| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 66 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 12-11-2557    อ่าน 1385
 รีวิว 11 สะพานข้ามเจ้าพระยา ทุ่ม 5 หมื่นล้าน เชื่อม "ปากน้ำ-มหาชัย"

ถูกปัด ฝุ่นขึ้นมาอีกครั้ง สำหรับแผนแม่บทโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 11 แห่ง หลัง "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ศึกษาเสร็จไปเมื่อปี 2554 ล่าสุด "คมนาคม" มีนโยบายจะเร่งแผนการก่อสร้างแต่ละแห่งให้เร็วขึ้น เพื่อมาเป็นตัวช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯและปริมณฑลในระยะกลาง

โดย "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า จะนำผลศึกษาการก่อสร้างสะพานมาดูและเร่งให้ก่อสร้างเร็วขึ้น เพื่อรับมือกับวิกฤตการจราจรในอนาคต มีเป้าหมายจะให้แล้วเสร็จปี 2560-2564 จำนวน 9 สะพาน ขณะนี้บางโครงการอยู่ระหว่างศึกษา ออกแบบและรอการอนุมัติของบประมาณ ที่เร่งด่วนมีสะพานเกียกกายและสะพานเชื่อม จ.สมุทรปราการและสมุทรสาคร

ธ.ค.นี้เปิดใช้สะพานนนท์ 1

สำหรับ เงินลงทุนจากผลการศึกษา คาดว่าจะใช้วงเงินก่อสร้างประมาณ 54,326 ล้านบาท ล่าสุดจากการอัพเดตเงินลงทุนของแต่ละโครงการแล้ว มีแนวโน้มจะไต่ทะยานไปถึง 102,768 ล้านบาท

ขณะที่สถานะแต่ละโครงการที่กำลังแล้วเสร็จเป็น โครงการแรก มี "สะพานนนทบุรี 1" ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) ที่ใช้เงินก่อสร้าง 3,796 ล้านบาท เริ่มสร้างเมื่อปี 2555 จะเปิดใช้เดือนธันวาคมนี้ จะเชื่อม 2 ฝั่งแม่น้ำพื้นที่ จ.นนทบุรี แนวเส้นทางเริ่มจากจุดใกล้โรงเรียนศรีบุณยานนท์ และชุมชนตลาดขวัญ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปสิ้นสุดโครงการที่ถนนราชพฤกษ์

เวนคืนสะพานเกียกกายปี"58

ด้าน "สะพานเกียกกาย" พร้อมถนนต่อเชื่อมของกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะมารองรับรัฐสภาแห่งใหม่บริเวณเกียกกาย จากการประเมินค่าเวนคืนและก่อสร้างล่าสุดอยู่ที่ 10,500 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 4,500 ล้านบาท และเวนคืนที่ดิน 6,000 ล้านบาท

แหล่ง ข่าวจาก กทม.กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กทม.กำลังเสนอขออนุมัติ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน คาดว่าจะเริ่มเวนคืนได้ในปี 2558 และขอจัดสรรงบประมาณก่อสร้างในปี 2559 จะเริ่มสร้างได้ต้นปี 2560

โครงการ จะเป็นสะพานยกระดับและถนนต่อเชื่อมยกระดับขนาด 4-6 ช่องจราจร จุดเริ่มต้นอยู่ทางรถไฟสายใต้ ตัดตรงข้าม ถ.จรัญสนิทวงศ์ ซอย 93-95 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านวัดแก้วฟ้าจุฬามณี รัฐสภาแห่งใหม่ ผ่าน ถ.สามเสน ถ.ทหาร ถ.เตชะวณิช ถ.ประดิพัทธ์ วกเข้า ถ.เทอดดำริห์ ตวัดออกข้ามทางด่วนขั้นที่ 2 บริเวณ ถ.พระรามที่ 6 เข้า ถ.กำแพงเพชร ผ่านตลาด อ.ต.ก. ตลาดนัดจตุจักร มาบรรจบกับ ถ.พหลโยธิน ด้านกรมการขนส่งทางบก มียอดเวนคืน 874 ราย

เร่งราชวงศ์-ท่าน้ำดินแดง

ส่วน "สะพานราชวงศ์-ท่าดินแดง" ปัจจุบัน กทม.ศึกษาเสร็จแล้ว เตรียมจะของบฯก่อสร้างปี 2559 จะใช้เงินก่อสร้างและเวนคืนที่ดิน 900 ล้านบาท มีรูปแบบเป็นสะพาน 2 ช่องจราจร พร้อมทางเดินด้านข้าง ความยาว 480 เมตร จะสร้างอยู่บนแนว ถ.ราชวงศ์ และ ถ.ท่าดินแดง มีจุดเริ่มต้นอยู่บริเวณ ถ.ทรงวาด ไปตาม ถ.ราชวงศ์-ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือดินแดง-ถ.ท่าดินแดง สิ้นสุดที่ปากซอยท่าดินแดง 17

ถ.จันทน์ค่าเวนคืนที่ดินพุ่ง

ขณะ ที่ "สะพานจันทน์-เจริญนคร" ระยะทาง 1.3 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร ใช้เงินลงทุน 6,600 ล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 1,800 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 4,800 ล้านบาท เพราะพาดผ่านที่ดินกลางเมืองใกล้รถไฟฟ้า ทำให้ราคาที่ดินค่อนข้างแพง เฉลี่ย 2 แสนบาท/ตร.ว.

