| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 116 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 29-04-2558    อ่าน 1335
 ถก "นายกสภาสถาปนิก" เร่งยกระดับมาตรฐานไทยสู่สากล

สัมภาษณ์

สภาสถาปนิก องค์กรวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรม มีหน้าที่หลักในการออกใบอนุญาตและควบคุมการปฏิบัติหน้าที่สถาปนิกทั้ง 4 สาขาคือ สถาปัตยกรรมหลัก สถาปัตยกรรมผังเมือง ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมภายใน ล่าสุดเพิ่งได้นายกสภาคนใหม่ "เจตกำจร พรหมโยธี" วัย 73 ปี จากบริษัท อินเตอร์ ดีไซน์ จำกัด วาระทำงาน 3 ปีนับจากนี้ สิ่งที่ต้องติดตามคือการพัฒนามาตรฐานวงการสถาปนิก การแก้ไขปรับปรุง พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2543 และการเปิดเออีซีสิ้นปีนี้

- ภารกิจที่จะเร่งทำ

การผลักดันให้สถาปนิกอีก 3 สาขา คือ ผังเมือง ภูมิสถาปนิก และออกแบบตกแต่งภายใน เป็นผู้เซ็นรับรองแบบที่ยื่นขออนุญาต เช่น แบบผังโครงการบ้านจัดสรร แบบตกแต่งภายในอาคารที่มีคนใช้งานจำนวนมาก ยกตัวอย่าง โรงหนัง โรงแรม ห้าง ซึ่งต้องเลือกใช้วัสดุตกแต่งมีผลต่อความปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ฯลฯ จากที่ผ่านมาให้สถาปนิกหลักเป็นคนลงชื่อรับรองแบบ


ผลดีคือประชาชนจะได้แบบผังโครงการที่มีคุณภาพขึ้น เพราะหากเกิดความเสียหายภายหลังสถาปนิกที่เซ็นรับรองแบบก็จะต้องรับผิดชอบ

- เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย

สภาจะผลักดันแก้ไขกฎหมายให้สถาปนิกที่ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพระดับสามัญมีประสบการณ์ทำงานต่อเนื่อง10ปีขึ้นไปสามารถเซ็นแบบอาคารที่มีพื้นที่ใช้สอยเกิน 10,000ตารางเมตร ตามกฎหมายมาตรา 39 ทวิได้ เพื่อใช้สิทธิ์ก่อสร้างอาคารไปก่อนในระหว่างยื่นขออนุญาตก่อสร้าง จากปัจจุบันต้องเป็นสถาปนิกระดับวุฒิ (ระดับสูงสุด) เท่านั้น ซึ่งมีแค่ 500 คน

ก่อนหน้านี้สภาได้ส่งตัวแทนเข้าชี้แจงกับ สนช.-สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถือโอกาสชี้แจงไปด้วยว่าเพื่อให้การขออนุญาตก่อสร้างรวดเร็วขึ้น ปัจจุบันเมื่อรวมกับการขออนุญาตอีไอเอ (รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม) อาจต้องใช้เวลาครึ่งค่อนปี จึงเสนอให้แบ่งการทำงานเป็น 2 ขั้น คือขั้นแรกตรวจแบบร่าง เช่น ดูผังโครงการโดยรวม ระยะถอยร่น ฯลฯ เมื่อได้รับอีไอเอแล้วจึงค่อยตรวจแบบโครงสร้าง

นอกจากนี้ มีเรื่องการทำมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ ใช้เป็นบรรทัดฐานการทำงานของสถาปนิก คาดว่าเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็ว ๆ นี้

- ค่าออกแบบงานราชการ

เคยขอปรับขึ้นไปหลายรัฐบาล แต่ไม่สำเร็จ ครั้งนี้กำลังประสานกรมบัญชีกลางพิจารณาอีกครั้ง ทุกวันนี้คิดอัตราตายตัว 1.75% ของมูลค่างาน ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ออกแบบยากหรือง่ายก็เท่ากันหมด ซึ่งตามหลักควรเป็น "สไลดิ้งสเกล" คืองานที่มีมูลค่าน้อยและซับซ้อน เปอร์เซ็นต์ค่าแบบจะสูงขึ้น งานที่มีมูลค่าสูงและไม่ซับซ้อน เปอร์เซ็นต์ค่าแบบก็จะต่ำ

- ประสบการณ์ทำงาน ตปท.

