| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 409 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 04-12-2557    อ่าน 1353
 ผลัดใบโปรเจ็กต์น้ำ ขอ10ปีแก้ทั้งระบบ อัดงบเร่งด่วนแสนล.

"รัฐบาลตู่" วางยุทธศาสตร์ 10 ปีแก้ปัญหาโปรเจ็กต์น้ำ หลังล้างไพ่โครงการเพื่อไทย ล้มประมูล 9 โมดูล เตรียมรวบแผนลงทุน "น้ำท่วม-น้ำแล้ง-น้ำเสีย" จัดงบประมาณเฉียด 1 ล้านล้านบาท ครม.ไฟเขียวนำร่องก่อน 1 แสนล้าน

แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาลเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา มีมติให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งมี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน เพื่อจัดทำรายละเอียดและวงเงินลงทุน แยกเป็นรายการให้ชัดเจนในแผนบริหารจัดการน้ำ และให้นำเสนอ ครม.พิจารณาครั้งต่อไป

ลงทุนน้ำทุกมิติเฉียดล้านล้าน

แหล่ง ข่าวกล่าวว่า แผนบริหารจัดการน้ำชุดใหม่ที่จัดทำโดยรัฐบาลประยุทธ์ วิธีการจะแตกต่างจากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยใช้เงินลงทุนมากกว่า เนื่องจากนโยบายต้องการให้รวมทุกโครงการที่เกี่ยวกับน้ำในทุกมิติและทั่ว ประเทศ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และน้ำเสีย (การปรับปรุงคุณภาพน้ำ)มาไว้ในยุทธศาสตร์เดียวกัน จะใช้เวลาดำเนินการ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2567 วงเงินลงทุนประมาณ 9.5 แสนล้านบาท ได้แก่ การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 2.3 หมื่นล้านบาท แก้ไขการขาดแคลนน้ำ 6.59 แสนล้านบาท แก้น้ำท่วม 1.8 แสนล้านบาท ปรับปรุงคุณภาพน้ำ 5.84 หมื่นล้านบาท ระบบบริหารจัดการน้ำ 3.03 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานที่ดูเรื่องน้ำ เช่น กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การประปานครหลวง (กปน.)

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะที่รัฐบาลชุดที่แล้วใช้เงินลงทุน 3.5 แสนล้านบาทนั้น จะเป็นแผนงานลงทุนเฉพาะโครงการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เท่านั้น ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ทำรายละเอียดแยกออกให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสน

ล้ม 9 โมดูล แยกรายโครงการ

"ส่วน แผนน้ำทั้ง 9 โมดูลของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่ประชุมไม่ได้พูดถึง แต่คาดว่าจะยกเลิกและเริ่มต้นใหม่ จะไม่รวบเป็นโมดูล จะแยกเป็นรายโครงการและประมูลตามความพร้อม เช่น ผลการศึกษาโครงการว่าคุ้มทุน รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและมีแบบรายละเอียด ก็ขอจัดสรรงบประมาณเพื่อก่อสร้างได้เลย ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้แนวทางไว้ว่า โครงการป้องกันน้ำท่วมมีบางรายการที่เป็นโครงการเดียวกันใน 9 โมดูล จะเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมา 4 บริษัทที่ชนะประมูลมาเสนอราคาใหม่ได้" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

ส่วนโครงการไหนยังไม่ศึกษาให้ขอจัดสรรงบ ประมาณ เพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษามาศึกษาใหม่ เช่น เขื่อนยมบน-ยมล่าง ที่ยังไม่เรียบร้อยและยังมีเสียงค้าน ผลศึกษาที่ออกมาอาจจะไม่คุ้ม ก็ต้องชะลอไปก่อน เป็นต้น เนื่องจากโครงการน้ำใน 9 โมดูลนั้น โดยเนื้อในแต่ละโมดูลมีบางโครงการยังไม่พร้อม เช่น ยังไม่ได้ศึกษาความเหมาะสมของโครงการ การเวนคืนที่ดิน การทำประชาพิจารณ์ในพื้นที่ เพราะบางโครงการมีผลกระทบต่อประชาชน ฯลฯ

"รัฐบาลชุดนี้พูดชัดว่าโครงการไหนที่ยังไม่พร้อมก็ยังไม่ต้องทำ เลือกทำเฉพาะที่พร้อมและคุ้มค่า แยกทำเป็นรายโครงการ"

กรมชลฯเดินหน้าฟลัดเวย์ ตอ.

