หรือไม่"

สภาพที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบันที่ชายแดนกาญจนบุรีบ่งชี้ชัดเจนว่าหากโครงการทวายเป็นจริงได้เมื่อไหร่ไม่เพียงแต่เมียนมาเท่านั้นที่ได้ประโยชน์ประเทศไทยเองโดยเฉพาะกาญจนบุรีก็จะรุ่งโรจน์ไม่แพ้กัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-09-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.