| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 94 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-05-2558    อ่าน 1334
 โจทย์ใหญ่ "ลูกบ้าน-นิติบุคคล" บทเรียนจาก รปภ.ปืนโหด+นักย่องเบา

หนีเสือปะจระเข้จริง ๆ อุตส่าห์ซื้อโครงการจัดสรร ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม เพราะหวังจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีระบบรักษาความปลอดภัย หรือ รปภ. ที่เข้มแข็งรัดกุม กลับกลายเป็นว่า "พนักงาน รปภ." กลายเป็นภัยคุกคามไปเสียเอง

ย้อนกลับไปช่วงต้นปี มีคลิปสะเทือนขวัญในเหตุการณ์ พนักงาน รปภ.หมู่บ้านแห่งหนึ่งชักปืนออกมายิงลูกบ้าน 3 นัดจนเสียชีวิต ล่าสุดกล้องวงจรปิดจับภาพ พนักงาน รปภ.คอนโดฯแห่งหนึ่งย่านถนนเพชรบุรี เข้าไปโจรกรรมถึงในห้องชุด ยังไม่นับรวมอีกสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นจริง...แต่ไม่เป็นข่าว ประเด็นน่าสนใจว่า กระบวนการจัดจ้างบริษัท รปภ. เขาทำกันอย่างไร

24 ชั่วโมงกลางวัน-กลางคืน

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจวิธีการจัดจ้าง รปภ. ในโครงการหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดฯ เพื่อจะตามไปดูถึงกระบวนการและขั้นตอน โดยผู้ว่าจ้างร้อยทั้งร้อยจะเป็น "นิติบุคคล" ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร/นิติบุคคลอาคารชุด

ส่วนลูกบ้านในหมู่บ้านหรือเจ้าของร่วมในคอนโดฯ ควบคุมการทำงาน รปภ.ทางอ้อม ด้วยการคัดเลือกตัวแทนเป็นกรรมการไปนั่งเป็นบอร์ดบริหารในนิติบุคคลอีกต่อหนึ่ง

เนื่องจากบริษัท รปภ.ในปัจจุบันมีจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะตรวจสอบได้ว่า คุณภาพบริการแต่ละรายเป็นอย่างไร ถ้าเป็นบริษัท รปภ.ที่ให้บริการเข้มแข็ง ก็มักจะได้รับการขึ้นทะเบียน หรือมีพันธมิตรที่พร้อมจะเรียกใช้บริการเวลามีโครงการใหม่ ๆ เกิดขึ้น ขณะเดียวกันถ้าโชคไม่ดี ไปเจอบริษัท รปภ.ที่ต่ำมาตรฐาน สิ่งที่ทำได้คือเปลี่ยนใหม่เมื่อครบสัญญาจ้าง 1 ปีไปแล้ว

กลับมาดูขั้นตอนแรก การติดต่อเพื่อว่าจ้าง ทางบริษัท รปภ.จะสอบถามข้อมูลพื้นฐาน เช่น เป็นหมู่บ้านที่เป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ หรือคอนโดฯ มีจำนวนกี่หลังกี่ห้อง พื้นที่ทั้งโครงการกี่ไร่ หมู่บ้านตั้งอยู่ที่ไหน เพื่อจัดสรรกำลังคนให้เหมาะสม

ค่าตัวพนักงาน รปภ. ราคาตลาดปัจจุบันเริ่มต้นกันที่หัวละ 20,000 บาท อัตราค่าจ้างจะมี 2 เกรด คือลูกกะกับหัวหน้ากะ ซึ่งมีส่วนต่าง 3-5 พันบาท เช่น ลูกกะ 2 หมื่น หัวหน้ากะก็จะมีค่าตัว 2.3-2.5 หมื่นบาท โดยหัวหน้ากะจะมีทั้ง 2 ผลัด คือกลางวันกับกลางคืน ทำงานตลอด 24 ชั่วโมง


จำนวนอัตราหรือจะจ้างกี่หัวขึ้นกับขนาดเล็กใหญ่ของโครงการ ปกติกะกลางคืนจะมากกว่ากลางวัน 1 คน เช่น คอนโดฯบางแห่งขนาด 1,000 ห้อง จัดจ้าง 17 คน แบ่งเป็นกลางวัน 9 คน กลางคืน 8 คน เพราะกลางคืนจะถอนงานประจำจุดล็อบบี้ออกหลัง 4-5 ทุ่มไปแล้ว เป็นต้น

