| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 82 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 08-11-2557    อ่าน 1340
 จับเข่าคุย...สมาคมรับเหมา จี้รัฐเบ่งประมูล-แก้แรงงานขาดแคลน

ภาพรวมธุรกิจรับเหมาก่อสร้างปีนี้ เจอผลกระทบจากปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ผู้รับเหมาต้องดิ้นรนหาทางรอด ถึงจะเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น หลังรัฐบาลใหม่เตรียมผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า และรถไฟทางคู่ออกมาในปีหน้า แต่ก็เกิดความกังวลเรื่องปัญหาขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง ล่าสุด "อังสุรัสมิ์ อารีกุล" นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้เปิดใจถึงปัญหาในวงการรับเหมาที่อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือ

- ปัญหาวงการรับเหมาปีนี้

ปีนี้งานก่อสร้างใหม่มีน้อย ส่วนใหญ่เป็นงานต่อเนื่องจากปี"55-56 ถึงแม้มีงานก่อสร้างลดลงและภาครัฐเปิดให้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวเพิ่ม แต่สมาคมยังได้รับร้องเรียนปัญหาขาดแคลนแรงงานก่อสร้าง รวม ๆ แล้วประเมินว่ายังมีความต้องการแรงงานอีกถึง 3 แสนคน ล่าสุดสมาคมทำหนังสือยื่นถึงรัฐบาลขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาแล้ว

นอกจากนี้ช่วงที่เกิดวิกฤตการเมืองเมื่อปลายปี"56 ถึงกลางนี้ มีการปิดล้อมหน่วยงานบางกระทรวง เป็นอุปสรรคติดต่องานเอกสาร แก้ไขแบบก่อสร้าง และการเบิกจ่ายงบประมาณ ทำให้งานก่อสร้างล่าช้า

- สภาพปัญหาขาดแคลนแรงงาน

ปัจจุบันคนไทยทำงานก่อสร้างน้อย ส่วนใหญ่ไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะสบายกว่า ที่ยังทำอยู่เป็นแรงงานมีฝีมือ ส่วนแรงงานแบกหามส่วนใหญ่เป็นต่างด้าว สภาพปัญหาที่ผ่านมาเกิดจากเมียนมาร์เปิดประเทศและกำลังมีการก่อสร้างเมกะโปรเจ็กต์ แรงงานเมียนมาร์จึงคืนถิ่นจำนวนมาก สมาคมจึงเสนอถึงกระทรวงแรงงานให้เป็นคนกลางนำเข้าแรงงานจากเวียดนามอย่างถูกต้อง เพราะแรงงานเวียดนามค่อนข้างอดทนและพร้อมเรียนรู้งาน

- แนวโน้มราคาวัสดุก่อสร้าง

เป็นเรื่องดีมานด์-ซัพพลาย ถ้างานก่อสร้างน้อย วัสดุจะไม่ขึ้นราคา ที่เริ่มเป็นห่วงคือถ้าปีหน้าเริ่มมีเมกะโปรเจ็กต์รัฐทยอยออกมา วัสดุก่อสร้างหลัก เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ หิน ดิน ทราย จะเพียงพอหรือไม่ ถ้าแย่งกันซื้อแย่งกันใช้ราคาจะแพงขึ้น ผู้ผลิตจึงควรประสานกับผู้รับเหมาสำรวจความต้องการใช้วัสดุจริง ๆ ในปีหน้าว่ามีเท่าไหร่ เพื่อวางแผนการผลิตและสต๊อกสินค้าและป้องกันปัญหาวัสดุขาดแคลน

- ปัญหาราคากลางต่ำกว่าความเป็นจริง

ราคากลางที่ใช้ประมูลงานก่อสร้างภาครัฐยังต่ำกว่าความเป็นจริง เพราะยังไม่ได้รวมต้นทุนค่าขนส่งวัสดุก่อสร้าง ที่ผ่านมางานประมูลของรัฐบางงานจึงไม่มีผู้รับเหมาเสนอราคา จึงเสนอให้รัฐทบทวนราคากลางใหม่ให้สอดคล้องกับต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น เรื่องนี้สมาคมผลักดันมากว่า 3 ปีแล้ว แต่ยังไม่สำเร็จ

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องการรับแรงงานพิการเข้าทำงานในไซต์ก่อสร้าง ตามข้อกำหนดใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 กำหนดให้ทุก ๆ การจ้างงาน 100 คน จะต้องรับแรงงานพิการไว้ทำงาน 1 คน ไม่ใช่ผู้รับเหมาไม่อยากทำตามกฎ แต่ด้วยสภาพการทำงานอาจไม่เอื้ออำนวยกับคนพิการ อยากให้ทบทวนใหม่

- จะให้ภาครัฐช่วยแก้ปัญหาอย่างไร

กฎหมายวิชาชีพก่อสร้างภายใต้กระทรวงมหาดไทย ถูกร่างขึ้นมาตั้งแต่ปี"22 แต่ถึงปัจจุบันยังไม่ได้บังคับใช้ จึงเสนอให้นำร่างกฎหมายนี้มาบังคับใช้ เพราะหนึ่งในสาระสำคัญคือ การยกระดับมาตรฐานผู้ประกอบการรับเหมาจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ไม่ได้เปิดเสรีให้ใครก็ได้เข้ามาทำและเกิดปัญหาทิ้งงาน ประกอบกับปลายปี"58 ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) จำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนผู้รับเหมา ขณะเดียวกันภาครัฐควรมีนโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการรายเล็ก ให้ยกระดับตนเอง

- แนวโน้มธุรกิจก่อสร้างปีหน้า

ต้องหาวิธีจูงใจให้แรงงานไทยทำงานก่อสร้าง โดยเฉพาะแรงงานที่ออกไปทำงานต่างประเทศกลับคืนถิ่น ถ้าจำเป็นจึงเสนอว่ารัฐบาลอาจขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับแรงงานไทย เพื่อจูงใจให้เข้ามาทำงานเพิ่มขึ้น ส่วนสิ่งที่ฝากรัฐบาล คือ ขอให้เร่งผลักดันประมูลงานใหม่ ๆ ออกมามากขึ้น
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 08-11-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.