| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 52 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-03-2558    อ่าน 1349
 รายงานพิเศษ : ภาษีที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง เจ้าของบ้าน-คอนโด"ผวา"

ประเด็นของ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กระทรวงการคลังกำลังเสนอเข้าคณะรัฐมนตรีในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า กำลังสร้างความกังวลให้กับบรรดาคนที่มีบ้านและที่ดินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะความกังวลว่าจะไม่มีเงินมาจ่ายภาษี และเป็นภาระมากเกินไป



ที่ผ่านมากระทรวงการคลังพยายามผลักดันการจัดเก็บภาษีที่ดินมาหลายรัฐบาลแต่ไม่เคยสำเร็จโดยได้เห็นเป็นรูปเป็นร่างที่สุดในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์แต่สุดท้ายต้องล้มไปเพราะยังมีเสียงคัดค้านมาก

พอมายุครัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กฎหมายนี้ถูกหยิบยกมาพูดถึงอีกครั้งในหมวดของภาษีทรัพย์สิน ที่ทาง คสช.มองว่าควรจะต้องมีการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินเหมือนในต่างประเทศ โดยภาษีดังกล่าวจะเข้ามาช่วยสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงมีการบรรจุอย่างชัดเจนไว้ในนโยบายของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กฎหมายทรัพย์สินที่สำคัญมี 2 ตัว คือ ภาษีการรับมรดก ที่กำลังอยู่ในการพิจารณากรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

และอีกฉบับคือภาษีที่ดินฯ แต่กระบวนการของภาษีที่ดินช้ากว่าภาษีมรดก 2-3 ขั้นตอน เพราะภาษีที่ดิน กระทรวงการคลังต้องเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อน คาดว่าจะเสนอได้ภายในช่วงเดือนมีนาคมนี้

หาก ครม.เห็นชอบจึงจะไปสู่ในขั้นตอนของกฤษฎีกาที่จะต้องมีการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงการคลังอีกครั้ง ซึ่งหากกฤษฎีกาเห็นต่าง อาจจะมีการแก้ไขในบางประเด็น หลังจากนั้นต้องกลับมาสู่ ครม. เพื่อให้ ครม.เสนอไปยัง สนช. ซึ่งกระบวนการตรงนี้ใช้เวลาอีกหลายเดือน หากกฎหมายผ่าน สนช. และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้กฎหมายมีผล จะมีช่วงเวลาให้ปรับตัว 1-2 ปี ก่อนบังคับใช้ เพราะต้องรอการประเมินที่ดินรายแปลงจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปีครึ่งในการประเมินที่ดินรายแปลงทั้งประเทศ

อย่างไรก็ตาม ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แม้จะเป็นกฎหมายใหม่ แต่ในทางปฏิบัตินั้นก็ไม่ใช้ไม่เคยเก็บภาษีตรงนี้มาก่อน

เพราะกฎหมายฉบับนี้ถูกนำมาทดแทนกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่พ.ศ.2508และกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475ที่เป็นกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยมีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้ทำหน้าที่เก็บภาษี

แต่ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังมีช่องโหว่ของกฎหมายมากทำให้จัดเก็บภาษีได้ปีละแค่ไม่กี่หมื่นล้านบาทในขณะที่รัฐบาลส่วนกลางต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อไปสนับสนุนการดำเนินการของอปท.ปีละกว่า2 แสนล้านบาท

ดังนั้นทางกระทรวงการคลังมองว่าควรจะเร่งปฏิรูปกฎหมายตรงนี้ใหม่ เพื่อให้ทันสมัย และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

ที่สำคัญยังเป็นการลดภาระงบประมาณในการจัดสรรเงินงบเพื่อไปพัฒนาท้องถิ่นโดยกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นี้อปท.ยังมีหน้าที่ในการจัดเก็บเหมือนเดิมแต่ในระหว่างนี้เจ้าหน้าที่จะต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์และวางกรอบการจัดเก็บที่ชัดเจนเพื่อเตรียมพร้อมเมื่อถึงเวลาที่ปฏิบัติจริงจะได้ไม่มีปัญหา

อย่างไรก็ตามความกังวลของการเสียภาษียังมีสูงมากจะเห็นได้จากช่วง1-2สัปดาห์ก่อนที่กระทรวงการคลังจะเสนอกฎหมายเข้า ครม. หลายภาคส่วนออกมาวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายนี้พอสมควร ถึงขนาดกังวลว่าจะไม่มีเงินมาจ่ายภาษี

ทางกระทรวงการคลังยืนยันมาโดยตลอดว่า ในการจัดเก็บภาษีในปีแรกๆ นั้น จะกำหนดอัตราการจัดเก็บที่ต่ำมาก เพื่อไม่ให้กระทบต่อประชาชน โดยเฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย ที่ดินเกษตร จะมีข้อยกเว้นให้ หากไม่มีเงินมาเสียจริงๆ จะมีการผ่อนผันให้ผ่อนจ่ายภาษีได้

ผู้ที่จัดทำกฎหมายจากกระทรวงการคลังยืนยันว่า คงไม่ถึงขนาดไปยึดที่ดินหรือยึดบ้านเพื่อมาจ่ายภาษี และที่ผ่านมาทางกระทรวงการคลังไม่เคยไปยึดทรัพย์สินจากประชาชนที่ไม่มีเงินเสียภาษี เพราะจะมีการผ่อนปรนให้โดยตลอด ซึ่งมีการเปรียบเทียบภาษีที่ดินว่าจะเสียไม่สูงกว่าภาษีป้ายรถยนต์ดังนั้นกระทรวงการคลังมองว่าผู้ที่มีที่ดินในปัจจุบันมีความสามารถในการเสียภาษีตรงนี้แบบไม่เดือดร้อน

นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ยืนยันที่จะเดินหน้าเสนอร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินเข้า ครม.ภายในเดือนมีนาคมโดยในภาษีดังกล่าวมีข้อยกเว้นเสียภาษีให้กับที่อยู่อาศัยที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทที่ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีราคา 1 ล้านบาท แต่ไม่ถึง 3 ล้านบาท เสียภาษีอัตรา 0.1% และได้รับการลดหย่อนภาษี 50% หมายความว่า บ้านราคา 1 ล้านบาทจะเสียภาษีในอัตราแค่ 500 บาท ส่วนบ้าน 3 ล้านบาทเสียภาษีเพียง 1,500 บาท ส่วนที่อยู่อาศัยที่มีราคาเกิน 3 ล้านบาท เสียภาษีในอัตรา 0.1% หรือคิดง่ายๆ ว่า บ้าน 1 ล้านบาทเสีย 1,000 บาท

"การผลักดันให้มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูก เพื่อมาทดแทนภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือนและที่ดิน เนื่องจาก 2 ประเภทในปัจจุบันไม่สามารถจัดเก็บได้ตามความเป็นจริง เพราะใช้ราคาประเมินที่ดินที่ประกาศใช้เมื่อกว่า 30 ปีก่อน ทำให้ไม่ทันสมัย จัดเก็บภาษีต่ำกว่าความเป็นจริง ส่งผลให้เงินรายได้งบประมาณของ อปท.ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการ ดังนั้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเป็นส่วนช่วยให้ อปท.สามารถเก็บรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถนำเงินไปพัฒนาในท้องถิ่นได้อย่างเพียงพอ" นายสมหมายกล่าว

นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวถึงร่างกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างว่า ขณะนี้ได้มีการลดเพดานภาษีลงประมาณ 50% จากร่างเดิมที่เคยคิดไว้ ประกอบด้วย ที่ดินเกษตรมีเพดานจัดเก็บเพียง 0.25% จากเดิมกำหนดไว้ 0.5% ที่อยู่อาศัยเพดานจัดเก็บใหม่คือ 0.5% จากเดิมกำหนดไว้ 1% ส่วนที่ดินพาณิชยกรรมและรกร้างว่างเปล่ามีเพดานจัดเก็บ 2% จากเดิมกำหนดไว้ 4%

ทั้งนี้ในส่วนที่ดินรกร้างว่างเปล่าจะกำหนดอัตราจัดเก็บในขั้นแรก คือ 0.5% หลังจากนั้นจะเพิ่มอีก 1 เท่าทุก 3 ปี แต่สูงสุดต้องไม่เกิน 2% ตามเพดานที่กำหนดไว้ โดยการจัดเก็บในช่วงแรกจะมีการออกกฎหมายลูกประกาศอัตราการจัดเก็บทุกประเภทใหม่

"อัตราการจัดเก็บภาษีจะเป็นอัตราที่ต่ำกว่าเพดานตามกฎหมายเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนซึ่งข้อเสนอดังกล่าวเป็นแค่ตุ๊กตาที่กระทรวงการคลังจัดทำขึ้นมาอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหลังจากนี้อีกเพราะยังผ่านการพิจารณาอีกหลายขั้นตอนก่อนกฎหมายจะมีผลบังคับใช้"นายรังสรรค์กล่าว

ทั้งนี้ก่อนจะคิดภาษีจะมีการหักค่าเสื่อมสำหรับสิ่งปลูกสร้าง มีกำหนดไว้ 69 แบบ อาทิ บ้านไม้ สามารถหักค่าเสื่อมได้สูงสุดถึง 93% ในปีที่ 19 ส่วนอาคารคอนกรีต (ตึก) หักค่าเสื่อมได้สูงสุด 76% ในปีที่ 43 อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้หักค่าเสื่อมได้สูงสุด 85% ในปีที่ 22 เป็นต้น

ส่วนมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะนำมาคิดภาษี จะนำมาจากราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ซึ่งในการประเมินที่ดินนั้นจะมีการประเมินทุก 4 ปี ในเบื้องต้นนั้นคงต้องรอการประเมินที่ดินรายแปลงใหม่อีก 1 ปีครึ่งจากกรมธนารักษ์

ถ้าดูจากขั้นตอนในขณะนี้แล้วถือว่าไม่ง่ายที่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะมีผลบังคับใช้แม้ว่ารัฐบาลชุดนี้จะผลักดันเต็มที่แต่นโยบายก็สามารถเปลี่ยนได้ตลอดเวลา

ถ้าในรัฐบาลชุดนี้ทำกฎหมายนี้ไม่สำเร็จคนในกระทรวงการคลังมองว่าคงจะยากที่กฎหมายนี้จะถูกหยิบยกมาพิจารณาใหม่ในอนาคต

ดังนั้นช่วงนี้จะเห็นการผลักดันจากคนคลังอย่างเต็มที่

ขณะที่ยังมีกฎหมายที่จ่อคิวและคาดว่าจะมีผลบังคับใช้เร็วๆนี้เช่นภาษีการรับมรดกภาษีสรรพสามิตสินค้าที่กำหนดให้คิดภาษีขายส่งขั้นสุดท้ายจากก่อนหน้าที่กำหนดอัตราภาษีหน้าโรงงาน

ขณะที่สภาพเศรษฐกิจเป็นอย่างที่เห็น ไม่แปลกที่สร้างความหวั่นไหวให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษีไปทั่วเหมือนกัน
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 07-03-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.