ห้ามควงกะ-พกปืน-เสพยา

สำหรับอุปกรณ์ตัวช่วยของ รปภ. โดยพื้นฐานมีไฟฉาย กระบอง (สำหรับระงับเหตุ) อาจจะมีจักรยานสำหรับปั่นรอบหมู่บ้าน มีจุดตรวจที่ต้องเซ็นชื่อ บางบริษัทมีกล้องปากกาเหน็บไว้กับเสื้อ เวลามีเหตุหรือเจอสิ่งผิดปกติที่ต้องการหลักฐานก็สามารถหยิบออกมาถ่ายได้เลย เป็นต้น

อาวุธร้ายแรง เช่น ปืน จะไม่ให้นำเข้ามาในโครงการเด็ดขาด เพราะนโยบายคือไม่ต้องการให้ รปภ.ปะทะกับลูกบ้านอยู่แล้ว ข้อคำนึงคือเรื่องการ "ควงกะ" เพราะบางทีบริษัท รปภ.ก็ไม่ค่อยมีลูกน้อง แต่ดันไปรับงานเยอะแยะ ทำให้เกลี่ยคนไม่ทัน การทำสัญญาปกติทั่วไปจะไม่ให้ควงกะ ถ้าตรวจสอบพบจะมีบทปรับแพง ๆ ไปเลย

คุณสมบัติพื้นฐานอีกข้อคือจะต้องเป็นคนไทย มีบัตรประชาชนถูกต้อง ต่างด้าวจะไม่รับเข้าทำงานเด็ดขาด

นอกจากนี้ วินัยหรือกฎระเบียบในการทำงาน รปภ. คือต้องไม่ดื่มสุรา สิ่งมึนเมา เสพยาเสพติด ไม่หลับเวร ไม่เล่นการพนันในสถานที่ปฏิบัติงาน แต่งกายสุภาพ

สำหรับการประจำจุดของ รปภ. อาทิ ล็อบบี้ พื้นที่ส่วนกลาง สายตรวจหรือลาดตระเวน จุดกล้องซีซีทีวี ฯลฯ เมื่อพูดถึงภาวะกดดันของการทำงาน รปภ.ส่วนใหญ่จะอยู่ในจุดที่ต้องเจอลูกบ้านเยอะ ๆ โดยเฉพาะ "ป้อมหน้า" ซึ่งเป็นจุดแลกบัตรผ่านเข้า-ออกหมู่บ้าน

นิติบุคคลŽ ต้องเข้มงวด

ปัญหาล่าสุดที่พนักงาน รปภ.มีกุญแจไขเข้าห้องชุดได้นั้น ในระบบการจ้างบริษัท รปภ. โดยทั่วไปไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย เพราะการรับฝากกุญแจห้อง หรือสิ่งของพัสดุต่าง ๆ ถือเป็นบริการของนิติบุคคลที่ให้แก่ลูกบ้าน หรือเจ้าของร่วมในคอนโดฯ ผู้รับฝากจะต้องเป็นเจ้าหน้าที่นิติบุคคลเท่านั้น


จะเห็นว่าระบบการทำงานของบริษัท รปภ. ค่อนข้างจะมีความรัดกุมตั้งแต่กระบวนการจัดจ้าง ควบคุม แจกจ่ายงาน การเผชิญสถานการณ์ แต่ถ้าเกิดเหตุขึ้นมาอาจกล่าวได้ว่า เกิดจาก "ความผิดพลาดของคน" หรือ Human Errors เป็นด้านหลัก อย่างน้อยที่สุด ถ้าพนักงาน รปภ.ไม่สุจริต แต่นิติบุคคลสามารถควบคุมได้อย่างรัดกุม โอกาสเกิดเหตุแทบจะน้อยมาก หรือไม่มีเลย

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าในอนาคตจะเกิดภัยคุกคามจากพนักงาน รปภ.ขึ้นมาอีกสักกี่ครั้ง ความรับผิดชอบคงต้องหารเฉลี่ยแบบวัดครึ่ง กรรมการครึ่ง ระหว่าง "บริษัท รปภ.-นิติบุคคล" โดยอัตโนมัติ
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-05-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.