| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 113 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-09-2558    อ่าน 1216
 งานเข้า! ระวัง"ค่าโง่"สร้างรถไฟฟ้าสีน้ำเงิน ช่องโหว่ส่งมอบช้า ผู้รับเหมาขอชดเชย2พันล.

จับตาค่าโง่โผล่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ผู้รับเหมา 5 สัญญาแห่ขอขยายเวลา 2-3 ปี แถมเรียกค่าชดเชยอีก 2 พันล้าน หลัง รฟม.ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า

ประธานบอร์ดยอมรับต้องจ่าย รอที่ปรึกษาตรวจสอบวงเงิน เตรียมชงบอร์ด-คมนาคม-ครม.พิจารณา ขอขยายกรอบวงเงินเพิ่ม "สมคิด" จี้สางปมสัญญาเดินรถ 2 หมื่นล้านจบโดยเร็ว "อาคม" รับลูกสั่ง รฟม.เปิดประมูล ปิดทางเจรจาตรงรายเดิม หลังดีเลย์มานาน "บีเอ็มซีแอล" เผยเลือกรายเดิม ประชาชนได้ใช้บริการปลายปี′60



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระและหัวลำโพง-บางแค) 27 กม. ใช้เม็ดเงินลงทุนกว่า 8.2 หมื่นล้านบาท กำลังประสบปัญหาทั้งการก่อสร้างและหาเอกชนมาเดินรถ จนกระทบต่อแผนเปิดใช้บริการขยับจากเดิมอย่างน้อย 1 ปี จากปี 2560 เป็นปี 2561-2562 ล่าสุดกำลังมีปัญหาผู้รับเหมาก่อสร้างขอค่าชดเชยจากการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า



รับเหมาเรียกค่าชดเชย 2 พันล้าน


แหล่งข่าวจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ผู้รับเหมาทั้ง 5 สัญญาทำหนังสือขอขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีกประมาณ 2-3 ปี พร้อมกับขอค่าชดเชย เพราะ รฟม.ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ได้ทันตามกำหนด คิดเป็นเงินรวมกว่า 2,300 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สัญญางานอุโมงค์ใต้ดิน (หัวลำโพง-สนามชัย) ของ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ขอขยายเวลาออกไป 9 เดือน จากเดิมจะสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 2 มี.ค. 2560 ขอค่าชดเชย 300 ล้านบาท


2.สัญญางานอุโมงค์ใต้ดิน (สนามชัย-ท่าพระ) ของ บมจ.ช.การช่าง ขอขยายเวลา 3 เดือน เดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 3 ก.ย. 2559 แต่ไม่ขอค่าชดเชย


3.สัญญาทางวิ่งยกระดับ (เตาปูน-ท่าพระ) ของกลุ่ม บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ขอขยายเวลา 3 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2558 เป็นวันที่ 11 ก.ย. 2562 ขอค่าชดเชย 1,000 ล้านบาท


4.สัญญาทางวิ่งยกระดับ (ท่าพระ-หลักสอง) ของบ มจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น ขอขยายเวลา 2 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 29 ก.ย. 2558 เป็นวันที่ 18 ก.ย. 2560 ขอค่าชดเชย 500 ล้านบาท


และ 5.สัญญางานวางรางทั้งโครงการ ของ บมจ.ช.การช่างขอขยายเวลาไป 3 ปีจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มิ.ย. 2559 เป็นวันที่ 31 ธ.ค. 2561 ขอค่าชดเชย 500 ล้านบาท เพราะต้องรอการก่อสร้างทั้ง 4 สัญญาเสร็จถึงจะเริ่มวางราง


"ทั้งเส้นทางมีพื้นที่บางจุดที่ส่งมอบช้า นับจากผู้รับเหมาเริ่มสร้างปี′54 จากนั้นก็สะสมมาเรื่อยๆ หนักสุดสัญญาที่ 3 และ 4 ของยูนิคและซิโน-ไทยฯบริเวณแยกท่าพระและแยกไฟฉาย ที่ทับซ้อนกับงานก่อสร้างของกรุงเทพมหานคร"แหล่งข่าวกล่าวและว่า



รฟม.ชงบอร์ด-ครม.ไฟเขียว


ปัจจุบัน รฟม.กำลังจะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.พิจารณาวงเงินที่จะชดเชยให้กับผู้รับเหมา จากนั้นจะเสนอให้นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ เนื่องจากเป็นการขอขยายเวลาและมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเกินจากกรอบวงเงินลงทุนเดิม และไม่ได้มีมติ ครม.มารองรับเหมือนกับกรณีอื่น ๆ เช่น โครงการอยู่ในพื้นที่อุทกภัย


พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานบอร์ด รฟม. กล่าวว่า ได้รับรายงานจาก รฟม.แล้วว่าต้องขอขยายเวลาก่อสร้างให้กับผู้รับเหมาทั้ง 5 สัญญา เนื่องจากส่งมอบพื้นที่ให้ล่าช้าหลายจุด เช่น แยกไฟฉาย แยกบรมราชชนนี แยกท่าพระ อีกทั้งผู้รับเหมาจะขอค่าชดเชยด้วย จะให้บริษัทที่ปรึกษาประเมินวงเงินที่ผู้รับเหมาเสนอมาก่อน ที่จะเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดอนุมัติและเสนอ ครม.อนุมัติกรอบวงเงินที่เกินจากเดิมต่อไป




