| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 76 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 27-08-2558    อ่าน 1213
 สมาคมสถาปนิกสยามฯ ระดมความเห็น หวังรัฐทบทวนโครงการทางเลียบเจ้าพระยา

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ (ASA) ร่วมกับกลุ่ม (FOR) Friend of the river ร่วมกันจัดเสวนา ASA Talkative ตอน “คำถามจากพื้นที่ริมน้ำ 14 ก.ม.” เพื่อหวังว่าจะเป็น อีกหนึ่งเสียงสะท้อนจากชุมชนที่อาศัยอยู่พื้นที่ริมแม่น้ำสะท้อนถึงรัฐบาลหรือผู้ดูแลโครงการทางจักรยานคนเมืองริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นระยะทางฝั่งละ 7 กิโลเมตร รวม 14 กิโลเมตร

งานนี้ได้ชวนเหล่าผู้ที่เกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบมาร่วมพูดคุยและรับฟังความคิดเห็นจากหลายฝ่าย นำโดย พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ, ดวงฤทธิ์ บุนนาค สถาปนิกจาก DBALP และเจ้าของโครงการ The Jam Factory, รศ.ดร.พนิต ภู่นิดา อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ สถาปนิกเจ้าของรางวัลศิลปินดีเด่นศิลปาธร, ฮิวโก้-จุลจักร จักรพงษ์ ศิลปินนักร้องที่มีบ้านอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา, ยศพล บุญสม ภูมิสถาปนิก และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Friends of the River ฯลฯ



พิชัย วงศ์ไวศยวรรณ นายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ กล่าวว่า สมาคมฯ ถือเป็นองค์กรอิสระทางวิชาชีพที่มีบทบาทสำคัญเพื่อสร้างสรรค์ ความเจริญงดงามทางสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมของชาติ จึงอยากให้รัฐบาลและคณะทำงานโครงการได้ทบทวนการดำเนินงานโครงการดังกล่าวอย่างรอบคอบอีกครั้ง เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ คลอบคลุมพื้นที่ตลอดแนว 2 ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีทั้งวัด โบราณสถานที่สำคัญ สถานที่ราชการ พื้นที่เอกชน และชุมชนริมน้ำ ซึ่งมีวิถีชีวิตที่ควรอนุรักษ์

รัฐบาลไม่ควรดำเนินการรีบเร่งอย่างที่เป็นอยู่ แต่ควรศึกษารายละเอียดผลกระทบต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบต่อวิถีชุมชน สิ่งแวดล้อม การป้องกันน้ำท่วม รวมไปถึงหน่วยงาน หรือผู้รับผิดชอบดูแลหลังจากที่โครงการแล้วเสร็จ ซึ่งแต่ละพื้นที่ตลอดแนวโครงการก็มี ปัญหาที่แตกต่างกันออกไป

สองริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นพื้นที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชุมชนในชาติ ซึ่งมีความผูกพันกับสายน้ำมาอย่าง ยาวนาน หากว่ากรุงเทพมหานครกำลังจะใช้จุดแข็งตรงนี้ผลักดันให้พื้นที่อันเป็นภูมิทัศน์วัฒนธธรมแห่งแม่น้ำเจ้าพระยานี้เป็นมรดกของโลก โครงการก่อสร้างนี้อาจจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการนำเสนอเป็นมรดกโลก และทำลายวิถีชีวิตอันป็นรากเหง้าของมรดกทางวัฒนธรรมนั้นลงก็เป็นได้

รวมไปถึงการขอให้รัฐบาลทบทวนการใช้งบประมาณให้คุ้มค่า เนื่องจากพื้นที่ในกรุงเทพมหานครนั้นสามารถสร้างเส้นทางจักรยานในเส้นทางอื่นได้ด้วยการลงทุนที่น้อยกว่ามาก หรืออาจจะสร้างโครงการนำร่องเฉพาะบางพื้นที่เพื่อเป็นกรณีศึกษารายละเอียดที่เหมาะสมก่อนก็ได้



ด้าน ฮิวโก้-จุลจักร จักรพงษ์ กล่าวว่า รู้สึกเสียดายทิวทัศน์ที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเลย หากใครมีภาพอดีตที่เป็นขาวดำ ตั้งแต่กล้องเริ่มผลิตมาแรก ๆ ทิวทัศน์สองฝั่งแทบไม่ได้เปลี่ยนเลย ที่สำคัญประเทศไทยเป็นประเทศที่หลากหลาย สิ่งที่ยึดเหนี่ยวคือ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ซึ่งถูกมองข้ามไป

ผมเองไม่เข้าใจ ผมไม่ใช่คนโง่ แต่ผมอาจฉลาดไม่พอ ที่จะเข้าใจโครงการนี้มีประโยชน์ตรงไหน ผมมีคำถามเยอะมาก อยากรู้ว่าข้อเสียของการไม่สร้างคืออะไร ผมไม่เห็นเลย อยู่เฉย ๆ โดยไม่สร้างก็ไม่มีอะไรแย่ลง ใครอยากได้ ถ้าผมได้ยินเสียงคนริมแม่น้ำหรือประชาชนส่วนใหญ่ผมก็ว่าฟังขึ้น แต่ผมยังไม่ได้ยินเสียงเหล่านี้

เราอยู่ในยุคของการปฏิรูป โปร่งใส ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทดสอบปรัชญาใหม่กับ การเมือง การใช้งบประมาณที่โปร่งใส ถูกต้อง ไม่มีคอร์รัปชัน การเร่งรีบ ความสิ้นเปลืองทำให้ผมนึกถึงโครงการ โฮปเวล ประเทศไทยไม่ได้รวยขนาดนั้น ผมไม่ได้ต่อต้านหรือโจมตี แต่การรีบร้อนทำให้สิ้นเปลือง สร้างอะไรไปแล้วมาซ่อมรื้ออีก



ส่วนกลุ่ม FOR แสดงข้อคิดเห็น 6 ประเด็น ได้แก่ 1.ถือเป็นโครงการที่จัดทำอย่างเร่งด่วน ขาดการพิจารณาอย่างรอบด้าน โดยผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง 2.ลำน้ำแคบลง 15-20 % ทำให้กระแสน้ำเร็วขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการกัดเซาะตลิ่งและยกตัวสูงขึ้นในฤดูน้ำหลาก 3.ระบบนิเวศ เกิดปัญหา น้ำเน่าเสียและเป็นที่สะสมขยะใต้ทางเดินริมน้ำ ส่งผลให้คุณภาพน้ำแย่ลง 4.ทำลายการเชื่อมต่อระหว่างคนกับแม่น้ำ ชุมชนริมน้ำเกิดผลกระทบเรื่องความปลอดภัยและเพิ่มจุดเสี่ยงของปัญหาด้านอาชญากรรม และแหล่งมั่วสุม 5.ด้านผังเมือง รูปแบบเดียวตลอด 14 ก.ม. ของโครงการไม่สอดคล้องกับความหลากหลายของการใช้ที่ดิน ไม่สอดคล้องกับโครงข่ายคมนาคมและการเชื่อมต่อในพื้นที่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต 6. เป็นการสร้างสิ่งแปลกปลอมในลำน้ำ ทำลายทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและบดบังสถาปัตยกรรมที่สำคัญ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 27-08-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.