| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 370 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 02-06-2558    อ่าน 1342
 ญี่ปุ่นขนออปชั่นเงินกู้-เทคโนโลยีเกทับจีน แข่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์รางยกแผง"บิ๊กจิน"ขานรับกระตุ้นศก.

รัฐบาลญี่ปุ่นเกทับจีน สนลงทุนทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟทางคู่ 1 เมตร รถไฟฟ้าสารพัดสี พ่วงแพ็กเกจเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษผ่านไจก้า-เจบิก-กองทุน JOIN "ประจิน" เผย 1 เดือนเคาะรูปแบบลงทุนระหว่าง EPC-PPP คาด 28 ก.ค.นี้ นับหนึ่งสำรวจไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ 672 กม. ลงทุน 4.2 แสนล้าน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOC) ที่รัฐบาลไทยเซ็นกับรัฐบาลญี่ปุ่น เมื่อ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นไปตามผลหารือระหว่าง รมว.คมนาคม และ รมว.กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เปรียบเทียบกับข้อเสนอจีนพบว่า รัฐบาลจีนเสนอพัฒนาเส้นทางเดียวคือรถไฟความเร็วสูงปานกลาง ความเร็ว 180 กม./ชม. สายหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม. เชื่อมโยงกับรถไฟจีน-ลาวที่หนองคาย-เวียงจันทน์

จากการติดตามความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนี้ อยู่ระหว่างเตรียมจัดให้มีการประชุมคณะกรรมร่วมครั้งที่ 5 ปลายเดือนมิถุนายนนี้ ส่วนการสำรวจเส้นทางและประเมินราคาจะแล้วเสร็จเดือนสิงหาคม ตามแผนที่วางไว้คาดว่าเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือนตุลาคมนี้ ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช

สนไฮสปีด 4 แสนล้าน

ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนใจหลายโครงการ เริ่มจากรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ความเร็ว 250 กม./ชม.ขึ้นไป ใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์จากรถไฟชินคันเซ็น โดยใช้ผลศึกษาเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาไว้ปี 2555 มาต่อยอดออกแบบรายละเอียด คาดว่าแล้วเสร็จสิ้นปีนี้ เริ่มก่อสร้างในปี 2559 โดย สนข.ศึกษาระยะทาง 672 กม. เงินลงทุน 426,898 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังสนใจรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง, รถไฟสายระเบียงเศรษฐกิจสายใต้ (Southern Economic Corridor) กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ 180 กม., กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ 255 กม. และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง 139 กม. รวม 574 กม. เป็นรถไฟทางคู่ราง 1 เมตร วิ่งด้วยความเร็ว 130-140 กม./ชม.

"ส่วนเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร 718 กม. ญี่ปุ่นจะศึกษาความเป็นไปได้โครงการให้เท่านั้น เเพราะเป็นเส้นทางใหม่"

ขณะเดียวกันร่วมมือกับไทยพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางราง โดยศึกษาความเป็นไปได้ให้สำเร็จภายในสิ้นปี 2558 เริ่มทำโครงการตัวอย่างต้นปี 2559 โดยญี่ปุ่นเสนอเทคโนโลยีและการบริหารจัดการขนส่งสินค้าทางรางด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จมาแล้วรูปแบบเป็นการขนส่งสินค้าต่อเนื่องจากต้นทางถึงปลายทาง

เหมาเข่งรถไฟฟ้า-โมโนเรล

ส่วนระบบขนส่งมวลชนในเมือง ญี่ปุ่นสนใจรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น สายสีแดง สายสีน้ำเงินต่อขยาย สายสีส้ม และสายสีเขียว เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือ Heavy Rail กับสายสีชมพู สีเหลือง ที่จะเป็นรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือโมโนเรล หลังเอกชนญี่ปุ่นสามารถนำระบบรถไฟฟ้ามาเดินรถสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) และสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต)

ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ขอให้บริษัท มารูเบนิ ผู้ผลิตรถส่งมอบรถขบวนแรกให้กับสายสีม่วงในเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้เดินรถได้ทันเดือนธันวาคมนี้ รวมถึงขอให้บริษัทญี่ปุ่นผู้ชนะประกวดราคาสัญญาที่ 3 งานระบบรถสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) เร่งสรุปราคาสุดท้ายที่ 30,500 ล้านบาท จากเดิมเสนอราคา 32,000 ล้านบาท เพื่อให้การเปิดเดินรถสายสีแดงทันตามกำหนดเวลาในปี 2560-2561

ยื่นเสนอเงินกู้ 3 แหล่ง

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ญี่ปุ่นยังเสนอแหล่งเงินลงทุนด้วย เหมือนกับรัฐบาลจีนที่นำเสนอผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของจีน (ไชน่าเอ็กซิมแบงก์) โดยญี่ปุ่นเสนอผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐานพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศญี่ปุ่น หรือ JOIN (Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation For Transport and Urban Development)

"หากฝ่ายไทยมีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการขอรับเงินสนับสนุนจาก JOIN จะต้องมีพาร์ตเนอร์ญี่ปุ่นด้วย จึงจะลงทะเบียนได้ ซึ่งฝ่ายไทยรับไว้เป็นข้อมูลประกอบการศึกษาต่อไป"

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 27มิถุนายนนี้จะได้ข้อสรุปรูปแบบความร่วมมือและกรอบเวลารถไฟไทย-ญี่ปุ่น ที่ได้เซ็น MOC ไปแล้ว รูปแบบพิจารณา อาทิ EPC (ออกแบบ จัดหาระบบ ก่อสร้าง) เหมือนรถไฟไทย-จีน หรือให้เอกชนญี่ปุ่นมาร่วมลงทุน PPP

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า เวลาก่อสร้างคาดว่า 4 ปี นานกว่ารถไฟไทย-จีนที่ใช้เวลา 3 ปี ด้านแหล่งเงินลงทุนญี่ปุ่นเสนอ 3 ส่วน คือ 1.องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) 2.ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือเจบิก และ 3.กองทุน JOIN ส่วนการสำรวจพื้นที่คาดว่าจะเริ่มต้นนับหนึ่งวันที่ 28 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 02-06-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.