| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 97 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 06-05-2558    อ่าน 1317
 ไขปมเผือกร้อน "กรมที่ดิน" สกัดรีสอร์ตรุกป่า-ใบปลอดหนี้คอนโดฯ

นโยบายทวงคืนผืนป่า โดยเฉพาะพื้นที่เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา "กรมที่ดิน" ในฐานะหน่วยงานดูแลการออกเอกสารสิทธิ ก็มีชื่อปรากฏเป็นข่าวแทบทุกวัน ขณะเดียวกันก็กำลังมีปมขัดแย้งด้านกฎหมายกับกรมบังคับคดี ประเด็นขอแก้ไข กม.แพ่ง ม.309 จัตวา ให้ผู้โอนห้องชุดที่ประมูลได้จากกรมบังคับคดี ไม่ต้องใช้ใบปลอดหนี้ค่าส่วนกลาง ล่าสุด "ดร.สุจิต จงประเสริฐ" รองอธิบดีกรมที่ดิน ให้สัมภาษณ์พิเศษ "ประชาชาติธุรกิจ" เพื่อชี้แจง 2 ประเด็นร้อนแรงดังกล่าว

- ผลดำเนินการนโยบายทวงคืนผืนป่า

กรมก็วางรูปแบบการตรวจสอบ ยกตัวอย่าง ภาคใต้ พอเกิดเรื่องก็สั่งการให้ดูคำขอและการออกโฉนดทั้งหมด เรียนตามตรง ในอดีตที่เดินสำรวจออก น.ส.3 ก. เราก็ทำดีที่สุด วันนี้และหลังจากนี้ไป ผมมั่นใจและประกาศได้เลยว่า กรมที่ดินเราตั้งใจทำ 100% ว่า เอกสารสิทธิโฉนดต้องออกโดยชอบเท่านั้น

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ผมไม่คิดว่ากรมที่ดินถูกมองเป็นจำเลยนะ เพราะประเด็นออกโฉนดไม่ได้ขึ้นกับกรมที่ดินหน่วยงานเดียว เกี่ยวข้องกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เป็นต้นเรื่อง และเป็นผู้ออกเอกสารสิทธิด้วย ต้องสอบสวนจนกว่าจะได้ข้อสรุป เช่น น.ค.3 (หนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง)

อย่างกรณีโครงการคีรีมายา เขาใหญ่ ชี้แจงเรื่องที่ดินว่าซื้อมาจากกรมบังคับคดี และ บสก. (บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด) เป็นเอกสารสิทธิ น.ส.3 ก.ทั้งหมด ถ้าเป็นที่ดินสนามกอล์ฟชัดเจนว่าออกโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่พื้นที่นอกเหนือจากนั้นต้องตรวจสอบว่าออกเอกสารสิทธิอยู่นอกขอบเขตพื้นที่หรือไม่ มี น.ค.3 หรือไม่

พื้นที่เซ็นซิทีฟของกรมตอนนี้คือ ภูเก็ต กับนครราชสีมา เพราะเป็นแหล่งท่องเที่ยวแสวงหาธรรมชาติ คงไม่ได้ตรวจสอบทั้งหมด ตรงไหนที่มีปัญหาจึงเข้าไปตรวจสอบ ส่วนใหญ่ที่ผิดกันคือไปออกที่ดินเกินพื้นที่



- สังคมสับสนเรื่องเอกสารสิทธิ

การจะออกโฉนดได้ต้องมีใบเบิกทางหรือเอกสารจากส่วนราชการต้นสังกัดมายื่นให้เราก่อน ถ้ามีกรมที่ดินก็ต้องออกโฉนดให้ ถ้าเป็น ส.ค.1 (ใบแจ้งสิทธิ์การครอบครองที่ดิน) ออกโดยกรมที่ดิน ก.ส.น.5 (หนังสือแสดงการทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์) ออกโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ น.ค.3 ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์ ปัจจุบันคือกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พม. (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

สำหรับคนที่ขอออกโฉนดจากการเดินสำรวจได้มี 3 แบบ คือ 1.มีหลักฐานเบื้องต้นในการแสดงสิทธิ์ในที่ดิน อาจจะเป็น ส.ค.1, ส.ป.ก., น.ค.3, ก.ส.น.5 ยกเว้นเอกสารประเภท "ภ.บ.ท.5" หรือหลักฐานการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ไม่สามารถออกโฉนดได้

