| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 54 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-05-2558    อ่าน 1331
 "ทีโอเอ" มองตลาดสีอาเซียน 10 ประเทศไม่มีที่ไหนหมู

ว่ากันว่าหลังเปิดเออีซี-ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โอกาสการทำธุรกิจในภูมิภาคนี้จะมีมากขึ้น จากประชากรรวมกันเป็น 600 ล้านคน

แต่ "ทีโอเอ" แบรนด์สีลีดเดอร์ในไทยของครอบครัว "ประจักษ์ ตั้งคารวคุณ" รุกตลาดมาตั้งแต่ 20 ปีก่อน ปีที่ผ่านมาค่ายนี้มียอดขายรวม 16,600 ล้านบาท แยกเป็นยอดขายในไทย 15,000 ล้านบาท และต่างประเทศ 1,600 ล้านบาท

นับจากลงทุนตั้งโรงงานในอาเซียนเมื่อปี 2537 ปัจจุบันมีฐานการผลิตใน 5 ประเทศ เริ่มจากไทย เวียดนาม มาเลเซีย สหภาพเมียนมาร์ สปป.ลาว ล่าสุดจะลงทุนสร้างโรงงานผลิตสีเพิ่มอีก 2 ประเทศที่ "กัมพูชา" และ "อินโดนีเซีย" ภายในปีนี้ พร้อมกับตั้งเป้าหมายเพิ่มยอดขายสีในอาเซียนอีก 50% เป็น 2,400 ล้านบาท

ชี้อาเซียนไม่มีประเทศไหนหมู

จับจังหวะการลงทุนของทีโอเอ "พงษ์เชิด จามีกรกุล" กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตสีทีโอเอระบุว่า ประสบการณ์ 20 ปีที่สร้างฐานการผลิตในอาเซียน ไม่มีที่ไหนง่าย โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ได้มีพรมแดนติดไทย

เพราะทีโอเอตั้งมา 50 ปี ส่งสินค้าผ่านดีลเลอร์ไปขายเพื่อนบ้าน ได้แก่ สปป.ลาว สหภาพเมียนมาร์ และกัมพูชามาต่อเนื่อง กลายเป็นการสร้างแบรนด์โดยไม่รู้ตัว แต่ประเทศที่ไกลออกไป ยกตัวอย่าง "เวียดนาม" ส่งไปขายน้อยเพราะสีมีน้ำหนักมาก



เมื่อสร้างโรงงานเสร็จช่วงแรก ๆ จึงเป็น "มิสเตอร์โนเนม" แทบจะต้องเริ่มสร้างแบรนด์ใหม่ หรือกรณีมาเลเซียแม้มีพื้นที่ติดกัน แต่ก็มีแบรนด์ท้องถิ่นและแบรนด์สีจากต่างชาติเป็นคู่แข่ง

อย่างไรก็ตาม ปีที่ผ่านมาทีโอเอมียอดขายสีในเวียดนาม 1,000 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 10% ติดชาร์ตอันดับ 3 รองจากแบรนด์นิปปอนเพนต์ และแบรนด์ท้องถิ่นชื่อ "โฟร์ ออเรนจ์" ที่เป็นเจ้าตลาด

กลยุทธ์ที่ใช้เจาะตลาดคือการขายสินค้าคุณภาพ ในราคาสมเหตุสมผล!

