| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 130 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 28-11-2557    อ่าน 1437
 เลาะเส้นทางรถไฟฟ้า 3 หมื่นล้าน เชื่อม 2 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ"

เป็นที่แน่ชัด "รัฐบาลประยุทธ์" จะลงทุนสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 2 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ" ระยะทาง 21.8 กม. เงินลงทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาท ตามแผน "คมนาคม" โดย "พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะนำโครงการเสนอให้ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติโครงการสิ้นปีนี้ และเริ่มประมูลก่อสร้างปีหน้า ใช้เวลา 4-5 ปี จะเปิดหวูดปี 2562



จอด 5 สถานี เชื่อม 2 สนามบิน

แนวเส้นทางจะต่อขยายรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์จาก "สถานีพญาไท" ขนานไปกับเส้นทางรถไฟสายเหนือและสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) มาสิ้นสุดสนามบินดอนเมือง จะรองรับผู้โดยสารแอร์พอร์ตลิงก์มาจากสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังทำให้การเดินทางผู้มาใช้บริการทั้ง 2 สนามบินสะดวกยิ่งขึ้น มีทั้งหมด 5 สถานี ได้แก่ สถานีราชวิถี (เชื่อมสายสีส้ม) สถานีกลางบางซื่อ (เชื่อมสายสีแดง รถไฟทางไกล และสายสีน้ำเงิน) สถานีบางเขน (เชื่อมสายสีแดง) สถานีหลักสี่ (เชื่อมสายสีชมพู) และสถานีดอนเมือง

รูปแบบโครงการเป็นโครงสร้างแบบผสมผสาน มีทั้งทางยกระดับและใต้ดิน โดยช่วงพญาไท-ถนนพระรามที่ 6 และช่วงถนนระนอง 1-ดอนเมือง จะเป็นทางยกระดับ และบางช่วงจะนำฐานของโครงสร้างโฮปเวลล์เดิมจำนวน 136 ต้น มาใช้ก่อสร้าง ส่วนช่วงถนนพระรามที่ 6-ถนนระนอง 1 ก่อสร้างเป็นอุโมงค์แบบเปิด เนื่องจากผ่านสถานีรถไฟจิตรลดา

ราง 1.435 ม. วิ่ง 160 กม./ชม.

ส่วนทางรถไฟเป็นราง 1.435 เมตร ขณะที่รถจะเป็นระบบรถไฟฟ้ารูปแบบเดียวกับ "แอร์พอร์ตลิงก์" มีสายส่งกระแสไฟฟ้าอยู่เหนือตัวรถขับเคลื่อนรถไฟฟ้า วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม.

โดยจะมีรถวิ่งบริการ 2 ประเภทประกอบด้วย "รถไฟด่วนท่าอากาศยาน" (Airport Express) ให้บริการระหว่างสถานีต้นทางและปลายทาง จะจอดให้บริการที่สถานีสำคัญ ได้แก่ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน และสุวรรณภูมิ ใช้เวลา 30 นาที ทำหน้าที่ให้บริการกับผู้โดยสารที่ต้องการ

ความรวดเร็วในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานทั้ง 2 แห่ง จะใช้บริการได้ที่สถานีกลางบางซื่อและสถานีมักกะสันและ "รถไฟท่าอากาศยาน" (Airport City Line) จะหยุดตามสถานีรายทางที่ดอนเมือง หลักสี่ บางเขน บางซื่อ ราชวิถี พญาไท ราชปรารภ มักกะสัน รามคำแหง หัวหมาก บ้านทับช้าง ลาดกระบัง และสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที คาดว่าเมื่อเปิดบริการปีแรกจะมีผู้โดยสารอยู่ที่ 237,200 คน/วัน

ลงทุนกว่า 3 หมื่นล้าน

สำหรับเงินลงทุนโครงการอยู่ที่ 31,103 ล้านบาท (ไม่รวมค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด) ให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (EIRR) 18.75% และด้านการเงิน (FIRR) 3.94% ซึ่งในผลการศึกษาจะแบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรก "พญาไท-บางซื่อ" ลงทุน 13,600 ล้านบาท เชื่อมต่อจากสถานีพญาไทไปยังสถานีกลางบางซื่อ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยว สามารถเปลี่ยนถ่ายการเดินทางได้ที่สถานีกลางบางซื่อ และระยะที่ 2 "บางซื่อ-ดอนเมือง" ลงทุน 19,400 ล้านบาท เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการขยายการเดินทางระหว่างสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ และพัฒนาเป็นระบบรถไฟความเร็วสูงในอนาคต จะเปิดประมูลแบบนานาชาติมี 2 สัญญา คือ งานโยธา และงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล

เวนคืน 458 ล้านบาท

ขณะที่การเวนคืนที่ดินจะไม่มาก เนื่องจากสร้างบนเขตทางรถไฟเดิม มีที่ดินเอกชนและราชการเวนคืนเพิ่ม 25 แปลง และสิ่งปลูกสร้างบริเวณราชวิถี-สามเสน บ้านราชวิถี โรงเรียนสัตย์สงวนวิทยา พื้นที่บางส่วนของกรมทางหลวง รวมค่ารื้อย้ายและเวนคืนที่ดิน 458 ล้านบาท

ในอนาคตรถไฟฟ้าสายนี้จะต่อขยายไปถึง "สนามบินอู่ตะเภา" และปลายทางที่ "ระยอง" เพื่อเชื่อมการเดินทางทั้ง 3 สนามบิน "ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา" ตามที่รัฐบาลประยุทธ์อยากจะผลักดันให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อเสริมความแกร่งการท่องเที่ยวภาคตะวันออก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 28-11-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.