| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 126 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 01-05-2558    อ่าน 1344
 เอกชนถก "หนี้ค่าส่วนกลาง" "กม.ต้องคุ้มครองนิติบุคคลคอนโดฯ"

เป็นประเด็นที่ต้องติดตามต่อ กรณีที่กรมบังคับคดีเสนอแก้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 จัตวา เปิดทางให้ผู้ประมูลซื้อห้องชุดจากกรม ไม่ต้องใช้ใบปลอดหนี้ค่าส่วนกลางเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ เท่ากับผู้ซื้อไม่ต้องรับภาระหนี้ค่าส่วนกางที่ติดมา ล่าสุด กฎหมายผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เตรียมเสนอเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

ถึงแม้กฤษฎีกาได้แก้ไขร่างกฎหมายใหม่ ให้กรมบังคับคดีทำหนังสือถึงนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อแจ้งหนี้ค่าส่วนกลางกลับมาก่อนขายทอดตลาดภายใน 30 วัน เพื่อได้สิทธิ์ได้รับชำระหนี้ค่าส่วนกลางเป็นอันดับแรก แต่สมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ที่มีสมาชิกเป็นผู้ประกอบการรับบริหารนิติบุคคลอาคารชุด ได้แสดงจุดยืนคัดค้าน ตั้งแต่การเปิดรับฟังความเห็นของกรมบังคับคดีเมื่อปลายปีที่ผ่านมา

ล่าสุด "วิวัธน์ ศรีเจริญวงศ์" นายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวโน้มผลกระทบทั้งบวกและลบถ้าหากการแก้ไขกฎหมายนำไปสู่การบังคับใช้ขึ้นมาจริง ๆ

- คิดอย่างไรกับการแก้กฎหมาย

ตั้งแต่กรมบังคับคดีจัดรับฟังความเห็นผมในฐานะนายกสมาคมได้รับเชิญ ชี้แจงว่าจะเกิดผลเสียตามมา ถ้าเสนอแก้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 จัตวา ให้ผู้ประมูลซื้อคอนโดฯจากกรมไม่ต้องใช้ใบปลอดหนี้ค่าส่วนกลางเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ เพราะเดิมผู้ซื้อจะต้องจ่ายหนี้ที่ติดมาเมื่อจะโอนห้องชุด แต่ถ้าให้นิติบุคคลฯ เป็นคนไปฟ้องศาลเอง มีโอกาสเสี่ยงเป็นหนี้สูญมาก ผลเสียจะตกกับส่วนรวมคือ 1) ตึกจะโทรมลง 2) เป็นการเอาเปรียบคนที่จ่ายค่าส่วนกลางถูกต้อง

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเรื่องค่าส่วนกลางมีกฎหมายเฉพาะคือ พ.ร.บ.อาคารชุดของกรมที่ดิน วางหลักเกณฑ์ให้มีการจ่ายค่าส่วนกลาง และถ้าเบี้ยวหนี้จะต้องไปชำระตอนโอนกรรมสิทธิ์ เรียกว่าถึงยังไงก็ต้องจ่าย เพราะกฎหมายไปล็อกไว้อย่างนั้น เนื่องจากยังมีบางส่วนที่เบี้ยวจ่ายอยู่ วิธีการก็คือในการโอนกรรมสิทธิ์ทุกครั้งจะต้องมีใบปลอดหนี้ค่าส่วนกลางจากนิติบุคคลฯ ไปแสดงต่อกรมที่ดิน

ทีนี้ กรณีที่กรมบังคับคดีเลี่ยงไปใช้กฎหมายแพ่งมาแก้ปัญหาการขายทอดตลาดคอนโดฯ แทนที่จะหารือกับกรมที่ดินเพื่อขอแก้ไข พ.ร.บ.อาคารชุด ที่บังคับเรื่องค่าส่วนกลางโดยตรง ตามหลักก็ไม่มีใครเขาทำกัน

- ถ้าไม่ต้องใช้ใบปลอดหนี้จะเกิดอะไร

ปัญหาคือเป็นการดึงอำนาจนิติฯที่จะเซ็นใบปลอดหนี้ห้องชุดออกไป สิ่งที่ตามมาคือ 1) เมื่อจะโอนห้องชุดที่ประมูลได้จากกรมบังคับคดี จะไม่มีการติดต่อนิติฯ ก่อนโอน หากเป็นต่างชาติประมูลซื้อไปและเกินสัดส่วน 49% ตามที่กฎหมายกำหนด จะทำอย่างไร เพราะกฎหมายแพ่งระบุว่า ให้โอนได้โดยไม่มีใบปลอดหนี้

2) ห้องชุดจะไม่ถูกตรวจสอบประวัติก่อนโอนว่าค้างค่าส่วนกลางเพราะอะไร เคยเป็นที่พักของผู้ก่อการร้าย เป็นที่เก็บยาเสพติดหรือไม่ 3) ต่อไปถ้าเจ้าของห้องค้างค่าส่วนกลาง 6-12 เดือน จะถูกนิติฯฟ้องทันที ไม่มีอะลุ้มอล่วย เพราะถ้าถูกยึดไปขายทอดตลาดผ่านกรมบังคับคดี จะไม่ต้องใช้ใบปลอดหนี้ค่าส่วนกลาง 4) คอนโดฯที่แจ้งยอดหนี้ไปแล้วก่อนประมูล แต่ถ้าผ่านไป 4-5 ครั้งยังขายไม่ได้ หนี้ค่าส่วนกลางที่เกิดระหว่างทาง หลังจากแจ้งไปในก่อนขายทอดตลาดครั้งแรก นิติฯก็ต้องไปฟ้องเอากับผู้ซื้อ

- ต่อไปคดีฟ้องร้องจะมากขึ้น

จะมากขึ้น ปัจจุบันคนไม่จ่ายค่าส่วนกลางมีเฉลี่ย 3-10% ต่อโครงการ ที่ผ่านมาอาจเจรจากันก่อน ต่อไปถ้าค้างเกิน 6-12 เดือนก็ฟ้องเลย จำนวนคดีอาจจะเพิ่มเท่าตัวเพราะเป็นคดีคุ้มครองผู้บริโภค ไม่มีค่าธรรมเนียมศาล เสียแต่ค่าทนาย อาจจะ 5 พัน-1 หมื่นบาท

- สถาบันการเงินควรเป็นคนรับภาระ

ถ้าสถาบันการเงินในฐานะเจ้าหนี้รับภาระเอง ก็ไม่ต้องแก้กฎหมาย แต่ในฐานะเจ้าหนี้ก็อาจจะมองว่าทำไมต้องรับผิดชอบเพราะไม่ได้เป็นผู้ก่อ ภาระจึงตกอยู่กับคนประมูล อย่างไรก็ตาม ทรัพย์ที่แบงก์ประมูลเองบางรายการก็ไม่โอนเป็นชื่อธนาคาร จากนั้นไม่กี่วันเมื่อได้คนมาซื้อต่อก็ต้องรับภาระหนี้ไปด้วย

- เตรียมจัดสัมมนาเรื่องนี้

ได้หารือกับกรมที่ดินไปแล้ว กำลังรอนัดหมายอธิบดี (นายศิริพงษ์ ห่านตระกูล) จัดสัมมนาเรื่องนี้ เพราะเราเป็นผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย จะเชิญตัวแทนจากกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด กฤษฎีกา สมาคม กรมที่ดิน บทสรุปเพื่อสะท้อนความเห็นว่า ถ้ากฎหมายออกมาจะเกิดอะไรขึ้น มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร เพราะมีผลกระทบวงกว้าง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 01-05-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.