| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 114 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 03-07-2558    อ่าน 1372
 จีน-ญี่ปุ่นชิงดำวางระบบรถไฟชุมทาง"ภาชี" ส้มหล่น2สถานีใหม่"ปางอโศก-โคกสะอาด"บิ๊กตู่ขอดูแบบส.ค.นี้

อัพเดตเมกะโปรเจ็กต์ "บิ๊กตู่" ตีกรอบ ส.ค.นี้ ขอดูรูปแบบการลงทุนโครงการหลังจีนชั่งใจนาน ขณะที่จีนลงสำรวจพื้นที่มินิไฮสปีดเฟสแรก "กทม.-แก่งคอย-โคราช" ผงะท่อก๊าซ ปตท.ขวางหวั่นเขตทางไม่พอวางราง รื้อแบบจอดป้ายเพิ่ม 2 สถานีใหม่ "ปางอโศก-โคกสะอาด" รับขนคน-สินค้า วงในเผยหวั่นไม่ทันตอกเข็ม ต.ค. 58 ด้าน "ญี่ปุ่น" เริ่มคิกออฟไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ก.ค.นี้ แต่ขอเวลา 2 ปีศึกษา+ออกแบบ รักษามาตรฐานโลก ลุ้นชิงดำวางระบบช่วง กทม.-ภาชี 81 กม.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 30 มิ.ย.-1 ก.ค. 2558 คณะกรรมการร่วมไทย-จีนประชุมครั้งที่ 5 จ.นครราชสีมา ติดตามความคืบหน้ารถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม. เช่น การสำรวจพื้นที่ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รูปแบบลงทุน กรอบวงเงิน การฝึกอบรมบุคลากรระยะสั้น กลาง ยาว การถ่ายทอดเทคโนโลยี และข้อตกลงกรอบการทำงาน (Framework Agreement)

เพิ่มสถานี-ส่งรายงานบิ๊กตู่

รายละเอียดทั้งหมดจะสรุปได้ ส.ค.นี้ หลังผลศึกษาความเป็นไปได้และแบบรายละเอียดเสร็จ เพื่อทราบเงินลงทุน จึงจะกำหนดรูปแบบลงทุนระหว่างรัฐบาลไทยและจีน วงเงินกู้ อัตราดอกเบี้ย โดยจะรายงานให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีรับทราบ ส.ค.นี้

"จะเน้นสำรวจกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราชก่อน มีผลศึกษาไฮสปีดเทรนเดิมซึ่งจีนต้องปรับความเร็วลงรองรับขนส่งสินค้า เพิ่มจุดที่ตั้งสถานี 2-3 สถานี เพื่อหลีกและรับผู้โดยสารด้วย ส่วนหนองคายเป็นสถานีปลายทาง ปรับมาให้บริการในประเทศและระหว่างประเทศ รับรถไฟจีน-ลาวที่เวียงจันทน์"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยเพิ่มเติมว่า การลงทุนมี 2 รูปแบบ โดยรูปแบบแรก ไทยรับผิดชอบโครงสร้างพื้นฐานและงานระบบไฟฟ้า จ้างจีนบริหารการเดินรถและซ่อมบำรุง โดยจีนเป็นผู้รับผิดชอบหลักช่วง 3 ปีแรก ปีที่ 4-7สองฝ่ายร่วมกันรับผิดชอบ 50 : 50 หลังปีที่ 7 ไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

ลุ้นจีนร่วมลงทุนเดินรถ

ทั้งนี้ ไทยอยากให้จีนร่วมลงทุนการเดินรถ โดยตั้งบริษัทใหม่ร่วมกันตั้งแต่ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า จัดซื้อขบวนรถ บริหารจัดการเดินรถ และซ่อมบำรุง เพื่อช่วยทำการตลาดดึงคนและสินค้าจากจีนตอนใต้มาใช้บริการ หากว่าจ้างจีนเดินรถอย่างเดียว เท่ากับไทยจะต้องทำตลาดฝ่ายเดียว โอกาสคุ้มค่าจะน้อย

รูปแบบที่ 2 ไทยและจีนร่วมลงทุนทั้งงานโครงสร้างพื้นฐาน เดินรถ และระบบรถ เพื่อรับผิดชอบหาแหล่งเงินลงทุน

"ตอนนี้ยังสรุปอะไรไม่ได้ รอผลสำรวจและแบบ แต่การแบ่งความรับผิดชอบ หาแหล่งเงิน การให้เงินกู้ จีนไม่ขัดข้อง เช่น ใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศใช้เงินกู้ไทย ทางจีนพร้อมให้กู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษซื้อระบบรถ ต้องคุยรายละเอียดต่อ จีนยังไม่ให้คำตอบใด ๆ ทั้งสิ้น"

หวั่นพื้นที่-เทคนิคทำให้ช้า

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าจีนลงสำรวจพื้นที่และพบปัญหาช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี มีการก่อสร้างหลายโครงการ ทั้งสายสีแดง แอร์พอร์ตลิงก์และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ของญี่ปุ่นทำให้เขตทางก่อสร้างอาจจะไม่พอ และช่วงคลอง 1-คลองพุทรา อยู่ใกล้แนวท่อน้ำมันและก๊าซ ปตท. อาจจะไม่ปลอดภัย ต้องสร้างห่างออกไปจากแนวเดิม 13 เมตร

