| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 26 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 14-08-2558    อ่าน 1339
 ตลาดอสังหาฯ สู้ด้วยราคา

คอลัมน์ ก่อสร้างและที่ดิน
โดย นาย ต.
นิตยสารมติชนสุดสัปดาห์


ยังไม่ถึงขั้นที่จะเรียกว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ บ้านจัดสรร คอนโดมิเนียม เปิดศึกสู้กันด้วยสงครามราคา

เพียงแต่เริ่มพบว่า แบรนด์ใหญ่ๆ ของอสังหาริมทรัพย์แทบทุกแบรนด์ มีการขยับปรับระดับราคาขายต่ำลง ทั้งที่ปกติแล้วแบรนด์ใหญ่ผู้นำตลาดจะระมัดระวังและหลีกเลี่ยงที่จะใช้ราคา เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงลูกค้าเพราะจะทำให้เสียภาพลักษณ์

สาเหตุที่มาทีไปพอจะเข้าใจได้

กำลังซื้อที่ลดลงอย่างน่าใจหาย ตั้งแต่จำนวนลูกค้าที่แวะมาเยี่ยมชมโครงการ อัตราการจองซื้อ และลามไปจนถึงการโอนกรรมสิทธิ์ ล้วนลดลง

กำลังซื้อที่ลดลงเพราะรายได้ของผู้บริโภคลดลงนั้น มีอยู่จริง แต่ไม่มาก แต่ที่มีผลมากต่อกำลังซื้อคือความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจ ไม่มั่นใจรายได้ในอนาคต อยากเก็บเงินสดไว้กับตัวก่อน ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่ตัดสินใจซื้อ

โดยเฉพาะสินค้าราคาสูงอย่างบ้าน คอนโดฯ หรือรถยนต์

แต่ที่กระหน่ำซ้ำอสังหาริมทรัพย์เข้ามาอีก ก็คือ บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุด ที่ขายไปแล้วทำสัญญากับลูกค้าไปแล้ว ไหลย้อนกลับมาอยู่ในมือใหม่อีกรอบ เพิ่มปริมาณจำนวนยูนิตที่ต้องทำตลาดขายอีกไม่น้อย

ทางหนึ่ง มือจากลูกค้าถูกแบงก์ปฏิเสธการปล่อยกู้ เพราะแบงก์เห็นหนี้ครัวเรือนสูง เห็นหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น แบงก์จึงเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยกู้ อัตราการปฏิเสธจึงสูงขึ้น แม้ไม่มีตัวเลขอย่างเป็นทางการ แต่ว่ากันว่า 10-40% กันเลยทีเดียว

อีกทางหนึ่ง โครงการที่มีการเก็งกำไรกันมากๆ นักเก็งกำไรหมดแรง ไม่ยอมมาโอน

ครั้นเมื่อมองไปข้างหน้า ก็พบว่า ยังไม่มีมาตรการใดๆ ที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว หรือแม้แต่จะหยุดการรูดไหลชะลอตัว ตรงกันข้าม มองเห็นแต่ข่าวไม่ดีรออยู่ข้างหน้าอีกหลายเรื่อง

ดังนั้น การรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้ จึงมีแต่ต้องเร่งการขายโครงการที่มีเปิดขาย ชะลอโครงการใหม่ที่ยังไม่มั่นใจ

กลยุทธ์เร่งขาย เมื่อใช้กระบวนท่าต่างๆ แล้ว ยอดยังไม่มาตามเป้าหมาย ย่อมต้องงัดวิชาสุดท้าย ว่าด้วยราคา มาใช้กัน

บางแบรนด์ใหญ่กับบางโครงการ ก็ใช้วิธีการตรงไปตรงมา ลดราคาให้เห็นๆ ลดกันเป็นล้านบาท แบบยอมให้ลูกค้าที่โอนไปแล้วด่าก็ยอม เพราะต้องการปิดโครงการ และต้องการกระแสเงินสดเข้ามาสำรอง

บางแบรนด์ใหญ่ มีสินค้าหลากหลาย มีวิธีการตั้งราคาไม่เฉลี่ยเหมารวม อาจสังเกตเห็นยาก แต่ถ้าผู้ซื้อเทียบราคาต่อตารางวา ต่อตารางเมตร ก็จะพบว่ามีการลดราคาให้แบบไม่โฉ่งฉ่าง

มีรายงานว่า วิธีดังกล่าวนี้ได้ผลดียิ่ง

เพราะกำลังส่วนใหญ่ที่หดหายไป ไม่ใช่ไม่มีเงิน แต่เป็นเรื่องความเชื่อมั่น แต่หากเงื่อนไขการเสนอขายดีเป็นพิเศษแบบไม่เคยมีมาก่อนแบบนี้ ไม่ว่าจะแบบตรงๆ หรือแบบเงียบๆ ผู้ซื้อที่มีเงินอยู่แล้วย่อมอดใจไม่ได้

เพราะการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องระยะยาว 20-30 ปี ส่วนเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่อง 1-2 ปี สถานการณ์ก็เปลี่ยน

เมื่อแบรนด์ใหญ่ลงเล่นกลยุทธ์สุดท้าย คือ เรื่องราคาแล้ว คาดการณ์ได้ว่า รายกลาง รายเล็กที่เหลือก็ต้องลงเล่นกันหมด

แน่นอนเกมยังอยู่ในระดับ เล่นเกมเพื่อความปลอดภัย ยังไม่ใช่เกมหนีตาย ยังไม่อันตรายทั้งระบบ

ผู้ที่จะได้รับโชคในช่วงเวลาแบบนี้ ก็คือผู้บริโภคที่ต้องการที่อยู่อาศัยและมีกำลังซื้อพร้อม

มีเงิน มีความต้องการ ก็ซื้อเถอะ

อยู่บ้านดีๆ รอสถานการณ์คลี่คลายด้วยใจสงบ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ ] วันที่ 14-08-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.