| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 107 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 25-05-2558    อ่าน 1337
 ลดแรงต้านทางเลียบเจ้าพระยา! กทม.ปรับแบบชูสิ่งแวดล้อมเอาใจนักวิชาการผังเมือง-สถาปนิก

จับตาโครงการทางเลียบเจ้าพระยาเฟสแรก 14 กิโลเมตร 1.4 หมื่นล้าน กทม.เตรียมแยกส่วนขออนุมัติงบฯส่วนแรกรื้อย้ายชุมชน 570 ล้าน ลดแรงต้านชี้ความกว้างทาง 19.5 เมตร อาจปรับลดได้ ด้านภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษาด้านผังเมือง สถาปนิก และประชาชนที่ได้ถูกผลกระทบ ออกโรงค้านให้รัฐบาลทบทวนรูปแบบโครงการ หวั่นกระบวนการทำงานไม่รอบคอบ

นายสัญญา ชีนิมิตร ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้ กทม.อยู่ระหว่างทำรายละเอียดความคืบหน้างานโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบเวลาไว้เพื่อเสนอคณะกรรมการชุดต่างๆ พิจารณาอนุมัติ ซึ่งคณะทำงานก็ทำกันเต็มที่ ให้ทันประมูลก่อสร้างปี 2558 โดยงบประมาณก่อสร้าง 14,006 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนงบประมาณประจำปีจากรัฐบาล

ทั้งนี้ ในระยะแรกจะเริ่มดำเนินโครงการริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม 7 จนถึงบริเวณสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รวมระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร ซึ่งสะพานแต่ละฝั่งจะมีความกว้างประมาณ 19.5 เมตร ยกสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 2.8 เมตร โดยระยะต่อไปจะขยายการดำเนินโครงการ ตั้งแต่ช่วงสะพานพระนั่งเกล้าถึงสะพานพระราม 7

โดยจะพัฒนาพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อจัดพื้นที่ให้บูรณาการกิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพประชาชน การส่งเสริมการใช้จักรยานในการสัญจร พักผ่อนหย่อนใจ และนันทนาการ การกีฬาและการท่องเที่ยว รวมทั้งด้านการเดินทางปลอดภัยริมแม่น้ำที่มีทัศนียภาพสวยงามเป็นพื้นที่สัญลักษณ์ (แลนด์มาร์ก) ของประเทศ แนวคิดและแบบที่จะก่อสร้างใช้พื้นที่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่มีพื้นที่ส่วนของลำน้ำกว้างและมีการสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วมและตลิ่งพังเกือบตลอดแนวเสร็จสิ้นแล้ว




รูปแบบโครงสร้างสะพานไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลของน้ำ โดยมีพื้นที่ใช้สอยอยู่สูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุด และพัฒนาเป็นทางสัญจรที่ใช้ประโยชน์รองรับการเดินทางด้วยจักรยานและการชมทัศนียภาพริมแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดแนวสองฝั่งพักผ่อนการออกกำลังกายและนันทนาการ

แยกส่วนขออนุมัติงบฯรื้อย้าย

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กทม.กล่าวว่า เมื่อ 12 พฤษภาคมที่ผ่านมา ครม.มีมติเห็นชอบโครงการแล้ว ด้วยกรอบวงเงินก่อสร้าง 14,006 ล้านบาท

ทั้งนี้ ถ้า กทม.ได้รับมติ ครม.อย่างเป็นทางการ หากให้ดำเนินการขออนุมัติงบประมาณเป็นรายโครงการ ก็จะเร่งจัดจ้างที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการ และค่ารื้อย้ายชุมชนเป็นลำดับแรก วงเงิน 570 ล้านบาท จะขออนุมัติจาก ครม.ขอใช้งบฯกลางปี 2558 มาดำเนินการเพื่อเดินหน้าโครงการ เนื่องจากแบบที่ กทม.ออกไว้เป็นแค่เบื้องต้น คาดว่าแบบรายละเอียดจะแล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายนนี้

