| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 99 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-09-2558    อ่าน 1230
 รถเริ่มติดแล้ว-พิษรื้อสะพานเกษตร ตร.แนะเลี่ยงเส้นพหลฯ ใช้วิภาวดี-ลาดปลาเค้า

ทุบสะพานเกษตร แค่เริ่มวางแบร์ริเออร์ก็ติดแล้ว ตร.เผยตั้งแต่วันนี้เหลือวิ่งฝั่งละ 2 ช่องทาง แนะเลี่ยงไปใช้วิภาวดีฯรามอินทรา ลาดปลาเค้า เสนา วังหิน ลั่นพร้อมจัดตำรวจจราจรเร่งระบาย รฟม.แนะทางเลี่ยง 8 จุดก่อสร้างตลอดแนวถนนพหลโยธิน ส่วนแผนรื้อสะพานยังเหมือนเดิม เริ่มตั้งแต่ 22.00 น.วันที่ 12 ก.ย.นี้

เมื่อวันที่ 8 ก.ย. พ.ต.อ.เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองผบก.จร. เปิดเผยถึงผลกระทบสภาพการจราจร หลังผู้รับเหมาก่อสร้างรถไฟฟ้าสาย สีเขียว(เหนือ) หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เริ่มวางแนวแบร์ริเออร์ เพื่อปิดการจราจรในเส้นถนนพหลโยธิน ช่องทางชิดเกาะกลาง ฝั่งละ 1 เลน ว่า ตามมติที่ประชุมตกลงให้ผู้รับเหมา เริ่มเข้าพื้นที่ เพื่อเตรียมการปิดถนนก่อสร้าง ตั้งแต่เมื่อเวลา 22.00 น. ของวันที่ 7 ก.ย. ในเส้นถนนพหลโยธิน 7 จุด โดยในวันนี้มี เพียงการวางแนวแบร์ริเออร์ไว้เท่านั้น ไม่มีการปิดถนน รถยังสามารถวิ่งได้ 3 ช่องทางทั้งไป-กลับเป็นปกติ

รองผบก.จร.กล่าวต่อว่า การวางแบร์ริเออร์มีข้อตกลงว่า ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถอย่างสูงสุด และใช้พื้นที่ให้น้อยที่สุด คาดว่าภายในคืนวันที่ 8 ก.ย.นี้ จะสามารถดำเนินแล้วเสร็จเต็มระบบ และจะทำให้ ตั้งแต่เช้าวันที่ 9 ก.ย. รถสามารถวิ่งได้ฝั่งละ 2 ช่องเท่านั้น

พ.ต.อ. เอกรักษ์กล่าวอีกว่า ในส่วนของสภาพจราจรได้วางมาตรการในการจัดกำลังตำรวจจราจร ประจำจุดต่างๆ ไว้แล้วเพื่อเร่งระบายรถให้เคลื่อนตัวได้ไม่หยุดนิ่ง โดยจะพยายามให้ประชาชนมีผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนการรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ที่จะเริ่มดำเนินการในวันที่ 12 ก.ย. ตั้งแต่เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป จะทำให้บริเวณหน้าเมเจอร์รัชโยธิน ถึงหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เหลือช่องทางรถวิ่งได้ 2 ช่อง โดยตำรวจจะปรับสัญญาณไฟให้เหมาะสมกับสภาพจราจรและปริมาณรถให้มากที่สุด

รอง ผบก.จร.กล่าวด้วยว่า ในส่วนของเส้นทางเลี่ยงที่แนะนำ คือ ด้านฝั่งตะวันตก ให้ใช้ถนนวิภาวดี ด้านฝั่งตะวันออก ให้ใช้รามอินทรา ลาดปลาเค้า เสนา วังหิน และขณะนี้ได้มีการประสานกับ กทม.ให้เร่งดำเนินการในส่วนของเส้นใต้ใหม่ในซอยพหลโยธิน 50-52 ให้แล้วเสร็จ เพื่อจะสามารถใช้เป็นที่ระบายรถในถนนพหลโยธินขาเข้า หมุนไปใช้ถนนรามอินทรา ให้มากขึ้น คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1 เดือนน่าจะแล้วเสร็จ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับสภาพการจราจรในถนนพหลโยธิน ในจุดที่ผู้รับเหมาเข้าวางแบร์ริเออร์ แม้จะมีปัญหารถติดขัด แต่ตร.ได้ช่วยอำนวยการจราจรและเร่งเคลียร์พื้นที่ไม่ให้มีปัญหารถติดสะสม ทำให้สภาพการจราจรโดยรวมยังสามารถเคลื่อนตัวได้ต่อเนื่อง

นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ได้กำชับให้รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ติดป้ายเตือนและแนะนำเส้นทางลัดทางเลี่ยงต่างๆ ให้ชัดเจน โดยรฟม.จัดตั้งคณะอนุกรรมการบริหารงานก่อสร้าง มีนายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นประธาน โดยหลักการทำงานเพื่อรับมือในระหว่างการก่อสร้างจะใช้แนวทางเดียวกับการ ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-บางซื่อ และต้องหาวิธีลดผลกระทบของปัญหาการจราจรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

ด้าน นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า การปิดถนนบางจุดเพื่อดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว(เหนือ) ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จะส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด เนื่องจากพื้นที่จราจรบางส่วนถูกปิดทำให้ช่องจราจร ลดลง ขณะนี้รฟม. กทม. และบชน. ได้เตรียมรับมือกับปัญหาโดยการจัดทำแผนการบริหารจราจรเพื่อลดผลกระทบจาก ปัญหาดังกล่าวไว้แล้ว เช่น การจัดทำทางลัด ทางเลี่ยงบริเวณพื้นที่ปิดการจราจร การบริหารจัดการสัญญาณไฟจราจรให้สอดคล้องกับปริมาณการจราจรสะสมในเขตพื้นที่ก่อสร้าง

นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า ต้องขอความร่วมมือไปยังผู้ใช้รถส่วนบุคคลหันไปใช้เส้นทางเลี่ยงอื่นๆแทนเส้น ทางที่ปิดการจราจร เพื่อไม่ให้เป็นการซ้ำเติมปัญหารถติดมากขึ้น นอกจากนี้ รฟม.ยังจะมีทีมงานลงไปพูดคุยกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อรับฟังปัญหา พร้อมรับข้อเสนอแนะนำมาใช้เป็นข้อมูลแก้ปัญหาให้เป็นรูปธรรม ซึ่งขณะนี้ รฟม. ได้เปิดสายด่วน 0-2716-4044 ให้ประชาชนทั่วไป สามารถโทร.มาสอบถามเส้นทาง ร้องเรียนปัญหา หรือเสนอคำแนะนำเพิ่มเติมเข้ามาได้

นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า ระหว่างการปิดพื้นที่จราจรเพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะนำการประเมินผลกระทบด้านการจราจรอย่างต่อ เนื่อง หากจุดไหนทำให้เกิดปัญหาจราจรขั้นวิกฤต หรือผลกระทบเป็นวงกว้างนอกเหนือการควบคุม ก็อาจจะทบทวนหรือปรับแผนการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นดุลพินิจและอำนาจการตัดสินใจของ บชน.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเรื่องการจราจรโดยตรง

นายพีระยุทธกล่าวอีกว่า สำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้าดังกล่าว รฟม.จะต้องดำเนินการทุบสะพานข้ามแยกเกษตรออกเพื่อก่อสร้างแนวเส้นทางรถไฟฟ้า โดยในอนาคตจะมีการสร้างสะพานข้ามแยกเกษตรขึ้นทดแทน โดยจะเป็นสะพานที่เกาะตามโครงสร้างของรถไฟฟ้าดังกล่าว

นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า ส่วนการทุบสะพานข้ามแยกรัชโยธินนั้นจะต้องรอหลังจากดำเนินการรื้อสะพานข้าม แยกเกษตรไปแล้ว คาดว่าประมาณเดือนต.ค.-พ.ย.ปีนี้ จะประกาศปิดสะพานข้ามแยกรัชโยธินต่อไป เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปีเช่นกัน จนกว่าการก่อสร้างรถไฟฟ้าจะแล้วเสร็จ โดยบริเวณที่ต้องมีการทุบสะพานข้ามแยกรัชโยธินออก เพื่อสร้างรถไฟฟ้า แต่จะมีการสร้างอุโมงค์ทางลอดใต้ดินขึ้นมาทดแทนสะพานข้ามแยกเดิม

