| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 96 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-09-2558    อ่าน 1229
 กทม.เปิดหน้าดิน "ตลิ่งชัน" บูมแลนด์แบงก์ 300 ไร่รับฮับรถไฟฟ้า

ปัจจุบันทำเลย่านฝั่งธนบุรี รัศมีโดดเด่นขึ้นเรื่อย ๆ หลังมีรถไฟฟ้าบีทีเอสพาดผ่าน อนาคตอันใกล้คาดว่าน่าจะเป็นทำเลทองแห่งใหม่ที่น่าจับตามอง โดยเฉพาะย่าน "ตลิ่งชัน" จะเป็นจุดตัดของรถไฟฟ้า 3 สายทาง

หลัง "กทม.-กรุงเทพมหานคร" มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าบีทีเอสส่วนต่อขยายออกไปอีก จาก "บางหว้า-ตลิ่งชัน" ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมโครงการ มีกำหนดแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2558 จากนั้นจะนำเสนอขออนุมัติจากผู้บริหาร และจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 แล้วเสร็จในปี 2563

โดยโครงการนี้ "กทม." จะปักหมุดพาดยาวบนเกาะกลางถนนราชพฤกษ์ เป็นระยะทาง 7.5 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนรวม 13,763 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าก่อสร้างงานโยธา จำนวน 10,046 ล้านบาท ค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม 3,019 ล้านบาท และค่าบริการทางวิศวกรรม 698 ล้านบาท

"อมร กิจเชวงกุล" รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเส้นนี้ จะทำให้สถานีตลิ่งชันที่จะเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางระหว่าง 3 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (บางหว้า-ตลิ่งชัน) และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-ศาลายา) และสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี)

ซึ่งจะมีการเปิดพื้นที่พัฒนามากขึ้น จะส่งผลให้บริเวณนี้มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีระยะห่างจากสถานี 1 กิโลเมตร สามารถพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม สำนักงาน โรงแรมขนาดใหญ่ ตลาด ศูนย์การค้า และอื่น ๆ อีกมากมาย

เนื่องจากย่านนี้ยังขาดโครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่จะมาช่วยเรื่องรถติดและการเดินทางเข้าถึงพื้นที่รอบนอกรวมถึงมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น กทม.จึงต้องสร้างโครงข่ายใหม่เพิ่มเพื่อมาเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้นในอนาคต

"ตรงสถานีตลิ่งชัน มีพื้นที่ของชาวบ้านเป็นที่ว่างรอการพัฒนาอยู่ประมาณ 300 ไร่ ที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์และที่อยู่อาศัยมารับกับรถไฟฟ้า 3 สายนี้ กทม.มีแผนจะปรับเปลี่ยนสีผังเมืองรวมบริเวณนี้ใหม่เป็นพื้นที่สีแดงและสีส้ม ให้สามารถพัฒนาได้มากขึ้น จากปัจจุบันกำหนดเป็นพื้นที่สีเขียวลายขาวเป็นพื้นที่รับน้ำและเกษตรกรรม ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่มีศักยภาพ"

ส่วนพื้นรอบนอก ห่างจากสถานีก็จะยังคงรักษาให้เป็นพื้นที่เชิงอนุรักษ์ไว้เช่นเดิม เพราะเขตพื้นที่ตลิ่งชันและภาษีเจริญ ยังมีแหล่งโบราณสถาน และสถานที่่ท่องเที่ยวที่สำคัญที่สมควรอนุรักษ์ไว้

เช่น วัดปากน้ำภาษีเจริญ ตลาดน้ำวัดมิมมานรดี วัดปราสาททอง วัดทอง ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม เมื่อรถไฟฟ้าสายนี้เสร็จจะส่งเสริมการเติบโตด้านท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับรายละเอียดโครงการ เริ่มต้นจากจุดเชื่อมต่อกับโรงจอด (Stabling Yard) ปัจจุบันของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายสายสีลม (ช่วงตากสิน-เพชรเกษม) ที่บริเวณสถานีบางหว้า วิ่งไปทางทิศเหนือตามแนวถนนราชพฤกษ์ ใช้พื้นที่เกาะกลางถนนผ่านทางแยกตัดถนนบางแวก และทางแยกตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4

จากนั้นจะยกระดับขึ้นไปข้ามทางแยกตัดทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี และทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ ที่กำลังก่อสร้างตามแนวเขตทางรถไฟ จนสิ้นสุดที่บริเวณทางลาดลงของสะพานข้ามรถไฟฟ้าสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ) ปากทางเข้าซอยราชพฤกษ์ 24

ตลอดเส้นทางจะมี 6 สถานี ได้แก่ 1.สถานีบางแวก อยู่บริเวณปากทางเข้าซอยราชพฤกษ์ 6 2.สถานีบางเชือกหนัง อยู่บริเวณจุดตัดถนนบางแวกและซอยจรัญสนิทวงศ์ 13

3.สถานีบางพรมอยู่บริเวณจุดตัดถนนพรานนก-พุทธมณฑลสาย 4 4.สถานีอินทราวาส อยู่บริเวณด้านหน้าโครงการเดอะเซอร์เคิล

5.สถานีบรมราชชนนี อยู่บริเวณจุดตัดถนนบรมราชชนนี และ 6.สถานีตลิ่งชัน อยู่บริเวณหน้าซอยราชพฤกษ์ 24 สำหรับงบประมาณที่ใช้ในการลงทุน "รองอมร" ระบุว่า กทม.อยู่ระหว่างศึกษาหาทางเลือกระหว่าง กทม.ลงทุนก่อสร้างเอง หรือจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุน อย่างไรก็ตาม เมื่อเปิดใช้บริการ คาดว่าจะมีคนมาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 84,000 เที่ยวคนต่อวัน

อีกทั้งจะทำให้การใช้จ่ายในการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้านี้ลดลงถึงครึ่งหนึ่งของการเดินทางด้วยรถยนต์จากการเดินทางจากภาษีเจริญและตลิ่งชันเข้าไปในตัวเมืองย่านสีลมและในพื้นที่ใจกลางกรุง จากการที่รัฐบาลจะมีการใช้ระบบตั๋วร่วม ทำให้การเดินทางสะดวก รวดเร็ว และประหยัดขึ้น ที่สำคัญจะช่วยแก้ปัญหารถติดฝั่งธนบุรีได้อีกทางหนึ่ง เมื่อประชาชนมีทางเลือกใหม่ในการเดินทางเพิ่ม
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 03-09-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.