| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 239 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 24-11-2557    อ่าน 1363
 เปิดหวูดรถไฟทางคู่ 2.5 พันกม. ร่วมมือจีนเชื่อมอาเซียน ผนึกญี่ปุ่นต่อยอด

ชัดเจนขึ้นมาอย่างต่อเนื่องสำหรับการพัฒนาระบบรางเพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาด1 เมตร (มิเตอร์ เกจ) ที่ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงน้ำมันของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ซึ่งเป็นการเพิ่มทางรถไฟอีก 1 ช่องทางจราจร เพื่อให้สามารถวิ่งสวนทางกันได้ ไม่ต้องรอสับหลีก จึงสามารถร่นระยะเวลาการเดินทางให้สั้นลงได้อีกมาก

ปัจจุบันรถไฟมีเส้นทางให้บริการรวมทั้งประเทศประมาณ4,043กิโลเมตร ในจำนวนนี้เป็นเส้นทางเดี่ยว ซึ่งต้องรอสับหลีก 3,685 กิโลเมตร ทางคู่ 251 กิโลเมตร และทางสาม ที่ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณสถานี 107 กิโลเมตร ดังนั้นจึงสามารถใช้ความเร็วของขบวนรถไฟขนส่งสินค้าได้เพียง 29 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนขบวนรถโดยสารใช้ได้ประมาณ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เท่านั้น จึงไม่แปลกที่การเดินทางด้วยรถไฟจะใช้เวลานานหลายชั่วโมง โดยเฉพาะในระยะทางไกลจากกรุงเทพฯไปทางภาคเหนือ หรือลงภาคใต้ ต้องใช้เวลามากกว่า 10-20 ชั่วโมง



แต่หากในอนาคตการก่อสร้างเป็นรถไฟทางคู่แล้วเสร็จ ก็จะสามารถใช้ความเร็วได้มากขึ้น โดยขบวนรถสินค้าจะสามารถใช้ความเร็วได้ถึง 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนขบวนรถโดยสารจะวิ่งได้ถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป จึงสามารถประหยัดเวลาการเดินทางได้มาก ขณะเดียวกันทาง ร.ฟ.ท.ยังสามารถเพิ่มขบวนรถไฟเข้าไปในระบบได้อีกอย่างน้อย 3 เท่าตัวจากจำนวนรถที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน และยังสามารถเพิ่มน้ำหนักลงเพลาได้ ทำให้สามารถขนส่งสินค้าได้มากกว่าเดิม 25%

ซึ่ง ร.ฟ.ท.เองก็คาดหวังว่าจะช่วยสร้างรายได้เพิ่มเติมจำนวนมาก พร้อมกันนี้ยังตั้งเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการขนส่งทางรถไฟให้ได้ถึง 5% ในปี 2563 เมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งทุกระบบไม่ว่าจะเป็นทางถนน ทางน้ำ และทางอากาศ เพราะเมื่อการขนส่งมีประสิทธิภาพก็จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการขนส่งทางรถไฟมากขึ้นตามไปด้วย จากปัจจุบันที่สัดส่วนการขนส่งทางรถไฟอยู่ที่ประมาณ 1.5% เท่านั้่น

ทั้งนี้ ตามแผนการดำเนินโครงการลงทุนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งปี 2558 ซึ่งเป็นแผนระยะเร่งด่วนที่อยู่ในยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าว จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะแรก ใน 6 เส้นทาง คือ 1.เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคาหาบริษัทเอกชนเข้ามาก่อสร้าง 2.เส้นทางชุมทางจิระ (นครราชสีมา)-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และ 3.เส้นทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร อยู่ระหว่างนำเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการ

4.เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร 5.เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และ 6.เส้นทางนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร อยู่ระหว่างนำเสนอขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รวมระยะทางที่จะก่อสร้างรถไฟทางคู่ ระยะแรก 903 กิโลเมตร ตามกำหนดจะเริ่มดำเนินโครงการได้ทั้งหมดในปี 2558 และทยอยแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2561-2563

สำหรับระยะที่ 2 ซึ่งจะเริ่มศึกษาและออกแบบรายละเอียดในปีงบประมาณ 2558 มี 8 เส้นทาง คือ 1.เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กิโลเมตร 2.เส้นทางปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กิโลเมตร 3.เส้นทางชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กิโลเมตร 4.เส้นทางขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กิโลเมตร 5.เส้นทางชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กิโลเมตร 6.เส้นทางสุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กิโลเมตร 7.เส้นทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กิโลเมตร และ 8.เส้นทางเด่นชัย-เชียงใหม่ ระยะทาง 217 กิโลเมตร รวมระยะทางรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 อยู่ที่ 1,626 กิโลเมตร

ยังมีการก่อสร้างเส้นทางใหม่ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนระยะที่ 1 และ 2 แต่จะมีการก่อสร้างด้วยเช่นเดียวกัน คือ 1.เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กิโลเมตร และ 2.เส้นทางบ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-มุกดาหาร-นครพนม ระยะทาง 347 กิโลเมตร โดยที่ผ่านมา ร.ฟ.ท.ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาให้ดำเนินการศึกษาและออกแบบแล้ว

นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างโดย ร.ฟ.ท. แต่มีการกล่าวถึงมากเป็นพิเศษในช่วงนี้คือ การก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน (สแตนดาร์ด เกจ) ขนาด 1.435 เมตร ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า สามารถวิ่งให้บริการได้ด้วยความเร็ว 160-180 กิโลเมตร โดยเส้นทางแรกไทยจะร่วมลงทุนกับจีนในการดำเนินโครงการคือ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วงนครราชสีมา-มาบตาพุด และช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางประมาณ 867 กิโลเมตร