นายพีระยุทธกล่าวว่า จากกรณีที่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด(มหาชน) ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 1 และกิจการร่วมค้า UN-SH-CH ผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา สัญญาที่ 2 จะเข้ามาดำเนินการติดตั้งแผงป้องกันหรือแบร์ริเออร์ในการรื้อย้ายสาธารณูป โภค เพื่อดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ทางรฟม.มีความจำเป็นจะต้องปิดจราจรและทำทางเบี่ยงการจราจรบนถนนพหลโยธิน 8 จุด โดยจุดที่ 1-6 ปิดจราจรและเบี่ยงจราจรมาตั้งแต่คืนวันที่ 8 ก.ย. ส่วนจุดที่ 7-8 นั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปว่าผู้รับเหมาจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างและปิดการจราจร และเบี่ยงจราจร ในวันที่ 15 ก.ย.นี้ ตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป

นายพีระยุทธกล่าวอีกว่า สำหรับ 8 จุดที่จะปิดการจราจรประกอบไปด้วย 1.บริเวณสะพานข้ามแยกเกษตรฯ จะปิดสะพานเพื่อรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร โดยคืนวันที่ 8 ก.ย.ได้ปิดจราจรตั้งแต่ซอยพหลโยธิน 53 ถึงหน้ากรมส่งเสริมการเกษตรระยะทาง 1,500 เมตร ประชาชน ผู้ใช้ทางสามารถเลี่ยงการจราจร โดยขาออกให้เข้าซอยพหลโยธิน 53 เพื่อออกถนนรัชดาภิเษก ขาเข้าให้เลี้ยวขวาเข้าถนนประเสริฐมนูกิจ เพื่อออกแยกลาดปลาเค้า ถนนรามอินทรา

ส่วนจุดที่ 2 จะเป็นบริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 ระยะทาง 660 เมตร ประชาชนผู้ใช้ถนนสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาออกให้ใช้ซอยพหลโยธิน 49/1 ออกวิภาวดีรังสิต 60 ขาเข้าให้เลี้ยวซ้ายวงเวียนหลักสี่ ออกถนนรามอินทรา เข้าแยกลาดปลาเค้า ผ่านถนน พลาสินธุ์ ออกถนนพหลโยธิน

จุดที่ 3 บริเวณหน้าซอยพหลโยธิน 57-61 ระยะทาง 740 เมตร ประชาชนสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาเข้าให้เข้าซอยพหลโยธิน 48 ผ่านซอยรามอินทรา 5 ออกถนนรามอินทรา

จุดที่ 4 ซอยพหลโยธิน 67-69 ระยะทาง 630 เมตร ประชาชนสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาเข้าให้เข้าซอยพหลโยธิน 50 ผ่านซอยรามอินทรา 5 ออกถนนรามอินทรา

ส่วนจุดที่ 5 บริเวณหน้าตลาดยิ่งเจริญ ระยะทาง 510 เมตร ประชาชนสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาเข้าให้ใช้ซอยพหลโยธิน 52 ผ่านซอยรามอินทรา 5 ออกถนนรามอินทรา

สำหรับจุดที่ 6 บริเวณหน้าโรงเรียนนายเรืออากาศ-แยกสำนักงานคณะกรรมการความปลอดภัย (คปอ.) ประชาชนผู้ใช้ทางสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาออกให้เลี้ยวขวาเข้าซอยพหลโยธิน 54/1 และวิ่งถนนเลียบคลองหกวา ด้านขาเข้าให้เลี้ยวซ้ายเข้าถนนสายไหม เพื่อออกถนนรามอินทรา หรือวิ่งเลียบคลองหกวา เพื่อออกซอยพหลโยธิน 54/1 เป็นต้น

