| freesplans.com | ศูนย์รวมแบบบ้าน และ ตกแต่ง หลากหลายสไตล์
ขอเป็นข้ารองบาททุกชาติไป
: : g o  t o  m a i n p a g e : :
สถาปัตยกรรม | ตกแต่งภายใน | ดีไซน์-แกลอรี่ | แบบบ้านสวย | แนะนำ-ติชม | ถาม-ตอบ เรื่องบ้าน | ติดต่อเรา 
ขณะนี้มีผู้ชมอยู่ 106 ท่าน 
FreeSplanS MENU
Profession Search
+ งานสถาปัตยกรรม
+ งานวิศวกรรม
+ งานรับเหมาก่อสร้าง
+ งานรับเหมาเฉพาะด้าน
+ งานออกแบบ
+ งานอสังหาริมทรัพย์
+ งานบริการอาคาร
C a l c u l a t o r . . .
+ คำนวณปริมาณคอนกรีต
+ คำนวณปริมาณการใช้สี
+ คำนวณปริมาณกระเบี้องปูพื้นและผนัง
+ คำนวณปริมาณวอลเปเปอร์
+ คำนวณปริมาณ BTU แอร์
D o w n l o a d s . . .
+ Agreement & Forms
+ Program Utilities
+ Windows Font

 

Link to us!!!
Link to US!!!






ข่าวเศรษฐกิจ / วงการก่อสร้าง
 
กด Like เป็นกำลังใจให้เว็บด้วยนะค่ะ
| ข่าวทั้งหมด |

 fp 23-10-2557    อ่าน 1520
 รัฐบาลประยุทธ์ผุดมินิไฮสปีดเทรนประหยัดงบ30% นำร่อง2สายไป"โคราช-ระยอง"180กม./ชม.

รัฐบาลประยุทธ์เดินหน้าโครงการมินิไฮสปีดเทรนความเร็ว 180 กม./ชม. เชื่อมการค้าจีนตอนใต้จาก "หนองคาย" ทะลุ "ปาดังเบซาร์" ระยะทาง 1,837 กม. นำร่อง 2 สาย "กทม.-โคราช และ กทม.-ระยอง" ปลุกเศรษฐกิจและท่องเที่ยวภาคอีสาน-ตะวันออก กลางปีหน้าศึกษาเสร็จ คาดเงินลงทุนถูกกว่าไฮสปีดเทรนเพื่อไทย 20-30% จับตา "จีน-ญี่ปุ่น" แบ่งเค้ก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พูดถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม จะมียุทธศาสตร์การพัฒนาระยะสั้นและระยะยาวว่าจะไปในทิศทางไหน เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนและพัฒนาประเทศให้เดินหน้าต่อไป ทั้งด้านเศรษฐกิจในประเทศ ต่างประเทศ อาเซียน และเขตเศรษฐกิจพิเศษ สั่งสร้างทางคู่เชื่อมชายแดน



"ต้องวางแผนเส้นทางคมนาคมให้สอดคล้องกัน จะเชื่อมโยงอย่างไรในประเทศและไปพื้นที่ชายแดน ไปอาเซียน อย่างวันนี้จะสร้างรถไฟทางคู่เพิ่มในปี"57-58

เส้นทางที่จำเป็นหลัก ๆ จะไปด่านชายแดน เป็นการขนส่งสินค้า และเตรียมเชื่อมต่อกับประชาคมโลกต่อไปที่ไกลออกไปจากรอบบ้านเรา ต้องเตรียมแผนอนาคตไว้" พลเอกประยุทธ์กล่าวและว่า

ขณะเดียวกันในประเทศต้องเพิ่มเส้นทางการขนส่งสินค้า ต่อไปต้องแยกสินค้ากับขนส่งผู้โดยสาร ซึ่งรถโดยสารจะต้องวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า อาจจะใช้รางแบบ 1.435 เมตร และใช้รถรุ่นใหม่มาวิ่งบริการ ซึ่งแนวทางการพัฒนาในอนาคตจะต้องเดินไปตามนี้ ต้องมีการวางแผนว่าจะเริ่มดำเนินการได้ปีไหนและแหล่งเงินที่จะมาลงทุนก่อสร้าง ทางฝ่ายเศรษฐกิจจะต้องไปหาวิธีการ เช่น เพิ่มเศรษฐกิจการค้าขาย

เฟสแรกได้ข้อสรุปกลางปีหน้า

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กลางปีหน้าผลการศึกษาโครงการการพัฒนารถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เชื่อมการค้าประเทศจีนตอนใต้จะแล้วเสร็จในเส้นทางระยะเร่งด่วน สายหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด และแก่งคอย-บ้านภาชี-ชุมทางบางซื่อ ระยะทาง 867 กม. โดยจะนำร่องระยะแรก ได้แก่ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-ระยอง รูปแบบโครงการจะสร้างบนทางใหม่คู่ขนานไปกับแนวรถไฟปัจจุบัน และขบวนรถจะขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าความเร็ว 180 กม./ชม.

