| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 99 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 07-12-2557    อ่าน 1350
 "บิ๊กจิน" เอาใจจีน-ญี่ปุ่น ลุยมินิไฮสปีดเทรนเชื่อมไทย-อาเซียน

พลัน ที่ "สนช.-สภานิติบัญญัติฯ" ไฟเขียวร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาล จีน ในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เพื่อร่วมพัฒนารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และแก่งคอย-บ้านภาชี-กรุงเทพฯ ระยะทาง 133 กม.

รถไฟทางคู่สายแรก ของไทยจะมีความเร็ว 180 กม.ต่อชั่วโมง ดูแลโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย 2558-2565 ซึ่งรัฐบาลประยุทธ์เร่งผลักดันหวัง "ยกเครื่อง"โครงสร้างพื้นฐานให้ทัดเทียมกับประเทศอาเซียน โดยเฉพาะ "ระบบราง" จะเป็นโปรเจ็กต์ไฮไลต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าของไทยในอนาคต

"พล.อ.อ .ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะแม่ทัพได้ให้สัมภาษณ์ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงรายละเอียดเรื่องนี้ว่า การเจรจาในข้อตกลงระหว่าง "รัฐบาลไทย-จีน" นั้น จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาร่วมกันแล้วโรดแมปหลังจาก นี้ประมาณกลางเดือนธันวาคมจะมีการลงนามในบันทึกข้อตกลงของ 2 ประเทศ จากนั้นช่วงกลางเดือนมกราคม 2558 จะเริ่มดำเนินการภายใต้กรอบร่างเอ็มโอยูทันที

"เอ็มโอยูฉบับล่าสุดร่างขึ้นภายใต้เงื่อนไขใหม่ หลังนายกรัฐมนตรีไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการและนายกรัฐมนตรีของจีน ทวงถามถึงข้อตกลงเดิมของ 2 รัฐบาลที่ผ่านมา (เมื่อปี 2553 และปี 2556) แต่เราไม่ได้นำมาใช้ทั้งหมด อันไหนที่เป็นประโยชน์ไม่ขัดกับข้อตกลงปัจจุบันก็จะคงไว้ แต่เป็นแค่กรอบกว้าง ๆ ต้องหารือร่วมกันอีกและใช้เวลาพอสมควร"

แต่ พล.อ.อ.ประจินบอกอย่างมั่นใจว่า ในปีหน้าจะเห็นเป็นรูปธรรมชัด หลังคณะทำงาน 2 ฝ่ายเดินหน้าแล้ว ทั้งรูปแบบโครงการ การลงทุนและวงเงินก่อสร้าง จากที่ประเมินไว้คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างประมาณ 392,570 ล้านบาท

"เป้าหมายรัฐบาลไทยอยากนำร่องสายแรกให้ได้ก่อน คือกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง 250 กม. ซึ่งจะประมูลก่อสร้างในปี 2559 แล้วเสร็จในปี 2563-2564 โดยจะเริ่มพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่ใช้ความเร็ว 160-180 กม.ต่อ ชม.ที่สร้างจากคุนหมิงมานครเวียงจันทน์ แล้วเชื่อมกับไทยที่หนองคาย"

สำหรับ รูปแบบการลงทุนนั้น เจ้ากระทรวงคมนาคมระบุว่า จะมี 3 แนวทาง แนวทางแรกเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐกับเอกชนรูปแบบ PPP (Public-Private Partnership)ซึ่งเอกชนในที่นี้หมายถึงหน่วยงานรัฐวิสาหกิจของจีนที่มีหน้า ที่รับผิดชอบงานก่อสร้าง ทราบว่ามีอยู่ 4-5 บริษัท ซึ่งไทยมีสิทธิ์จะคัดเลือกบริษัทต่าง ๆ เข้ามาร่วมลงทุนได้

แนวทาง ที่ 2 รูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer Contract) โดยจ้างเอกชนลงทุนก่อสร้าง พร้อมให้สัมปทานบริหารและเก็บค่าบริการ เมื่อครบอายุสัมปทานก็จะโอนกรรมสิทธิ์ให้รัฐบาลไทย