นายพีระยุทธกล่าวต่อว่า ส่วนจุดที่ 7 บริเวณแยกคปอ.-ทางโค้งประตูกรุงเทพฯ และจุดที่ 8 บริเวณหน้าสภ.คูคต-ปั๊มน้ำมันเชลล์นั้น ทางผู้ก่อสร้างจะเริ่มเข้าพื้นที่และปิดการจราจรรวมถึงเบี่ยงจราจรตั้งแต่ เวลา 22.00 น. ของวันที่ 15 ก.ย.ที่จะถึงนี้ โดยจุดที่ 7 บริเวณแยกคปอ.-ทางโค้งประตูกรุงเทพฯ ประชาชนผู้ใช้ทางสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาออกให้เลี้ยวขวาเข้าซอยพหลโยธิน 54/1 วิ่งเลียบคลองหกวา ออกซอยพหลโยธิน 56 หรือ 58 ด้านขาเข้าให้เข้าซอยพหลโยธิน 56 หรือ 58 โดยวิ่งเลียบคลองหกวา เพื่อออกซอยพหลโยธิน 54/1

นายพีระยุทธ กล่าวอีกว่า สำหรับจุดที่ 8 บริเวณหน้าสภ.คูคต-ปั๊มน้ำมันเชลล์ ประชาชนสามารถเลี่ยงเส้นทาง โดยขาออกให้ใช้ถนนเฉลิมพงษ์และถนนสุขาภิบาล 5 เพื่อออกถนนรามอินทรา กรณีที่จะไปรังสิต-นครนายก ให้ไปกลับรถที่ศูนย์การค้าธัญธานี หรือศูนย์การค้าบิ๊กซี คลอง 3 ด้านขาเข้าให้เลี้ยวขวาเข้าซอยลำลูกกา 19 หรือ 21 ออกซอยเปียร์นนท์ โดยจะมีการปิดกั้นผิวจราจรช่องขวาสุดชิดเกาะกลางถนนด้านละ 1 ช่องจราจร ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 1 เดือน

นายพีระยุทธ กล่าวต่อว่า หากบริเวณเกาะกลางถนนดำเนินการเสร็จ ผู้รับเหมาจะเร่งคืนพื้นผิวการจราจรและจะปิดกั้นผิวจราจรด้านซ้ายสุดชิดขอบ ทางเท้าด้านละ 1 ช่องจราจร เพื่อดำเนินการรื้อย้ายระบบสาธาณูปโภคโดยจะใช้เวลาในการดำเนินการ 3 เดือน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่มีการปิดช่องจราจรจะมีการเปิดช่องทางพิเศษ หรือรีเวิร์สซิเบิลเลน (ช่องทางพิเศษสวนเลน) บริเวณวงเวียนหลักสี่ บริเวณซอยสายหยุด บริเวณหน้ากรมทหารราบที่ 11 และหน้าตลาดยิ่งเจริญ

นายพีระยุทธกล่าวด้วยว่า ทางผู้รับเหมาจะรื้อสะพานข้ามแยกเกษตร ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.นี้ เวลา 22.00 น.เป็นต้นไป ตลอด 24 ช.ม. โดยจะใช้เวลา 60 วันในการรื้อสะพาน ซึ่งทางผู้รับเหมาจะเริ่มปิดการจราจรบริเวณทางขึ้น-ลงสะพาน ในเวลา 22.00 น. ของวันที่ 11 ก.ย.

ที่ศาลาว่าการ กทม. นายสมชาย เดชากรณ์ ผู้อํานวยการกองแผนงานและประสานสาธารณูปโภค สำนักการโยธา กทม. กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักการโยธาได้ส่งมอบพื้นที่ให้กับผู้รับเหมา โดยผู้รับเหมาได้จัดทำแผนการหรือย้ายสาธารณูปโภค อาทิ ย้ายโคมไฟ ต้นไม้ รวมทั้งแผนรองรับการจราจร มาเสนอสำนักการโยธาเรียบร้อยแล้ว โดยสำนักการโยธาได้กำชับให้ผู้รับเหมาปฏิบัติงานตามคู่มือก่อสร้างงานสาธาร ณูป โภคอย่างเคร่งครัด และการดำเนินการต้องไม่ให้กีดขวางจราจร อย่างไรก็ตามหากผู้รับเหมาผิดเงื่อนไข สำนักการโยธาสามารถสั่งระงับการก่อสร้างได้ทันที
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 09-09-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.