| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 175 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 09-07-2558    อ่าน 1223
 ล้มแผนรื้อสะพาน"รัชโยธิน" รฟม.ยกตอม่อ18เมตรสายสีเขียว เปิด4โมเดลแก้รถติดรัชโยธิน

ถึงจะเป็นมติคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ออกมาจะไม่ทุบ "สะพานแยกรัชโยธิน" และไม่ขุด "อุโมงค์ทางลอด" บนถนนรัชดาภิเษก เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนคนกรุงช่วงสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวต่อขยายสายหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต

ITD สูญกว่าพันล้าน

แต่ยังไม่ถือเป็นที่ยุติ เมื่อ "รฟม." ต้องนำแบบใหม่ จะสร้างทางยกระดับพาดยาว 3 แยก ระยะทาง 2 กม. จากหน้าตึกช้างยกข้าม "แยกรัชโยธิน-เสนา-เกษตร" เกาะใต้โครงสร้างรถไฟฟ้า หารือ "กทม.-กรุงเทพมหานคร" ก่อน


รวมถึงหารือ "บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์" ผู้รับเหมาก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ เมื่อค่างานลดลง 1,200 ล้านบาท จากที่เซ็นสัญญาไป 15,279 ล้านบาท เหลือ 14,000 ล้านบาท

"พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ" ประธานบอร์ด รฟม.กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดวันที่ 3 ก.ค.หารือการแก้ปัญหาจราจรแยกรัชโยธิน หลังกทม.ไม่ให้ทุบสะพานข้ามแยกและสร้างอุโมงค์ทางลอด เพราะใช้เวลาสร้างนาน 3 ปี จะทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากปัญหารถติด




เปิด 4 โมเดลแก้รถติดรัชโยธิน

โดย รฟม.เสนอบอร์ดพิจารณา 4 รูปแบบ (ดูรูป) คือ 1.สร้างตามสัญญาเดิม คือ ทุบสะพาน สร้างอุโมงค์ทางลอดแทน และสร้างสะพานข้ามแยกแนวถนนพหลโยธินใต้โครงสร้างรถไฟฟ้า ข้อดีคือ จะแก้จราจรได้สมบูรณ์ แต่ใช้เวลานาน 3 ปี

2.ไม่ทุบสะพาน สร้างโครงสร้างรถไฟฟ้าสูงขึ้น 2 เมตร จาก 16 เมตร เป็น 18 เมตร แต่ทุบสะพานแยกเสนาและเกษตรศาสตร์แทน เพื่อสร้างถนนยกระดับขนาด 2 ช่องจราจรไป-กลับจากแยกรัชโยธินถึงแยกเกษตร ข้อดี คือ ประหยัดค่าก่อสร้างได้ 1,200 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ค่างานของ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ลดลงไปด้วย แต่ไม่มีปัญหาเนื่องจากในสัญญาระบุไว้ให้ปรับลดได้ วิธีนี้เทียบกับรูปแบบที่ 1 จะแก้จราจรได้ 90% และมีข้อเสียเรื่องเทคนิคก่อสร้าง เพราะการสร้างถนนยกระดับยาวถึงแยกเกษตร จะชนกับชั้นชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้าหรือไม่ รวมถึงต้องทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม เพราะมีแก้ไขแบบ

3.ทุบสะพานแล้วสร้างใหม่ยกสูง 24 เมตร ข้ามโครงสร้างรถไฟฟ้าและสร้างถนนยกระดับข้ามแยกแนวพหลโยธิน วิธีนี้จะเสี่ยง เพราะต้องสร้างสะพานมีความยาวมาถึงถนนวิภาวดีและหน้าศาลรัชดา และ 4.ไม่ทุบสะพาน จะสร้างเฉพาะโครงสร้างรถไฟฟ้าคร่อม

"บอร์ดเห็นว่ารูปแบบที่ 2 เป็นไปได้มากที่สุด รฟม.จะไปคุยกับ กทม.หาข้อสรุป รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทางเทคนิคดำเนินการได้หรือไม่ จะสร้างทางยกระดับยาวตลอดจากรัชโยธิน-เกษตร"

เลื่อนปิดพหลโยธินไปปลายปี

ด้าน "พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล" ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า จากที่บอร์ดมีมติให้ปรับเนื้องานสัญญาที่ 1 จะส่งผลต่อการส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับเหมาล่าช้าออกไปจากเดิม ก.ย.นี้ รวมถึงอาจจะต้องเลื่อนปิดการจราจรเป็นปลายปี เพราะรอ กทม.อนุมัติแบบและอนุญาตให้ใช้พื้นที่ด้วย แต่จะเจรจาว่าตรงไหนที่ยังไม่มีปัญหาจะเริ่มสร้างไปก่อนเพราะโครงการล่าช้ามานาน