อาคมสั่งเปิดประมูลเดินรถใหม่


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เร่งรัดกระทรวงคมนาคมจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายโดยเร็ว หลังล่าช้ามานาน ขณะที่ปัจจุบันงานก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า 60% โดยให้คำนึงถึงความโปร่งใส ถูกต้อง บนพื้นฐานเป็นประโยชน์ต่อรัฐและประชาชน


"จริงๆ ควรจะเดินหน้าไปนานแล้ว เพราะ ครม.อนุมัติไปแล้วให้ใช้รูปแบบ PPP Gross Cost คือ จ้างเอกชนจัดหารถ เดินรถและซ่อมบำรุง และใช้วิธีเปิดประมูล ที่ผ่านมาไปเสียเวลาขอเปลี่ยนรูปแบบเป็น PPP Net Cost ให้เอกชนรับสัมปทาน และขอเจรจาตรงกับรายเดิม ตามที่ รฟม.เสนอมาล่าสุด แต่ตอนนี้นโยบายคงต้องเปลี่ยนให้กลับไปยึดมติ ครม.ตามเดิม คือ รฟม.ต้องเปิดประมูลโดยเร็ว เพราะหากจะปรับใหม่ต้องขอ ครม.ใหม่อีกครั้ง เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ"



BMCL ชี้เลือกรายเดิมเปิดเร็วขึ้น


นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีเอ็มซีแอล กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า หาก รฟม.เลือกบริษัทเดินรถให้ ผลโดยอัตโนมัติคือทำให้การเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินทำได้เร็วขึ้นภายใน 24 เดือน จาก 36 เดือน เนื่องจากบริษัทใช้เดโป้เดิมที่พระราม 9 ไม่ต้องไปหาที่ดินสร้างใหม่ กับสั่งซื้อรถไฟฟ้าลอตเดียวกันมาเดินรถ 1 สถานี และรถไฟฟ้าใต้ดินเดิม สามารถนำรถขบวนดังกล่าววิ่งให้บริการเส้นทางสีน้ำเงินได้ที่สถานีเตาปูนเป็นต้นไป คาดว่าจะซื้อรถใหม่ จำนวน 28 ขบวน จะเสนอ รฟม.ว่ามีแผนการเปิดใช้ 4 ระยะ หากเลือกรายใหม่มาเดินรถคงต้องรอให้เปิดพร้อมกันทั้งโครงข่าย"


นายพงษ์สฤษดิ์ ตันติสุวณิชย์กุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า บริษัทพร้อมหมด ไม่ว่ารัฐบาลจะเปิดประมูลหรือเจรจา รวมถึงใช้วิธีจ้างหรือให้สัมปทาน บริษัทเป็นผู้ลงทุนต้องทำตามกติการัฐ ถ้ารัฐอยากจ้างความเสี่ยงอยู่ที่รัฐ แต่ถ้าเป็นสัมปทานแสดงว่ารัฐไม่รับความเสี่ยง ให้เอกชนรับแทน จะต้องเจรจากัน


"อยากขอให้รายเดิมที่เป็นผู้เดินรถ เพราะเป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าใต้ดินสายเดิม ทำให้การบริการวิ่งเป็นวงกลม รถวิ่งต่อไปได้เลย ที่เรียกว่าเดินรถต่อเนื่อง ไม่ต้องเปลี่ยนรถ เช่น ขึ้นจากสามย่านไปหัวลำโพง ทะลุไปวัดมังกรฯ ถ้าคนละเจ้าต้องเปลี่ยนรถที่หัวลำโพง ถ้าเราได้ทำต่อ จะทยอยเปิดใช้เป็น 4 เฟส"


ได้แก่ 1.ช่วงเตาปูน-บางซื่อ (เชื่อมสายสีม่วง) จะใช้รถขบวนเดิมของใต้ดินมาวิ่ง พร้อมเปิดบริการกลางปี 2559 2.เปิดทดสอบเดินรถช่วงเตาปูน-บางพลัดเดือน มิ.ย. และเปิดบริการเดือน พ.ย. 2560 3.เปิดทดสอบเดินรถช่วงหัวลำโพง-หลักสอง เดือน ต.ค. และเปิดบริการเดือน มี.ค. 2561 และ 4.เปิดทดสอบเดินรถช่วงบางพลัด-ท่าพระ เดือน ม.ค. และเปิดบริการเดือน มิ.ย. 2561



เปิดใช้ตลอดสาย เม.ย.ปี′62


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่ รฟม.กำหนดเวลาเปิดเดินรถตลอดสายวันที่ 1 เม.ย. 2562 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับงานสัญญาที่ 6 (ระบบเดินรถ) วงเงิน 22,141 ล้านบาท ต้องเซ็นสัญญาวันที่ 1 ธ.ค. 2558 และการจัดหารถและทดสอบระบบจะเสร็จวันที่ 12 มี.ค. 2562 มีแผนเปิดเดินรถเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง วันที่ 1 ก.ย. 2561 และช่วงเตาปูน-ท่าพระ วันที่ 1 เม.ย. 2562 จะเปิดให้บริการตลอดสายยกเว้นสถานีแยกไฟฉายที่จะล่าช้าไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 14-09-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.