เป็นกลยุทธ์ที่ไม่ซับซ้อน แต่ก็ไม่ง่าย ตลอด 20 ปีที่ทำตลาดสีในเวียดนามพบว่ากำลังซื้อคนที่นี่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมซื้อสีเกรดกลาง-ล่าง มาเป็นกลาง-บนเพิ่มขึ้น สะท้อนจากจบปี"55 ยอดขายสีเกรดกลาง-บน เช่น แบรนด์โฟร์ซีซันส์ ฯลฯ มีสัดส่วนเกิน 50%

ขณะที่พฤติกรรมคนเวียดนามจะทาสีทุก 2-3 ปี โดยเฉพาะวันตรุษจีน อย่างไรก็ตามจะไม่นิยมทาสีผนังด้านข้าง เพราะมีความเชื่อว่า อนาคตถ้ามีบ้านสร้างใหม่ในบริเวณข้างเคียงก็จะมองไม่เห็นสี แต่เป็นโอกาสการขายเคมีภัณฑ์สีซีเมนต์สำหรับทากันซึมผนังบ้านด้านข้าง

ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว

มาที่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน แม้แบรนด์ทีโอเอพอเป็นที่รู้จัก แต่ 10-20 ปีที่ผ่านมาไม่ใช่ประเทศที่มีกำลังซื้อสูง และยังเลือกจากราคาเป็นหลัก กลยุทธ์การทำตลาดต่างประเทศจึงไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวขึ้นกับแต่ละประเทศ

แต่มีข้อสังเกตว่าประเทศที่มีแบรนด์สีท้องถิ่นเป็นเจ้าตลาดและมีจีดีพีต่อหัวต่ำกว่าไทย ยังเลือกซื้อสีราคาถูก แต่สิงคโปร์ที่ผู้เล่นหลักเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลแบรนด์ และจีดีพีต่อหัวสูงกว่าไทย จะเลือกสีอินเตอร์แบรนด์

อย่างไรก็ตาม เมื่อต้องเจอคู่แข่งแบรนด์อินเตอร์จากยุโรป ญี่ปุ่น ยอมรับว่าผู้บริโภคให้ความเชื่อถือมากกว่าแบรนด์ที่มาจากไทย ก่อนออกสินค้าใหม่จึงต้องนำสินค้าแบรนด์อื่น ๆ ที่มีในตลาดมาทดสอบว่า เปรียบเทียบคุณภาพแล้วสู้ได้หรือไม่ และราคาเป็นอย่างไร!

กระจายโรงงานลดต้นทุนขนส่ง

การสร้างฐานผลิตในอาเซียน ทีโอเอมองเรื่องการลดต้นทุนค่าขนส่งสินค้าด้วย ถ้าโรงงานกัมพูชาเสร็จส่งออกไปอินเดียจะถูกกว่าไปจากไทย หรือโรงงานอินโดฯจะผลิตขายตอนกลาง-ล่างของประเทศ ส่วนตอนบนถ้าส่งจากมาเลเซียต้นทุนจะต่ำกว่า

อย่างไรก็ตาม บางประเทศก็ต้องไม่มองต้นทุนเป็นหลัก เช่น คนกัมพูชามองว่าสินค้าจากไทยเป็นของพรีเมี่ยม ส่งไปขายจะได้ราคาดี แต่ถ้าส่งจากโรงงานเวียดนามซึ่งใกล้กว่า และตั้งราคาถูกลง 10-15% ก็อาจไม่เป็นที่ยอมรับเท่าสินค้าที่มาจากโรงงานไทย

การลงทุนตั้งโรงงานในต่างประเทศจึงต้องมองให้รอบด้าน การสร้างโรงงานไม่ใช่เรื่องยาก แต่สิ่งที่ยากคือต้องศึกษารอบด้านทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจ กำลังซื้อ การขนส่งสินค้า อย่างประเทศฟิลิปปินส์เข้าไปสำรวจแล้ว ตลาดน่าสนใจมาก แต่ถามว่าทำไมทีโอเอเข้าไปช้า เพราะภูมิประเทศมีเกาะนับพันแห่ง การขนส่งสินค้าเป็นอุปสรรค แต่การแก้โจทย์คือต้องจัดลำดับพื้นที่เป้าหมายที่จะเข้าไป หรือจะหาพาร์ตเนอร์ด้านคลังสินค้า

ทุกอย่างขึ้นอยู่กับการวางแผน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 04-05-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.