ซึ่งที่ผ่านคณะรัฐมนตรี (ครม.)ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับหลักการความร่วมมือระหว่างไทยกับจีนแล้ว แต่ยังต้องมีการจัดทำบันทึกความร่วมมือเพื่อลงนามร่วมกันในเดือนธันวาคมนี้ ก่อนจะเริ่มศึกษาออกแบบโครงการได้ในต้นปี 2558 และก่อสร้างในปี 2559 ซึ่งเรื่องนี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับ ร.ฟ.ท.โดยตรงในตอนนี้ แต่ในอนาคตหากได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลให้เป็นผู้บริหารจัดการเดินรถ ก็อาจจะทำให้ ร.ฟ.ท.มีกำไรได้มากขึ้นเช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกันก็มีอีก 1 เส้นทาง ที่ไม่ได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลชุดนี้ แต่ได้หยิบขึ้นมาดำเนินการก่อน เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนคือ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางตาก-มุกดาหาร ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงระหว่างฝั่งตะวันตกกับตะวันออกของไทย และยังเชื่อมต่อกับรถไฟทางคู่เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมาที่ไทยร่วมกับจีนด้วย

โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดจะนำไปหารือกับรัฐบาลญี่ปุ่นในระหว่างการเดินทางไปเยือนญี่ปุ่นในเดือนธันวาคมนี้ คาดว่าจะมีความร่วมมือดำเนินการลักษณะเดียวกันกับที่ไทยร่วมมือกับจีน เนื่องจากเส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่ญี่ปุ่นแสดงความสนใจที่จะดำเนินการร่วมกับไทยตั้งแต่แรก

แต่ถึงที่สุดแล้วจะลงนามร่วมมือกันกับญี่ปุ่น เหมือนกับที่ไทยร่วมมือกับจีนเพิ่มเติมอีกเส้นทางหนึ่งหรือไม่ คงต้องรอผลชัดเจนในเดือนธันวาคมนี้


นายเกรียงไกร เธียรนุกุล
รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

กล่าวว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนของรถไฟทางคู่นั้นถือเป็นเรื่องดี เพราะจะสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากปัจจุบันที่ค่อนข้างซบเซา และผลการลงทุนจะสร้างความได้เปรียบเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เพราะจะทำให้การเดินทางสะดวก ลดต้นทุน เพราะเมื่อรถไฟไปที่ไหนย่อมสร้างความเจริญ สร้างเมืองใหม่ โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับประโยชน์ค่อนข้างจะเกิดการจ้างงานสูง คือ อุตสาหกรรมก่อสร้าง เหล็ก ปูน เพราะต้องใช้ในการพัฒนาเมือง

การลงทุนรถไฟทางคู่ของรัฐบาลเป็นการลงทุนระยะกลางและยาว เป็นเรื่องจำเป็น เพราะหากพิจารณาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันจะพบว่าภาพรวมยังอยู่ในภาวะชะลอตัว มีเพียงสหรัฐอเมริกาที่เศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง จากตัวเลขการว่างงานที่ลดลงเหลือ 5.8% จากที่ผ่านมาประมาณ 10% สินเชื่อเติบโตกว่า 6% แสดงว่าเกิดการลงทุน แต่ประเทศที่เหลือตัวเลขไม่ดีนัก อาทิ สหภาพยุโรปว่างงานเฉลี่ย 17.5% โดยเฉพาะกรีซ ประชาชนตกงานสูงถึง 26% สเปน 24% ขณะที่ญี่ปุ่นแม้จะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดเก็บรายได้ด้วยเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จาก 5% เป็น 8% แต่พบว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะถดถอย ตัวเลขติดลบสองไตรมาสจนนายกรัฐมนตรีต้องประกาศยุบสภา รวมทั้งจีนที่อัตราการเติบโตยังคงระดับ 7%

"ที่ผ่านมารัฐบาลได้ลงทุนระยะสั้น โดยสนับสนุนการค้าชายแดน ช่วยให้ผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี มีช่องทางจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น ตรงตามความต้องการตลาด เพราะการส่งออกไปขายต่างประเทศไกลๆ ค่อนข้างลำบาก ดังนั้นการเร่งลงทุนระยะกลางและยาว แม้จะใช้เวลา 3-5 ปี แต่จะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตเพิ่มขึ้นแน่นอน"

นายสมเกียรติ อนุราษฎร์
รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

กล่าวว่า การลงทุนรถไฟทางคู่ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อไทยมาก เพราะทางรถไฟถือว่าเป็นต้นทุนการคมนาคมที่ต่ำกว่าการขนส่งทางเรือและทางอากาศ ซึ่งจะทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งลดลงอีก 2% ใน 5 ปี จากปัจจุบัน 15% ของจีดีพีเหลือ 13% ทำให้การค้า การเคลื่อนย้ายและการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระดับปานกลางและล่างจะได้เดินทางมาท่องเที่ยวได้มากขึ้น ดึงตลาดการค้าและการลงทุนทั้งในอาเซียนและนอกอาเซียนเพิ่มขึ้น

"ในแง่มูลค่านั้น ประเมินว่ามีผลต่อเศรษฐกิจเป็นหลายหมื่นล้านบาทต่อปี แต่ยังไม่ได้ประเมินโดยรวมว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าจะขยายตัวได้เป็นหลายเท่าตัวหลังโครงการเดินทางในปี 2563 โดยเฉพาะการเพิ่มการค้าชายแดนที่ได้ระบุไว้เกิน 1 ล้านล้านบาท"
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 24-11-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.