2.กรณีไม่มีหลักฐาน แต่ปฏิบัติตามมาตรา 27 ตรี คือครอบครองที่ดินก่อน 1 ธ.ค. 2497 ตามหลักควรจะแจ้งออก ส.ค.1 แต่ไม่ได้แจ้งก็เลยไม่มีหลักฐาน กฎหมายเปิดช่องไว้ว่าถ้ามีประกาศเดินสำรวจก็ให้ไปแจ้งสิทธิ์อีกครั้ง

3.ครอบครองหลัง 1 ธ.ค. 2497 และไม่มีหลักฐานอะไรเลย ก็ยังสามารถขอออกโฉนดได้ แต่กฎหมายจะจำกัดรายละไม่เกิน 50 ไร่ เพราะรัฐต้องการให้ประชาชนมีที่ดินเพื่อการครองชีพ

ถ้าพิสูจน์ได้โดยการเรียกสอบ เช่น ให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน เป็นผู้รับรอง ฯลฯ

- จะแก้ปัญหาให้เบ็ดเสร็จได้ยังไง

ทุกหน่วยงานต้องบูรณาการกัน ปัจจุบันกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงมหาดไทยก็บูรณาการกัน โดยให้งบประมาณกรมที่ดินทำแผนที่ที่ดินมาตราส่วน 1 : 4,000 เมื่อเสร็จจะชัดเจนว่า เขตป่ามาอย่างไร จากเดิมเป็นแผนที่ 1 : 50,000 ตั้งใจจะทำให้เสร็จภายในปีนี้

สำหรับกรมที่ดิน เอกสาร ส.ค.1 ที่จะมาขอออกโฉนด เรื่องจบตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งเปิดให้มีการแจ้งขอออกโฉนด เพียงแต่ปริมาณงานเยอะมาก เป็นล้านแปลง ต้องทยอยทำ ไม่เสร็จง่าย ๆ

- กรมบังคับคดีขอแก้ กม.หนี้คอนโดฯ

กรณีที่กรมบังคับคดีขอแก้กฎหมายแพ่ง เรื่องนี้ผ่านกฤษฎีกาไปแล้ว ตามขั้นตอนจะส่งไปที่กระทรวงยุติธรรม เสนอ ครม.-คณะรัฐมนตรี เพื่อเห็นชอบ และเสนอ สนช.-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

กรมที่ดินมองว่าโดยหลักการ ถ้าจะโอนห้องชุดก็ต้องมีใบปลอดหนี้ เพราะถ้านิติบุคคลถูกค้างค่าส่วนกลางมาก ๆ จะไม่สามารถดูแลโครงการเพราะขาดรายได้ พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2552 จึงบังคับว่า เมื่อจะโอนห้องชุดต้องมีใบปลอดหนี้ แต่ถ้ามาขอแก้ไขกฎหมายแบบนี้จะเกิดผลกระทบเรื่องการบริหารค่าส่วนกลางในโครงการคอนโดฯทันที

ทางกรมบังคับคดีอ้างว่านิติบุคคลสามารถขอเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิ(ได้รับชำระหนี้ก่อนสถาบันการเงิน) ตาม กม.แพ่ง มาตรา 273 (1) แต่ในทางปฏิบัติการแจ้งรับบุริมสิทธิ ใน พ.ร.บ.อาคารชุดระบุว่า ต้องมาจดแจ้งรายการบอกกล่าวเจ้าพนักงานที่ดินก่อน แต่ปัญหาคือนิติบุคคลจะรู้ข้อกฎหมายนี้หรือไม่ ในทางปฏิบัติจึงค่อนข้างยุ่งยาก

- จะสร้างวัฒนธรรมเบี้ยวจ่ายหนี้

ถ้ามีการแก้กฎหมายแพ่งได้สำเร็จ และกฎหมายบังคับใช้จริง ต่อไปถ้าเจ้าของห้องไม่อยากอยู่แล้วก็อาจจะไม่ชำระค่าส่วนกลาง เพราะรู้ว่าถ้ากรมบังคับคดีนำมาขายทอดตลาด ถึงเวลาก็ไปโอนกรรมสิทธิ์ได้โดยไม่ต้องมีใบปลอดหนี้ โดยนำมาตรา 309 จัตวา ของกฎหมายแพ่งมาใช้เป็นช่องทางเพื่อจะเบี้ยวหนี้