นาย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า แผนป้องกันน้ำท่วมของกรมชลฯที่จะเสนอนั้น คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการเดิม เช่น ฟลัดเวย์ฝั่งตะวันออก จัดหาพื้นที่รับน้ำจากจังหวัดกำแพงเพชรลงมาทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เขื่อนเก็บน้ำขนาดกลาง เป็นต้น แต่จะจัดลำดับความสำคัญใหม่ตามความพร้อม เพื่อเร่งเดินหน้าก่อสร้าง ส่วนฟลัดเวย์ฝั่งตะวันตกอาจต้องยกเลิกไปก่อน

นาย เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า โครงการบริหารจัดการน้ำมูลค่า 3 แสนล้านบาท ที่บริษัทประมูลได้ 5 โมดูล มูลค่า 106,846

ล้านบาทนั้น ล่าสุดได้รับแจ้งจากรัฐบาลให้ขยายระยะเวลาวงเงินหลักประกันซอง (บิดบอนด์) ออกไปอีก 6 เดือน ถึงเดือนพฤษภาคมปีหน้า เนื่องจากรัฐบาลกำลังหาวิธิการเดินหน้าโครงการ โดยคัดเลือกบางโครงการที่พร้อมจาก 9 โมดูลมาทำก่อนตามความพร้อม

4 รับเหมารอลุ้น

"เรารอดูความชัดเจนจากรัฐบาลจะเดินหน้ายังไง เท่าที่ทราบรัฐไม่ได้ยกเลิกโครงการ และจากการไปเยือนประเทศจีน นายกรัฐมนตรีก็ยืนยันกับรัฐบาลจีนว่าจะมีการลงทุนโครงการน้ำ แต่จะเลือกทำบางโครงการที่พร้อม อยู่ที่ว่ารัฐจะใช้วิธีการแบบไหน จะประมูลใหม่หรือไม่ ซึ่งเราก็พร้อม เพราะลงทุนไปหลาย 100 ล้านบาทแล้ว สำหรับการเตรียมประมูลในครั้งที่ผ่านมา คาดว่าทั้งหมดจะเดินหน้าเร็ว ๆ นี้"

ด้าน นายมณฑล ภาณุโภคิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โคเรีย วอเตอร์ รีซอสเซส คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือเค.วอเตอร์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า บริษัทยังรอความชัดเจนจากรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากที่ผ่านมาบริษัทหมดค่าใช้จ่ายเรื่องการเตรียมการเปิดประมูลไปแล้ว 1,000 ล้านบาท ทั้งค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา เช่าสำนักงาน ค่าตั๋วเครื่องบิน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ชนะประมูล 4 บริษัท ประกอบด้วย 1.บริษัท เค.วอเตอร์ จำนวน 2 โมดูล มูลค่า 160,347 ล้านบาท ได้แก่ โมดูล A3 จัดหาพื้นที่แก้มลิง วงเงิน 9,863 ล้านบาท และโมดูล A5 ฟลัดเวย์ตะวันตก วงเงิน 150,484 ล้านบาท

2.บริษัท อิตาเลียนไทย-พาวเวอร์ไชน่า (อิตาเลียนไทย พาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์เปอเรชั่น ออฟไชน่า, ไชน่า เก๋อโจวบ๋ากรุ๊ป, ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล วอเตอร์ แอนด์ พาวเวอร์ คอร์เปอเรชั่น และปัญญา คอนซัลแตนท์ 5 โมดูล มูลค่า 106,846 ล้านบาท ได้แก่ โมดูล A1 อ่างเก็บน้ำ วงเงิน 48,550 ล้านบาท โมดูล A2 พื้นที่ปิดล้อม วงเงิน 24,958 ล้านบาท โมดูล A4 ปรับปรุงลำน้ำ วงเงิน 16,703 ล้านบาท โมดูล B1 อ่างเก็บน้ำ วงเงิน 11,699 ล้านบาท และโมดูล B3 ปรับปรุงลำน้ำ วงเงิน 4,936 ล้านบาท

3.กลุ่มซัมมิท เอสยูที (หจก.สามประสิทธิ์, บ.เอส.เค.วาย.คอนสตรัคชั่น และบ.ยูเนี่ยน อินฟาร์เทค) ชนะโมดูล B2 พื้นที่ปิดล้อม มูลค่า 13,656 ล้านบาท และ 4.กลุ่มล็อกซเล่ย์(บ.ล็อกซเล่ย์ และเอจีที อินเตอร์เนชั่นแนล จีเอ็มบีเอช) ชนะโมดูล A6+B4 มูลค่า 3,902 ล้านบาท

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (2 ธ.ค.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีการหารือถึงแผนบริหารจัดการน้ำจะทำทั้งระบบทั่วประเทศ 25 ลุ่มน้ำ โดยไม่ทำเป็นโมดูลเหมือนรัฐบาลที่แล้ว แต่จะดูว่าทำอย่างไรให้ประเทศไม่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค รวมถึงการคิดกักเก็บน้ำฝน และอะไรที่ขวางทางน้ำ เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่บ้านจะมีน้ำบริโภค โดยระยะที่ 1 ซึ่งเป็นระยะเร่งด่วนได้วางแผนการใช้งบประมาณไว้คราว ๆ 1 แสนล้านบาท โดย 5 หมื่นล้านบาท มาจากงบประมาณปี 2558 แต่ขณะนี้ยังขาดอีก 6 หมื่นล้านบาท ถ้ามีการเห็นชอบตามนี้จะให้กระทรวงการคลังไปหาวิธีการว่าจะหาเงินจากไหนมา ใช้ได้
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 04-12-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.