ขณะที่ "รฟม.-กทม." กำลังหาจุดลงตัวสร้างรถไฟฟ้าสีเขียว "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต" ที่ไม่รู้ถึงที่สุดแล้วสิ่งที่ รฟม.เสนอนั้น ฝั่ง "กทม." จะโอเคหรือไม่

ที่น่าจับตาไม่แพ้กัน "สัมปทานเดินรถสายสีเขียว" จากแบริ่ง-สมุทรปราการ 12.8 ที่ "กทม." อยากจะรับเป็นเจ้าภาพบริหารโครงการหลัง "รฟม." สร้างเสร็จ อีกทั้งยังรับทุกข้อเสนอทั้งจ่ายค่าก่อสร้างและเวนคืนที่ดินให้ในวงเงินกว่า 17,000 ล้านบาทเพื่อให้เดินรถต่อเนื่องโดยบีทีเอสรายเดียว ตามที่ "บิ๊กจิน-พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" เจ้ากระทรวงคมนาคมเสนอไอเดีย

รฟม.โชว์พร้อมเดินรถสีเขียว

ล่าสุด "บอร์ด รฟม." ก็ออกมาเปรย ๆ หากหาข้อยุติ กทม.ไม่ได้ "รฟม." พร้อมเดินรถเอง


พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า โครงการจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน 2556 และทำรายงานการศึกษาให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ รฟม.เดินรถเอง โดยจะตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 พิจารณาจะเปิดประมูลหรือเจรจาบีทีเอส เพื่อให้เดินรถต่อเนื่อง

"ต้องเร่งเพราะงานก่อสร้างคืบไปกว่า 60% ถ้าไม่มีรถวิ่งจะเหมือนสีม่วง จะให้เวลา กทม. 2 สัปดาห์ จากนั้นจะประชุมหารืออีกครั้ง"

ส่วนการเดินรถหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 18.7 กม. ที่ กทม.จะขอเดินรถด้วย พล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า ยังไม่คุยเพราะเป็นข้อเสนอใหม่ กทม. เพื่อลดความเสี่ยงการเดินรถช่วงแบริ่ง-สมทุรปราการ ที่ใช้เวลาหลายปีกว่าจะคุ้มทุน ซึ่งการเดินรถช่วงนี้ ต้องเข้าคณะกรรมการยุทธศาสตร์การร่วมลงทุนรัฐและเอกชนหรือ PPP

ขณะที่ผู้ว่า รฟม.ย้ำว่า "กทม.ยังไม่สรุปจะนำเงินจากไหนมาชำระคืน การประชุมครั้งต่อไปจะเชิญคลังมาหารือด้วย เพราะ รฟม.กู้เงินมาสร้าง ถ้า กทม.จะรับโอนโครงการ ต้องเป็นลูกหนี้คลังแทน และคลังจะว่ายังไงหาก กทม.จะขอปลอดหนี้ 10 ปี แต่หาก รฟม.เดินรถเอง คาดว่าจะใช้เวลา 6 เดือนเจรจาบีทีเอส"

กทม. ขอผ่อนชำระหนี้ปี′72

ด้าน "อมร กิจเชวงกุล" รองผู้ว่า กทม.กล่าวว่า กทม.พร้อมจะรับโอนสายสีเขียวทั้ง 2 ช่วงพร้อมกับชำระหนี้คืนให้ รฟม. เพื่อให้เดินรถต่อเนื่อง ส่วนวิธีการ กทม.จะจ้าง บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือบีทีเอสซี ผู้รับสัมปทานเดิม รูปแบบไหนจะหารือต่อไป จะจ้างระยะยาวหรือให้สัมปทาน

"กทม.ทาบทามบีทีเอสแล้วเดินรถนอกเขต กทม. บริษัทก็พร้อมเพราะมีรถวิ่งต่อจากสถานีแบริ่งทันทีหากงานโยธาเสร็จ จะทยอยเปิดปลายปี"59 จะเปิด 1 สถานีคือ สถานีสำโรง กทม.มั่นใจว่าค่าโดยสารจะสามารถบริหารจัดการไม่แพงเกินไปได้"

นายอมรกล่าวอีกว่า การชำระหนี้ให้ รฟม. ตามที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่า กทม.แสดงเจตจำนงไว้ กทม.จะมีกระแสเงินสดเพื่อชำระหนี้ให้ปี 2572 ซึ่งเป็นปีสัมปทานเดิมบีทีเอสหมด และ กทม.จะมีรายได้ค่าโดยสารเต็ม 100% จากเดิมไม่มี เพราะเป็นการลงทุนของเอกชนทั้งหมด

สุดท้ายหวยจะออกที่ "กทม.หรือ รฟม." ต้องดูกันต่อไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 09-07-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.