| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 32 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-01-2558    อ่าน 1367
 สคบ.บังคับ B.O.Q. จุดเปลี่ยนรับสร้างบ้าน

กลายเป็นประเด็นฮอตข้ามปีของวงการธุรกิจรับสร้างบ้าน เมื่อ สคบ.-สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เตรียมชงคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา ออกข้อบังคับให้ธุรกิจว่าจ้างก่อสร้างบ้านและอาคารอยู่อาศัย เป็นธุรกิจที่ต้องถูกควบคุมข้อความในสัญญา ประเด็นหลักอยู่ที่จะบังคับให้สัญญาต้องระบุข้อความรายละเอียด "บี.โอ.คิว." หรือ B.O.Q.-Bill of Quantity หมายถึง บัญชีแจกแจงรายการ ปริมาณ ค่าวัสดุ ค่าแรง และค่าดำเนินการ

เป้าหมายเพื่อลดเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการว่าจ้างปลูกสร้างบ้าน ทั้งปัญหาผู้ประกอบการลดสเป็กวัสดุ ใช้วัสดุไม่ได้คุณภาพ และบ้านชำรุดบกพร่อง โดยสถิติปีงบประมาณ 2557 สคบ.รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการว่าจ้างสร้างบ้าน 500-600 ราย จากเรื่องร้องเรียนอสังหาริมทรัพย์รวม 1,200 ราย

แม้ว่ากำหนดการพิจารณาเดิม สคบ.มีคิวส่งเรื่องให้ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาเมื่อ 25 ธันวาคมที่ผ่านมา ต้องเจอโรคเลื่อน เพราะติดภารกิจพิจารณาเรื่องสัญญาค้ำประกันยังไม่เสร็จ แต่ผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน ยังติดตามเรื่องนี้อย่างจดจ่อ !

โดยก่อนหน้านี้ "วิสิฐษ์ โมไนยพงศ์" นายกสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน ออกมาแสดงจุดยืนขอให้ สคบ.ทบทวนรายละเอียดร่างประกาศใหม่ โดยเฉพาะเรื่องการระบุ บี.โอ.คิว. ในสัญญา ถ้าบังคับใช้อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยน หรือจุดตายของธุรกิจรับสร้างบ้าน

เปิดนิยาม บี.โอ.คิว.

ทำความเข้าใจ บี.โอ.คิว.คืออะไร โดยทั่วไปจะประกอบด้วย ข้อความแสดงรายละเอียดรายการวัสดุ ปริมาณที่ใช้ และค่าวัสดุ แบ่งแยกเป็น 7 หมวด เริ่มจากหมวดวัสดุงานโครงสร้าง (เสา, คาน, พื้น, หลังคา) หมวดงานก่อฉาบ หมวดงานพื้น หมวดงานฝ้าเพดาน หมวดงานไฟฟ้า หมวดงานสี และหมวดงานสุขาภิบาล นอกจากนี้ต้องแจกแจงรายการค่าแรงและค่าดำเนินการด้วย

โดยนับจากผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรวมตัวกันจัดตั้งสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน 11 ปี ทีี่ผ่านมาได้ร่วมกันทำ "สัญญามาตรฐานก่อสร้างบ้าน" เป็นสัญญาต้นแบบให้บริษัทรับสร้างบ้านหรือผู้บริโภคนำไปใช้แบบสมัครใจ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย เช่น การแบ่งระยะเวลาชำระเงินงวดให้สอดคล้องกับความคืบหน้างานเพื่อความเป็นธรรมไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ อย่างไรก็ตามสัญญามาตรฐาน ไม่ได้บังคับต้องระบุรายละเอียด บี.โอ.คิว.

สคบ.-รับสร้างบ้านมองต่างมุม

มองในมุมผู้บริโภค "อำพล วงศ์ศิริ" เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สคบ. ระบุว่า กรณีเตรียมควบคุมสัญญารับสร้างบ้าน สิ่งที่ผู้บริโภคได้คือมีหลักฐานยืนยันว่าทำผิดสัญญา หากบริษัทรับสร้างบ้านหรือผู้รับเหมาแอบลดสเป็กวัสดุระหว่างก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม ในฝั่งผู้ประกอบการ "ศักดา โควิสุทธิ์" เอ็มดี "รอแยลเฮ้าส์" ที่อยู่ในวงการรับสร้างบ้าน 30 ปี ให้ความเห็นว่า หาก สคบ.ไม่ทบทวนเรื่องนี้ ผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานใหม่ ต้องรับพนักงานถอดแบบเพิ่มขึ้น ขณะที่ลูกค้าต้องมีค่าใช้จ่ายถอด บี.โอ.คิว. เฉลี่ยหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทขึ้นกับแบบบ้าน

เพราะลูกค้าทุกรายจะขอปรับแบบ-ฟังก์ชั่นใหม่ บี.โอ.คิว.ของแบบบ้านมาตรฐานเดิมที่ทำไว้จึงใช้ไม่ได้ ต้องถอดรายละเอียดใหม่ ขั้นตอนนี้ต้องใช้เวลา 2-4 สัปดาห์แล้วแต่บริษัท

ข้อเสนอพบกันครึ่งทาง

สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่อาจปรับตัวได้ เพราะมีเงินทุนเพียงพอจะว่าจ้างพนักงานถอด บี.โอ.คิว. แต่รายกลาง-รายเล็กอาจจะเหนื่อย ต้องใช้คนที่มีอยู่เท่าเดิม แต่ทำงานมากขึ้น

ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่ที่การควบคุมสัญญาจะเปิดกว้าง โดยให้ลูกค้าเป็นฝ่ายเลือกเอง คือ 1)จะให้แสดงรายการ บี.โอ.คิว. ในสัญญาปลูกสร้างบ้านตั้งแต่แรก หรือ 2)ให้แสดงภายหลังระหว่างก่อสร้างบ้าน ไม่ถือว่าผิดสัญญา


เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา มีลูกค้าไม่เกิน 5-6% ที่ขอให้ระบุ บี.โอ.คิว.ในสัญญา เนื่องจากในสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้าน จะมีบัญชีวัสดุแนบท้ายให้ลูกค้าอยู่แล้ว เช่น ใช้เหล็กมี มอก., กระเบื้องปูพื้น-บุผนังขนาดเท่าไหร่ หรือใช้ของเทียบเท่า ฯลฯ

งานนี้ต้องวัดใจคณะกรรมการว่าจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร !
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 08-01-2558 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.