อีกทั้งคอนเซ็ปต์โครงการต่างจากรถไฟความเร็วสูง เช่น ความเร็ว การบริการ เพราะรถไฟความเร็วสูงเน้นผู้โดยสารเป็นหลัก แต่รถไฟไทย-จีนจะมีการขนส่งสินค้าด้วย จึงต้องสร้างสถานีเพิ่มเพื่อรอหลีกการเดินรถในระยะแรกจาก กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทางรวม 271.5 กม. ได้แก่ สถานีภาชี สถานีแก่งคอย สถานีปางอโศก และสถานีโคกสะอาด กับต้องปรับรูปแบบสถานีสระบุรี และการใช้งานโครงสร้างช่วงสถานีบางซื่อ-รังสิตใหม่ พยายามไม่ให้เปลี่ยนแปลงมากเพื่อจะได้ใช้ผลศึกษาเดิมของไฮสปีดเทรนมาใช้ ลดเวลาจัดทำรายงานอีไอเอ

"จากปัญหาด้านเทคนิคการก่อสร้าง อาจจะทำให้โครงการล่าช้า ถ้าแบบไม่เสร็จก็นำไปสู่การพิจารณารูปแบบลงทุนและความคุ้มทุนโครงการไม่ได้ ถ้าไม่คุ้มจะทำยังไง ต้องให้จีนเข้ามาช่วยลงทุนเยอะ ๆ แต่จีนยังไม่ให้คำตอบ แต่ทาง พล.อ.อ.ประจินยังคาดหวังว่าจะเริ่มสร้างได้ ต.ค.นี้ตามแผน อาจจะเริ่มช่วงที่ไม่เปลี่ยนรายละเอียดมาก เช่น ช่วงแก่งคอย ให้โครงการเริ่มต้นทันรัฐบาลชุดนี้" แหล่งข่าวกล่าว

ออกแบบสายเชียงใหม่ 2 ปี

ขณะที่ความคืบหน้ารถไฟไทย-ญี่ปุ่น นายอาคมกล่าวว่า วันที่ 26 มิ.ย.มีประชุมครั้งแรกร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น (MLIT) ตั้งคณะทำงาน 3 ทีม กำหนดประชุมทุก 3 เดือน ได้แก่ 1.ศึกษาและออกแบบรายละเอียดรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.

2.ศึกษาความเหมาะสมรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตก ช่วงกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี, กรุงเทพฯ-สระแก้ว และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง รวมระยะทาง 574 กม. และ 3.พัฒนาระบบการขนส่งสินค้าทางรางพื้นที่ภาคตะวันออก

"ก.ค.นี้ ญี่ปุ่นจะนำผลศึกษาไฮสปีดเทรนเดิมไปศึกษาเป็นฉบับเต็มให้ไทย กำหนดเสร็จกลางปี"59 เมื่อได้ข้อสรุปเบื้องต้นเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ จากนั้นปี"60 ศึกษาความเป็นไปได้และออกแบบรายละเอียด คาดว่าเริ่มสร้างปี"61 ใช้เวลา 4-5 ปี เสร็จในปี"64-65 ญี่ปุ่นย้ำว่ารถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นมีความปลอดภัยที่สุดในโลก ต้องใช้เวลาออกแบบรอบคอบและได้มาตรฐาน ส่วนรูปแบบลงทุนยังไม่สรุป ฝ่ายไทยอยากให้เป็นรูปแบบ PPP"

นายอาคมกล่าวอีกว่า ฝ่ายไทยขอให้ญี่ปุ่นลงพื้นที่ สำรวจ ก.ค.นี้ แบ่งก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม. กับพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. ซึ่งแนวเส้นทางช่วงที่ 2 ยังไม่สรุปว่าพาดผ่านสุโขทัยหรืออุตรดิตถ์ เบื้องต้นไทยยืนยันใช้ผลศึกษาของสนข. โดยให้ผ่านสุโขทัยซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยว ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 426,898 ล้านบาท

"ญี่ปุ่นมองว่าเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่จะมีคนมาใช้น้อย เราบอกว่าตลอดเส้นทางมีเมืองท่องเที่ยว อนาคตจะมีรถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมจากแม่สอด-มุกดาหารมาเสริมโครงข่ายการเดินทางมากขึ้น"

ญี่ปุ่นขอวางระบบกทม.-ภาชี

แหล่งข่าวกล่าวว่า ท่าทีญี่ปุ่นไม่ได้เร่งรัดโครงการเหมือนอย่างไทย เนื่องจากเน้นมาตรฐานจึงใช้เวลาศึกษานานกว่า 2 ปี การก่อสร้างและระบบทางญี่ปุ่นยืนยันเป็นชินคันเซน อีกทั้งขอความชัดเจนพื้นที่ทับซ้อนกับรถไฟจีน ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ระยะทาง 81.8 กม.จะใช้ระบบอาณัติสัญญาณของใคร แม้ว่า สนข.จะบอกว่าใช้ระบบยุโรปเนื่องจากหลายประเทศใช้กัน

"ญี่ปุ่นขอให้เราใช้ระบบของเขาช่วงกรุงเทพฯ-ภาชีซึ่งเป็นหัวใจสำคัญ เพราะเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงจากภาชี-เชียงใหม่ และภาชี-หนองคาย ถ้าญี่ปุ่นได้วางระบบ รายอื่นก็ต้องใช้ระบบญี่ปุ่นด้วย รวมทั้งขอให้ไทยรับผิดชอบก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน ส่วนการเดินรถจะนำบริษัทเอกชนญี่ปุ่นมาร่วมกับไทย" แหล่งข่าวกล่าว
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 03-07-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.