| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 85 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-09-2558    อ่าน 1228
 "บิ๊กตู่" สั่งซูเปอร์บอร์ดแก้ กม.เช่าที่ดิน 99 ปี แก้หนี้ รฟท.แลกที่ดินมักกะสัน 6.1 หมื่นล้าน

"บี๊กตู่" ในฐานะประธานซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ สั่งคลัง-มหาดไทยแก้กฎกฎหมายเช่าที่ดินจาก 50 ปี เป็น 99 ปี เปิดทางคลังใช้ที่ดินรถไฟมักกะสันยาวแลกเข้าไปรับหนี้ 61,846 ล้านบาท เผย 7 รัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟูเดินหน้าได้ตามแผน เผยที่ประชุมอนุมัติกฎหมายจัดตั้งซูเปอร์โฮลิ้ง ชี้เดินตามเป้าตั้งบรรษัทฯได้ไตรมาสแรก 59

นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (ครม.) เปิดเผยว่า กรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบให้กระทรวงการคลังได้รับสิทธิในการเช่าที่ดินย่านมักกะสันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในระยะยาวจำนวน 99 ปี เพื่อชำระหนี้คงค้างมูลค่าประมาณ 61,846 ล้านบาท เพื่อให้การบริหารสัญญาเช่าเป็นไปอย่างต่อเนื่องและคุ้มค่าในการลงทุน โดยให้กระทรวงคมนาคมซึ่งกำกับดูแลให้ รฟท. เร่งพิจารณาดำเนินการส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี

นายกรัฐมนตรีจึงสั่งการให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยแก้ไขกฏหมายและเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)โดยเร็วเพื่อรองรับการดำเนินการโอนสิทธิการใช้ประโยชน์ที่ดินให้ได้ระยะเวลา 99 ปี ซึ่งติดปัญหาพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ที่กำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 50 ปี จึงมอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยไปดำเนินการแก้กฎหมายให้เร็วที่สุด โดยเมื่อแก้ไขแล้วกฎหมายนี้จะบังคับใช้เป็นการทั่วไป ไม่ใช่ใช้บังคับกับเฉพาะที่ดินของ รฟท.ที่มักกะสันเท่านั้น

ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวว่า ปัจจุบัน รฟท.มีหนี้สินอยู่ 1 แสนกว่าล้านบาทโดย 8.5 หมื่นล้านเป็นหนี้ของ รฟท.เอง และส่วนที่เหลือประมาณ 3 หมื่นล้านเป็นหนี้ของแอร์พอร์ตลิ้งค์ จึงต้องหาทางนำที่ดินที่มีอยู่มาบริหารจัดการ ซึ่งการให้ใช้สิทธิได้ 99 ปีนั้นจะทำให้ประเมินได้มูลค่าที่ดินสูงสุดคือ 61,846 ล้านบาท แต่หลังกระทรวงการคลังเข้ามารับหนี้ส่วนนี้ไปแล้วจะยังเหลือหนี้อีกส่วนหนึ่งก็ต้องหาทางแก้ไขต่อไป

สำหรับแผนการดำเนินงานของ รฟท.หลังจากนี้จะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนมากขึ้นเพื่อให้รายได้ของ รฟท. มาจากเรื่องของการขนสินค้าและการใช้ประโยชน์จากที่ดินมากขึ้น ในส่วนของที่ดินผืนอื่น ๆ ก็ต้องมีการประเมินตามมูลค่าและปรับขึ้นค่าเช่าให้เหมาะสม โดยจากการดำเนินการต่าง ๆ นี้ภายใน 5 ปีต้องเห็นผลชัดเจนคือหนี้ต้องลดลงและสามารถสร้างรายได้และมีการเติบโต

นายกุลิศกล่าวว่า รับทราบการแก้ไขปัญหาในภาพรวม ทั้ง 7 แห่ง มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาเป็นไปตามแผนทุกแห่ง โดยในส่วนของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้และการหาพันธมิตรร่วมทุนซึ่งขณะนี้ไอแบงก์ได้จ้างที่ปรึกษาทางการเงินมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งการประชุม คนร.ครั้งหน้าคาดว่าจะมีแผนที่ชัดเจนขึ้น แต่ล่าสุดธนาคารก็สามารถลดหนี้เสียลงได้จาก 5.3 หมื่นล้าน เหลือ 4.8 หมื่นล้านบาท

นายกรัฐมนตรีสั่งการให้เร่งดำเนินการในหลายเรื่องเช่นกรณีของ รฟท.ก็ให้เร่งแก้ปัญหา ขสมก.เร่งให้จัดซื้อรถเมล์มาให้ได้สักที การลงทุนโครงการพื้นฐานก็ต้องเร่งให้เกิดผลโดยเร็วให้ดูเรื่องเอกชนเข้ามาร่วมลงทุนโครงการต้องเกิด ยึดเกิดผลเป็นรูปธรรม