- ข้อเสนอของกรมที่ดินในเรื่องนี้

ผมมองว่าไม่ควรจะแก้ไขกฎหมายแพ่ง มาตรา 309 จัตวา เพราะกรณีติดปัญหานิติบุคคลไม่ออกใบปลอดหนี้ค่าส่วนกลางให้ ประชาชนสามารถใช้ช่องทางร้องขออำนาจศาลมีคำพิพากษา เพื่อใช้แทนเจตนาของหนังสือปลอดหนี้ได้

เรื่องนี้เคยมีกรณีตัวอย่างคำพิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ว่า ถ้าไปจดทะเบียนโอนห้องชุดแล้ว และยินยอมชำระหนี้ค่าส่วนกลางที่ติดค้าง ปรากฏว่าทางนิติบุคคลมีการโยกโย้ โดยไปบวกตัวเลขหนี้อื่นมาใส่อีก ซึ่งผู้โอนไม่ยอมจ่ายในส่วนที่เห็นว่าไม่ใช่หนี้ค่าส่วนกลาง กรณีนี้ถึงแม้นิติบุคคลไม่ออกใบปลอดหนี้ให้ ก็สามารถร้องขอให้ศาลออกคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของหนังสือปลอดหนี้ได้ และสำนักงานที่ดินก็ต้องรับโอนกรรมสิทธิ์

เรื่องนี้ต้องให้ สนช.ตัดสิน ความเห็นส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยที่จะแก้กฎหมายแพ่ง เพื่อมาหักล้าง พ.ร.บ.อาคารชุด ตามหลักหนี้ค่าส่วนกลางต้องแก้ที่ พ.ร.บ.อาคารชุด เพราะเป็นกฎหมายหลัก เป็นกฎหมายเฉพาะที่ควบคุมอยู่

ซึ่งกรมที่ดินให้ความเห็นกรมบังคับคดีไปแล้วว่า ขอให้แก้ที่ พ.ร.บ.อาคารชุด อย่าแก้ที่กฎหมายแพ่งเลย และกรมที่ดินเตรียมแก้ไข พ.ร.บ.อาคารชุดอยู่แล้ว สาระสำคัญที่จะแก้คือ ให้ผู้ซื้อห้องชุดได้จากการขายทอดตลาดมาชำระค่าส่วนกลางที่ค้าง และให้นิติบุคคลออกใบปลอดหนี้ แต่ถ้าไม่ดำเนินการหรือติดต่อไม่ได้ ให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนได้ โดยไม่ต้องมีหนังสือปลอดหนี้ หรือขอคำสั่งศาลได้เลย

- ปัญหาหนี้ส่วนกลางคอนโดฯรุนแรงไหม

เท่าที่ทราบมีปัญหาถึง 50% ตัวปัญหามาจากเจ้าของห้องชุดไม่จ่ายบ้าง อะไรบ้าง อย่าลืมว่าผู้ซื้อชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์ในคอนโดฯได้ 49% ของจำนวนห้องชุดในโครงการ มีบางรายก็ไม่ยอมจ่ายเพราะสงสัยว่า นิติบุคคลบริหารไม่โปร่งใส การแก้ไขอยู่ที่การสร้างจิตสำนึกเพียงอย่างเดียว ลูกบ้านหรือผู้อยู่อาศัยก็ต้องชำระส่วนกลางตรงตามเวลา ปัญหาก็จะไม่เกิด

ส่วนหนี้ที่พอกพูน เกิดจากนิติบุคคลไปวางอัตราเบี้ยปรับไว้สูง บางโครงการก็บวกค่าปรับอื่น ๆ เพิ่มตอนจะเคลียร์หนี้ ต่อมาปี 2551 กรมที่ดินจึงแก้ไข พ.ร.บ.อาคารชุด ในการค้างชำระหนี้ทรัพย์ส่วนกลาง หากผิดนัดไม่เกิน 6 เดือน ให้เสียเบี้ยปรับไม่เกินร้อยละ 12 ต่อปี แต่ถ้าเกิน 6 เดือน ให้เสียร้อยละ 20 ต่อปี และเปิดช่องสามารถลดหนี้ให้เจ้าของห้องก็ได้

จริง ๆ แล้วตั้งแต่วันที่สถาบันการเงินเริ่มยึดทรัพย์มา น่าจะเป็นผู้รับภาระหนี้ค่าส่วนกลางไว้เอง ไม่ใช่ให้ผู้ประมูลได้เป็นคนจ่าย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 06-05-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.