จากนั้นจะขออนุมัติเปิดประกวดราคาก่อสร้างในเดือนตุลาคมจะเปิดประมูลและเซ็นสัญญาก่อสร้างเดือนธันวาคมนี้จะเริ่มสร้างเดือนมกราคม2559 แล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม 2560 ตามที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดกรอบเวลาไว้

ทั้งนี้งบฯก่อสร้าง 14,006 ล้านบาท แบ่งเป็นงบฯดำเนินการในปี 2558 จำนวน 500 ล้านบาท จ่ายค่าชดเชย ค่ารื้อย้าย ค่าจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ปีงบประมาณ 2558-2559 เป็นค่าจ้างที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบจำนวน 120 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2559-2560 เป็นค่าก่อสร้างโครงการ จำนวน 13,136 ล้านบาท และค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 250 ล้านบาท

"เงินก่อสร้างทางรัฐบาลให้สำนักงบประมาณจัดหาให้ ไม่น่าจะมีปัญหาทำให้โครงการสะดุดเพราะเป็นโครงการของรัฐบาล และปี"58 ก็ใช้งบฯไม่มาก"

นายไทวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับการประมูลก่อสร้างจะแบ่งเป็น 4 สัญญา ค่าก่อสร้างสัญญาละกว่า 3,000 ล้านบาท ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรต่อสัญญา

ชี้ความกว้างทางปรับได้

ส่วนการออกแบบที่หลายคนกังวลว่าจะกีดขวางทางน้ำทางคณะอนุกรรมการออกแบบมีปลัดกระทรวงกลาโหมและผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายร่วมกันพิจารณาอย่างละเอียดไม่ว่ากระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาปนิก วสท. เป็นต้น


ซึ่งความกว้างของทางที่สร้างยื่นไปในแม่น้ำกว้าง 19.5 เมตร เป็นแค่แบบเบื้องต้น เมื่อถึงเวลาจริงอาจจะแค่ 12-15 เมตร ก็ได้อยู่ที่การอนุมัติของคณะกรรมการ

ในส่วนของความคืบหน้าการดำเนินงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจข้อมูลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการซึ่งพบว่ามีผู้ได้รับผลกระทบ อาทิ วัด 8 แห่ง ท่าเรือเอกชนและสาธารณะ 36 แห่ง โรงเรียนและร้านอาหาร 6 แห่ง สถานที่สำคัญ 19 แห่ง และชุมชนรุกล้ำ 268 หลังคาเรือน

นักวิชาการ-สถาปนิกค้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตามวันที่21 พฤษภาคมที่ผ่านมา ทางกลุ่มภาคีสถาบันการศึกษาด้านผังเมือง ประกอบด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเครือข่ายสถาปนิก นักสิ่งแวดล้อม และชุมชน ประกอบด้วยมูลนิธิโลกสีเขียว สยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมอิโคโมสไทย เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมริมน้ำเจ้าพระยา ศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ธนบุรี และเครือข่ายประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ได้ร่วมกันแสดงจุดยืนคัดค้านรูปแบบโครงการพัฒนาทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา เฟสแรก ระยะทาง 14 กิโลเมตร

ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและผังเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ทางกลุ่มต้องการร่วมกันแสดงจุดยืนให้รัฐบาลทบทวนโครงการก่อสร้างทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงแรก 14 กิโลเมตร เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการศึกษาและออกแบบยังไม่รอบคอบเพียงพอ

โดยเฉพาะรูปแบบโครงการ กระบวนการทำงาน และศึกษาผลกระทบโครงการทั้งก่อน-ระหว่างทำแบบ เพราะกังวลการเร่งทำโครงการ จะส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม

หลังจากนี้จะร่วมกันทำจดหมาย ยื่นข้อเสนอถึงรัฐบาลเพื่อให้ทบทวนโครงการ ประเด็นที่คัดค้าน ได้แก่ 1)ความกว้างทางเลียบแม่น้ำไม่จำเป็นต้องกว้างถึงฝั่งละ 19.5 เมตร 2)รูปแบบโครงการขาดความเชื่อมโยงกับตลิ่ง การใช้ประโยชน์ที่ดินริมน้ำ 3)ขาดการศึกษาผลกระทบด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม และ 4)ขาดกระบวนการสำรวจความคิดเห็น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 25-05-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.