จุดเริ่มต้นอยู่ ที่ ถ.จันทน์ ซอย 42 ผ่าน ถ.เจริญกรุง ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบ ถ.เจริญนคร ซอย 24 หลัง กทม.ให้บริษัทที่ปรึกษาศึกษารายละเอียด มีเวนคืนที่ดิน 200-300 หลังคาเรือน

จุดเวนคืนใหญ่ อาทิ ฝั่ง ถ.เจริญกรุง จะเฉือนที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กว่า 4 ไร่ ด้านหลังโรงแรมชาเทรียม ล่าสุดโครงการนี้ยังไม่มีความคืบหน้าแต่อย่างใด หลังจากมีการคัดค้านการเวนคืนที่ดินอย่างหนัก

เช่นเดียวกับ "สะพานลาดหญ้า-มหาพฤฒาราม" ที่ กทม.ศึกษาเสร็จแล้ว แต่ติดเรื่องเวนคืนที่ดิน ทั้งโครงการจะใช้เงินลงทุน 5,800 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 2,300 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 3,500 ล้านบาท มีเวนคืน 12.1 ไร่ อาคาร 50 หลัง จุดเริ่มต้นฝั่ง ถ.ลาดหญ้า อยู่ระหว่างซอยเจริญรัถ 18 กับซอยลาดหญ้า 17 ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมกับฝั่งพระนคร บริเวณ ถ.มหาพฤฒาราม ใกล้โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม 2.36 กม.

ผุดแลนด์มาร์กปากน้ำ-มหาชัย

ที่ น่าสนใจ "สะพานเชื่อมสมุทรปราการ-สมุทรสาคร" ของ "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" นับเป็นโครงการใหญ่ที่สุดในแผนแม่บท ลงทุนกว่า 49,600 ล้านบาท เป็นค่าเวนคืนที่ดิน 7,900 ล้านบาท ค่าก่อสร้าง 40,048 ล้านบาท มีระยะทาง 59 กม. จะมีเวนคืน 256 หลัง และที่ดิน 15,662.3 ไร่

แนวเส้นทาง เริ่มจากบริเวณ ถ.สุขุมวิทสายเก่า ใกล้เมืองโบราณ ผ่านฟาร์มจระเข้ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่าน ถ.สุขสวัสดิ์ ไปเชื่อมกับ ถ.เลียบคลองสรรพสามิต ตัดผ่านป่าชายเลนไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 35 หรือ ถ.พระรามที่ 2

ล่า สุด "ทช." จะของบประมาณปี 2558 มาออกแบบคาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี จากนั้นเริ่มเวนคืนปี 2559 และก่อสร้างในปี 2560 แล้วเสร็จในปี 2564

"เป็น โครงการใหญ่เชื่อมการเดินทาง 3 จังหวัด คือ สมุทรปราการ กรุงเทพฯ และสมุทรสาคร จะใช้เงินกู้มาก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ที่เป็นทั้งโครงข่ายการคมนาคมและ แหล่งท่องเที่ยวรวมถึงเชื่อมการขนส่งจากนิคมภาคตะวันออก ท่าเรือแหลมฉบัง ไปยังทวายได้ในอนาคต" นายอาคมกล่าวย้ำ

ทะลวงซูเปอร์บล็อกปทุมธานี

นอก จากนี้ มี "สะพานปทุมธานี 3" ของ "ทล.-กรมทางหลวง" มีความยาว 600 เมตร ขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมถนนต่อเชื่อม ระยะทาง 10.5 กม. จะไปต่อเชื่อมกับ ถ.วงแหวนรอบนอกตะวันตก กับ ถ.รังสิต-ปทุมธานี บริเวณแยกโรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอส เงินลงทุน 15,000 ล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 7,500 ล้านบาท และค่าเวนคืนที่ดิน 7,500 ล้านบาท

เหลือ 4 สะพานยังไม่เริ่มศึกษา อีก 4 สะพานที่เหลือยังไม่เริ่มศึกษา มี "สะพานท่าน้ำนนท์" ของ ทช. วงเงิน 800 ล้านบาท ความยาว 490 เมตร ขนาด 2 ช่องจราจร สร้างบน ถ.ท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ มาลงที่ ถ.กรุงเทพฯ-นนทบุรี

"สะพาน สามโคก" ของ ทล. วงเงิน 5,192 ล้านบาท ความยาว 440 เมตร พร้อมถนนต่อเชื่อมอีก 8.94 กม. ขนาด 6 ช่องจราจร เริ่มต้นที่ ถ.สาย 347 (ปทุมธานี-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร) ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างวัดปทุมทองกับวัดบัวทอง ไปลงที่ ถ.ปทุมธานี-สามโคก-เสนา

"สะพาน สนามบินน้ำ" ของ ทช. วงเงิน 1,580 ล้านบาท ความยาว 1.4 กม. และถนนต่อเชื่อม 5 กม. ขนาด 4 ช่องจราจร จุดเริ่มต้น ถ.สนามบินน้ำ ใกล้หมู่บ้านธิดารัตน์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปยังอีกฝั่งที่เป็นพื้นที่ตัดใหม่ก่อนถึง ถ.ราชพฤกษ์

สุด ท้าย "สะพานพระราม 2" ของ กทม. ค่าก่อสร้าง 3,000 ล้านบาท ความยาว 2 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร แนวเส้นทางเริ่มที่ต่างระดับ ถ.พระรามที่ 2 ยกข้ามถ.ราษฎร์บูรณะ แม่น้ำเจ้าพระยา ถ.เจริญนครและบรรจบ ถ.พระรามที่ 3 บริเวณจุดตัดกับ ถ.สาธุประดิษฐ์
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 12-11-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.