ส่วนใหญ่ผมทำงานออกแบบในตะวันออกกลาง เคยทำบังกลาเทศ ดูไบ ฯลฯ เป็นงานออกแบบโรงแรมผ่านนายหน้าติดต่อเข้ามา ยอมรับว่าไม่ง่าย


จากประสบการณ์ แนะนำให้รับงานออกแบบ "คอนเซ็ปชวลดีไซน์" (แบบร่าง) และอาจออกแบบไประดับหนึ่ง จากนั้นให้ส่งต่อสถาปนิกท้องถิ่นเขาทำต่อ ไม่งั้นเงินจะจมไปกับค่าเดินทางและที่พัก ที่ผ่านมา แรก ๆ ตอนไปทำงานที่ดูไบ พักโรงแรมดุสิตธานีที่นั่นคืนละ 3-4 พันบาท ตอนหลังโรงแรมขึ้นราคาและหาที่พักยาก หมดค่าใช้จ่ายเยอะ เลยเรียนรู้ว่าถ้าตกลงค่าจ้าง จะต้องแยกค่าเดินทาง-ค่าที่พักออกจากค่าออกแบบ และใช้วิธีเบิกตามจริง

- การเตรียมตัวรับเออีซี

สิ่งที่กำลังทำคือปรับปรุง พ.ร.บ.สถาปนิก ให้เป็นมาตรฐานเดียวกับต่างประเทศ ได้ตั้งคณะทำงานด้านกฎหมาย จะเร่งให้ทันในสมัย สนช.


เบื้องต้นมี 12 ประเด็นที่จะเสนอปรับปรุง อาทิ เรื่องต่างประเทศ การศึกษา จรรยาบรรณสถาปนิก การออกใบอนุญาต ฯลฯ ยกตัวอย่างเรื่องใบอนุญาต ปัจจุบันมี 3 ระดับคือ ระดับภาคี สามัญ และวุฒิสถาปนิก แต่ในอาเซียนหรือเกือบทุกประเทศทั่วโลกมีเฉพาะระดับสามัญเท่านั้น หลังจากเรียนจบจะต้องเข้าสู่ระบบ "อินเทิร์นชิป"หรือฝึกงานกับออฟฟิศก่อน คล้าย ๆหมอ จึงมีสิทธิ์สอบใบอนุญาต แต่ของเราเมื่อเรียนจบแล้วมีสิทธิ์สอบใบอนุญาตระดับภาคีได้เลย ดังนั้น อยากจะปรับปรุงให้เป็นสากล


ส่วนการขึ้นทะเบียนสถาปนิกอาเซียนในไทยเริ่มดำเนินการแล้ว ปัจจุบันมี 10 กว่าราย เมื่อเปิดเออีซีก็จะสามารถเข้าไปร่วมทำงานกับสถาปนิกท้องถิ่นในอาเซียนได้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น เมื่อขึ้นทะเบียนแล้วจะได้หนังสือรับรองมีอายุ 3 ปี กับต้องเข้าระบบ "พวต.-พัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง" ทำงานและอบรมสัมมนาเพื่อสะสมแต้มให้ครบ จึงสามารถต่อใบอนุญาตได้

- เปิดเออีซีแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

มีทั้งบวกและลบ จะมีสถาปนิกจากสิงคโปร์หรือมาเลเซีย ซึ่งมีฝีมือเป็นที่ยอมรับเข้ามา ในมุมบวกมองเป็นโอกาส เรียนรู้กระบวนการทำงานและเทคโนโลยีจากเขา แต่ด้านลบคือถ้าสถาปนิกไทยยังคิดเพียงแค่รับจ้างเซ็นรับรองแบบ ก็น่าเป็นห่วง เพราะคนจากเออีซีเมื่อเข้ามาทำงาน (ในประเทศไทย) ได้อย่างถูกต้องแล้ว งานบางอย่างเขาสามารถจ้างสถาปนิกไทยซึ่งมีค่าแรงต่ำกว่า ทำให้ต้นทุนเขาถูกลง
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 29-04-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.