"นโยบายของรัฐบาลจะเร่งพัฒนารถไฟทางคู่ระยะแรก 6 สาย ให้เสร็จใน 4-5 ปีข้างหน้า และจะพัฒนารถไฟทางคู่วิ่งด้วยความเร็วสูงควบคู่ไปด้วย แต่จะปรับให้สอดรับกับความต้องการในการเดินทางและการท่องเที่ยว ปีหน้าจะชัดเจนว่ารูปแบบเหมาะสมจะขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสาร รวมถึงเม็ดเงินลงทุนด้วย"

รอเคาะข้อเสนอจีน-ญี่ปุ่น

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า อย่างไรก็ตามรัฐบาลประเทศจีนและญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจจะมาลงทุนระบบรถไฟให้ พร้อมแหล่งเงินลงทุนและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีด้วย แต่ยังไม่สามารถตอบได้ขณะนี้ จะต้องรอดูนโยบายโดยรวมของรัฐบาล ซึ่งเดือนพฤศจิกายนนี้นายกรัฐมนตรีไทยและผู้นำจีนจะหารือร่วมกัน อีกทั้งต้องดูผลศึกษาจะสรุปปีหน้าด้วย จะลงทุนรูปแบบไหนถึงจะเหมาะสมที่สุดสำหรับประเทศไทย ต้องพิจารณาให้รอบคอบทั้งผลดีและผลเสียเพื่อไม่ให้กระทบต่อวินัยการคลังของประเทศ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การพัฒนารถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตร ล่าสุดนโยบายจะเน้นเส้นทางเชื่อมกับจีนที่หนองคาย ผ่านกรุงเทพฯและสิ้นสุดที่ปาดังเบซาร์ รวม 1,837 กม. โดยให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาโครงการระยะเร่งด่วนให้เสร็จกลางปี 2558 คือ สายหนองคาย-นครราชสีมา-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด และแก่งคอย-บ้านภาชี-ชุมทางบางซื่อ 867 กม. และระยะต่อไปสายบางซื่อ-นครปฐม-ประจวบคีรีขันธ์-สุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ 970 กม.

นำร่อง 2 สาย ไปโคราช-ระยอง

"จะนำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงที่เคยศึกษาไว้ในเฟสแรก คือ กรุงเทพฯ-โคราช และกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มาทบทวน ซึ่งจะปรับลดความเร็วจาก 250 กม./ชม. เหลือ 180 กม./ชม. คาดว่าเม็ดเงินลงทุนจะถูกลงกว่าเดิม 20-30% ส่วนแนวสายทางและที่ตั้งสถานีจะคงเดิม ตามแผนงานเมื่อศึกษาเสร็จในปีหน้า คาดว่าจะเริ่มประมูลและก่อสร้างในปี"59 แล้วเสร็จในปี"63"

ทั้งนี้สำหรับผลการศึกษาเดิมในสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. ใช้เงินค่าก่อสร้าง 176,598 ล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 14.95% และผู้โดยสาร 14,658 เที่ยวคน/วัน ล่าสุด สนข.ได้เสนอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีบางซื่อ ผ่านดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ชุมทางบ้านภาชี จากนั้นเบี่ยงไปทางแนวรถไฟสายอีสาน มุ่งหน้าสระบุรีผ่านปากช่อง วิ่งเลียบเขื่อนลำตะคองไปนครราชสีมา มี 3 สถานี ได้แก่ สถานีสระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา มีเวนคืนที่ดิน 1,600 ไร่

ส่วนเฟส 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 359 กม. ทาง สนข.กำลังจ้างที่ปรึกษาศึกษาโครงการ เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนก่อสร้าง 170,725 ล้านบาท

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง มีระยะทาง 221 กม. ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังศึกษาโครงการอีก 3 เดือนจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างกว่า 1 แสนล้านบาท มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 13.05% รูปแบบก่อสร้างจะเหมือนแอร์พอร์ตลิงก์

ปรับที่ตั้งสถานีสายระยองใหม่

"อาจจะปรับแนวเส้นทางและสถานีใหม่ ให้จอดที่สนามบินอู่ตะเภา พัทยา สัตหีบ และปลายทางที่ระยอง ตามนโยบายของ พล.อ.อ.ประจิน ที่ต้องการจะสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน คือ ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา" แหล่งข่าวกล่าวและว่า

สำหรับแนวเส้นทางสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยองเดิม จะเริ่มต้นที่สถานีบางซื่อไปตามทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านพญาไท มักกะสัน ลาดกระบัง หรือสนามบินสุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พัทยา สิ้นสุดที่ระยอง มี 7 สถานี

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ทั้ง 2 สาย ทางจีนและญี่ปุ่นได้ศึกษาโครงการเเละถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ โดยสายกรุงเทพฯ-หนองคายทางจีนศึกษาให้ เพราะจะสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมการค้าแนวเหนือ-ใต้จากคุนหมิงผ่านนครเวียงจันทน์ สปป.ลาว มายังหนองคายมาถึงกรุงเทพฯไปปาดังเบซาร์ทะลุสิงคโปร์ ส่วนสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยองทางญี่ปุ่นเป็นผู้ศึกษาให้ ซึ่งเส้นนี้จะรองรับการท่องเที่ยวเป็นหลัก
  
ที่มา
[ ประชาชาติธุรกิจ  ] วันที่ 23-10-2557 

ค้นหาข่าวด้วยรหัส

รหัส








webmaster คลิกที่นี่

Copyright 2002 freesplans Design solution, Inc.