รูปแบบที่ 3 EPC&F (Engineering Procurement Construction and Finance) จีนจะดำเนินการให้ทุกอย่าง คล้ายกับวิธีการเทิร์นคีย์ แต่จะไม่เรียกว่าเทิร์นคีย์ ทั้งสำรวจ วางแผนโครงการ จัดหาเงินลงทุนดอกเบี้ยต่ำ ออกแบบและประมูลก่อสร้าง ส่วนการบริหารโครงการ รัฐบาลไทยจะดำเนินการพร้อมชำระหนี้คืนในระยะยาว

"ประเด็นนี้ยังไม่รู้ว่าจะกี่ปี 30 ปี หรือ 50 ปี เงื่อนไขอยู่ที่การเจรจา"

"รูป แบบสุดท้าย ผมว่าน่าสนใจ หากรัฐบาลจีนให้เครดิตเงินลงทุนดอกเบี้ยต่ำเป็นเวลานานแก่เราได้ โดยรัฐบาลไทย-จีนจะตั้งบริษัทร่วมกันรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไทยมีสิทธิ์จะเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนทั้ง 5 รายมาร่วมลงทุน สัดส่วนการถือหุ้นยังไม่นิ่ง ฝ่ายไทยอาจจะถือ 80-85% ส่วนจีนอยู่ที่ 15-20%"

ประเด็นข้อกังวลเรื่องสิทธิ์การพัฒนาที่ดินตามเขตทางรถไฟนั้น พล.อ.อ.ประจินย้ำว่า "สิทธิ์นี้ยังเป็นของรัฐบาลไทย รวมถึงผู้รับ เหมาก่อสร้างก็ต้องเป็นรับเหมาไทยเช่นกัน ส่วนจีนจะได้สิทธิ์แค่การก่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยี รวมถึงการจัดหาแรงงานเฉพาะทางเท่านั้น"

พล.อ.อ.ประจินกล่าวยอมรับว่า หลังจากที่รัฐบาลประกาศชัดว่าจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบรางกว่า 1 ล้านล้านบาท นอกจากรัฐบาลจีนแล้วก็มีอีกหลายประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปต่างแสดงความสนใจ อยากเข้ามาลงทุนในระบบราง

"พันธมิตรต่างชาติ เราทิ้งใครไม่ได้เลย ทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และยุโรป เพราะเราจะทำทั้งรถไฟ สนามบิน ท่าเรือ น่าจะให้ทุกประเทศมีส่วนร่วม ซึ่งญี่ปุ่นสนใจรถไฟทางคู่1.435 เมตร และพร้อมปล่อยกู้ให้ไทยลงทุนสร้างสุวรรณภูมิเฟส 2 ส่วนเกาหลีใต้สนใจเรื่องการบริหารจัดการน้ำและรถเมล์เอ็นจีวี"

ทั้งนี้ คาดว่าในเร็ว ๆ นี้หลังนายกรัฐมนตรีเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการแล้ว จะเห็นความร่วมมือชัดเจน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบรถไฟรางสายตะวันออก-ตะวันตก 2 เส้นทางได้แก่ สายตาก-พิษณุโลก-บ้านไผ่-มุกดาหาร ซึ่งไทยยังไม่มีรถไฟเชื่อมแนวตะวันออก-ตะวันตก อีกทั้งเป็นการรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อ.แม่สอดและ จ.มุกดาหาร
และสายกาญจนบุรี-มาบตาพุด ซึ่งจะเชื่อมท่าเรือน้ำลึกที่ทวายได้ โดยมีเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นโครงการเร่งด่วนที่รัฐบาลกำลังจะเร่งอยู่ เพื่อเสริมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกและเชื่อมต่อกับสายหนองคาย-มาบตาพุด เพื่อให้เป็นโครงข่ายที่สมบูรณ์

ทั้งนี้ เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง จะต่อขยายจากแอร์พอร์ตลิงก์ วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม.ต่อ ชม. ระยะทาง 193 กม. เบื้องต้นใช้เงินลงทุน 101,205 ล้านบาท แต่ยังไม่มีการหารือกับจีน ต้องขอศึกษาก่อนว่าจะไปรวมกับสายแก่งคอย-กรุงเทพฯ หรือไม่ เพราะนายกรัฐมนตรีจะหารือกับญี่ปุ่นในประเด็นนี้ด้วย
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 07-12-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.