สำหรับ ธพว.ซึ่งมีหนี้หนี้ลดลง ได้ให้ไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์กร และให้เปิดหน่วยบริการนำร่องในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ จ.ตาก สำหรับ ขสมก. ให้กระทรวงคมนาคมศึกษาโครงการในเรื่องการจัดหารถโดยสาร 489 คันให้เหมาะสม เช่น การจัดหารถพลังงานไฟฟ้า การปรับปรุงรถเดิมให้มีประสิทธิภาพ สำหรับการปฏิรูปเส้นทางขอให้กำกับให้เป็นไปตามแผน กรณีของ รฟท. เห็นชอบการแก้ไขปัญหาหนี้สินรถไฟโดยการนำที่ดินแปลงมักกะสันเพื่อชำระหนี้ดังกล่าวไปข้างต้น

ส่วนของบริษัทการบินไทยแม้จะยังมีผลขาดทุนแต่เมื่อเจาะลึกลงไปในแผนจะเห็นว่าบริษัทฯสามารถดำเนินการตามแผนฟื้นฟูได้ดีทั้งเรื่องของการปรับเอเยนซี่การเออรี่รีไทร์และการขายเครื่องบิน และกรณีของบริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ตามเป้า ส่วนแผนการทำธุรกิจยังต้องรอความชัดเจนของนโยบายดิจิทัลอีโคโนมีเพื่อดูว่าทั้ง 2 บริษัทจะเข้าไปเสริมนโยบายนี้ในส่วนใดได้บ้าง

นายกุลิศกล่าวว่า ซุปเปอร์บอร์ดยังได้เห็นชอบกฎหมายเพื่อการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ (ซูเปอร์โฮลดิ้ง) หลังจากได้มีการปรับปรุงมาแล้ว ซึ่งหลังจากนี้จะได้นำเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ตามลำดับต่อไป

ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็ว คนร.ยังเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ (ซุปเปอร์โฮลดิ้ง) ซึ่งมีกรรมการ 7 คน โดยมีนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฯ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการ ธปท. เป็นประธาน และผู้อำนวยการ สคร. เป็นกรรมการและเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดแผนงานและกรอบระยะเวลาในการจัดตั้งบรรษัทฯ กำหนดรูปแบบการกำกับดูแลและความเชื่อมโยงระหว่างบรรษัทฯ และรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในการกำกับ โครงสร้างและอัตรากำลังของบรรษัท กำหนดค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ให้กับคณะกรรมการและบุคลากรของบรรษัท และกำหนดงบประมาณในการดำเนินงานของบรรษัทฯ

โดยอนุกรรมการชุดนี้จะทำงานเตรียมการไปในช่วงระหว่างรอกฎหมายตั้งซูเปอร์โฮลดิ้งซึ่งเมื่อกฎหมายออกแล้วจะได้สามารถดำเนินการตั้งได้ทันทีซึ่งขณะนี้ถือว่ากระบวนการตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติเป็นไปตามกรอบเวลาที่วางไว้ซึ่งคาดว่าจะสามารถตั้งได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2559 แน่นอน และขณะนี้รัฐวิสาหกิจที่จะอยู่ภายใต้ซุปเปอร์โฮลดิ้งยังเท่าเดิมคือ 12 แห่ง ทั้งนี้ ล่าสุด สคร.ได้ดำเนินการจัดการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ให้แก่สหภาพแรงงานและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยในหลักการของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ

นายกุลิศกล่าวว่า สำหรับเรื่องอื่น ๆ คนร. ได้เห็นชอบในหลักการของร่างแผนพัฒนาระบบรัฐวิสาหกิจตามที่คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจที่มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอเพื่อเป็นการกำหนดทิศทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจทุกแห่งและรวมถึงนโยบายการกำกับดูแลในภาพรวม ซึ่งร่างแผนดังกล่าวเป็นการจัดทำเพื่อรองรับกฎหมายว่าด้วยการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ที่จะประกาศใช้ในอนาคต และกำหนดให้ดำเนินการจัดทำฉบับสมบูรณ์ควบคู่ไปกับการเสนอกฎหมายการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ

ในส่วนความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเปิดเผยข้อมูลโครงการก่อสร้างภาครัฐ (Multi-StakeholderGroup) สำหรับโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ (CoST) คณะอนุกรรมการ CoST ได้มีมติให้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย ในฐานะหน่วยงานนำร่องโครงการ CoST ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลเชิงรุกเพิ่มเติมอันได้แก่ 1. การจัดซื้อจัดจ้าง 2. การบริหารจัดการสัญญา (Implementation) และ 3. การสิ้นสุดโครงการ (Project Completion) ทั้งนี้ให้ปรับเปลี่ยนข้อมูลที่เปิดเผยบนเว็บไซต์ โดยให้คงเปิดเผยเฉพาะโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 –2560) เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความคืบหน้าในการดำเนินการในปัจจุบัน และจัดตั้ง Assurance Team เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้มีการเปิดเผย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-09-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.